โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เปิดขั้นตอนการ "หย่าร้าง" ระหว่าง "สาวไทย-หนุ่มเกาหลี" ตามกฎหมายเกาหลี

Amarin TV

เผยแพร่ 27 มิ.ย. 2562 เวลา 03.15 น.
เปิดขั้นตอนการ
กลายเป็นประเด็นร้อนแรงรับเช้าวันที่ 27 มิถุนายนแทบจะในทันที เมื่อ ซงจุงกิ (Song Joong Ki) ได้มีการประกาศหย่าร้างกับนักแสดงสาว ซองเคเฮียว หรื

กลายเป็นประเด็นร้อนแรงรับเช้าวันที่ 27 มิถุนายนแทบจะในทันที เมื่อ ซงจุงกิ (Song Joong Ki) ได้มีการประกาศหย่าร้างกับนักแสดงสาว ซองเคเฮียว หรือ ซง ฮเยคโย (Song Hye Kyo) ผ่านทางที่ปรึกษาทางกฎหมายกับภรรยา และเชื่อว่าหลายคนคงจับจ้องรอชมการแถลงถึงสาเหตุการแยกทางของทั้งคู่ ว่าจะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันจากกรณีดังกล่าว นั่นคือหากเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของ “สาวไทย” กับ “หนุ่มเกาหลี” จะมีขั้นตอนอย่างไร จะเหมือนกันที่อดีตคู่รักชาวไทยเดินทางไปเซ็นใบหย่าแล้วเป็นอันจบความสัมพันธ์ต่อกันหรือไม่ เพราะมีหลายกระแสที่ให้ความเห็นกับเรื่องนี้เหมือนกันว่า ระเบียบการหย่าร้างของเกาหลีกับไทยนั้นไม่เหมือนกันซะทีเดียว

จากข้อมูลของ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ได้เผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับ การจดทะเบียนหย่า ระหว่างคนไทยกับคนเกาหลี ที่แต่งงานกันภายใต้กฎหมายของประเทศเกาหลีเอาไว้ดังต่อไปนี้

ผู้ที่ต้องการจดทะเบียนหย่า ต้องมาดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเองทั้งฝ่ายชายและหญิง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือวันมายื่นเรื่อง ครั้งที่สองคือวันมารับทะเบียนหย่า โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือสัญญาหย่า (หนังสือสัญญาหย่าสามารถมาทำที่สถานเอกอัครราชทูตฯ) และต้องมีพยานมาลงชื่อด้วย 2 คน
2. คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือสัญญาหย่าและเอกสารประกอบต่อเจ้าหน้าที่

กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกันโดยมีเงื่อนไข ให้ไปจดทะเบียนหย่าต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ การสมรสจึงจะสิ้นสุด (แต่หากต้องการได้รับทะเบียนหย่าสามารถนำคำพิพากษาพร้อมหนังสือรับรองคดีถึง ที่สุด พร้อมเอกสารประกอบไปยื่นต่อเขต/อำเภอหรือสถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้) และต้องใช้เอกสารประกอบดังนี้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนา 1 ใบ 2. หนังสือเดินทาง และสำเนา 1 ใบ 3. ใบสำคัญการสมรสหรือสำเนาทะเบียนสมรส และสำเนา 1 ใบ 4. หนังสือสัญญาหย่า 5. คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (กรณีจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษา) และ 6. คำร้องขอจดทะเบียนหย่า

อย่างไรก็ตาม หากจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเกาหลี และประสงค์จะหย่าขาดจากกัน จะไม่สามารถมาจดทะเบียนหย่าตามกฎหมายไทย เนื่องจากไม่ได้ทำการสมรสตามกฎหมายไทย และต้องทำการหย่าที่หน่วยงานเกาหลีเท่านั้น และหากจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเกาหลี และในบันทึกฐานะครอบครัวระบุการแต่งงาน เมื่อหย่าขาดจากกันแล้ว ควรทำเรื่องขอปรับปรุงรายละเอียดในบันทึกฐานะครอบครัว เพื่อให้ทางการไทยทราบว่าได้หย่าร้างแล้ว

ทั้งนี้ ถึงแม้จะจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย และหย่ากับคู่สมรสเกาหลีแล้วก็ควรทำเรื่องขอปรับปรุงรายละเอียดในบันทึกฐานะครอบครัวเช่นกัน และนอกจากนี้ การหย่ายังสามารถดำเนินการได้อีก 1 วิธี คือการหย่าต่างสำนักทะเบียนรายละเอียดการดำเนินการโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0