โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เปิด 10 อาชีพส่อถูกเลิกจ้างจับตา ‘ทีวีดิจิทัล-สื่อสิ่งพิมพ์’

The Bangkok Insight

เผยแพร่ 16 ธ.ค. 2561 เวลา 07.06 น. • The Bangkok Insight
เปิด 10 อาชีพส่อถูกเลิกจ้างจับตา ‘ทีวีดิจิทัล-สื่อสิ่งพิมพ์’

เปิด 10 อาชีพส่อถูกเลิกจ้างจับตา “ทีวีดิจิทัล-สื่อสิ่งพิมพ์” ชี้หนี้ครัวเรือนพุ่ง 12 ล้านล้านบาทเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคต

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ในปีหน้าจะมีธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตต่ำมาก มีความเสี่ยงสูงและจะมีการเลิกจ้างพนักงานเพิ่มเติมจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ได้แก่ 1. ธุรกิจอุตสาหกรรมทีวี ทีวีดิจิทัล เคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์และสำนักพิมพ์ต่างๆ 2. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายหรือการให้เช่าซีดี ดีวีดี 3. ธุรกิจอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางและปาล์มน้ำมัน 4. สถานศึกษาเอกชน

ภาพจาก Hfocus
ภาพจาก Hfocus

5. ธุรกิจร้านค้าแบบดั้งเดิม 6. ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ต 7. ธุรกิจหัตถกรรมและเฟอร์นิเจอร์ไม้ 8. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องหนัง 9. เครือข่ายสาขาสถาบันการเงิน 10. เครือข่ายห้างสรรพสินค้า

นอกจากนี้ ยังประเมินหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์จากการสำรวจของหอการค้าโดยมูลค่าหนี้อยู่ที่ 3.16 แสนบาทต่อครัวเรือน มองว่าจะมีความอ่อนไหวในเรื่องความสามารถในการผ่อนชำระมากขึ้นจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะทำให้การก่อหนี้เพื่อซื้อสินทรัพยถาวร เช่น บ้าน รถยนต์ จะชะลอตัวลง และการลงทุนเพื่อประกอบกิจการก็อาจชะลอตัวลงด้วยจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น

ภาพจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ภาพจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ทั้งนี้ปัจจุบันมียอดหนี้ครัวเรือนรวมกว่า 12 ล้านล้านบาทอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินในอนาคตได้ ดังนั้น การทำให้รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น เพื่อลดการก่อหนี้ และนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันจะเป็นแก้ปัญหาความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินนโยบายเข้มงวดทางการเงิน โดยผู้ใช้แรงงานควรได้รับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้เพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคตและป้องกันปัญหาฟองสบู่น่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่เร็วเกินไป และอาจซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ แม้หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีจะลดลงมาเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 77% จากระดับ 80% เมื่อ 3-4 ปีก่อนก็ตาม

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0