โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

[เปรียบเทียบ] ทำไมค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นอันดับ 1 ในอาเซียนและแข็งค่ากว่าคู่ค้าหลักของไทย

Brand Inside

อัพเดต 26 มิ.ย. 2562 เวลา 11.17 น. • เผยแพร่ 26 มิ.ย. 2562 เวลา 09.56 น. • Chutinun Sanguanprasit (Liu)
Thai Baht Note
ภาพจาก Shutterstock

เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แต่ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่ไทยต้องส่งออกสินค้า ไทยยังแข็งค่าเป็นอันดับ 1 หรือไม่? เพราะอะไร?

ภาพจาก Shutterstock
ภาพจาก Shutterstock

เปิด 3 สาเหตุเงินบาทแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน

จิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย บอกว่า ตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2019 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าเป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาคอาเซียน สาเหตุหลักที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามาจากพื้นฐานของประเทศไทยที่เกิดดุลการค้าต่อเนื่องทำให้เห็นเงินทุนไหลเข้ามากกว่าเงินทุนไหลออก โดยแบ่งเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่

  • สกุลเงินบาทของไทยมีความผันผวนน้อยกว่าสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น สกุลเงินในอาเซียนมีอัตราความผันผวนราว 8-10% ขณะที่ค่าเงินบาทอัตราความผันผวนอยู่ที่ 4-5% ขณะเดียวกันได้รับผลกระทบจาก Trade war น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพราะ ไทยส่งออกไปจีนในอัตราส่วนเดียวกับที่ส่งออกไปอาเซียน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาดูแลค่าเงินของประเทศบ่อย อาจเป็นเพราะคุ้นเคยที่ไทยเป็นประเทศการส่งออกเห็นได้ชัดจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • ปี 2019 การเมืองไทยปรับตัวดีขึ้น และไทยได้รับการเพิ่มน้ำหนักลงทุนจากดัชนี MSCI ทำให้เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น จากที่ 2-3 ปีที่ผ่านมาต่างชาติเอาเงินออกจากไทยกลับไปต่างประเทศ สวนทางกับประเทศในกลุ่มอาเซียนที่นักลงทุนส่วนใหญ่เข้าไปลงทุนแล้วอย่างต่อเนื่อง จึงเห็น Cycle ของไทยที่ตรงข้ามกับประเทศอื่นๆ
ที่มา ธนาคารกรุงไทย, Brand Inside รวบรวม
ที่มา ธนาคารกรุงไทย, Brand Inside รวบรวม

ทำไมดอลลาร์อ่อนค่าทำให้เงินไหลเข้าไทยและ Emerging Market

ปัจจุบันกว่า 95% คนไทยใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในการส่งออกและนำเข้า ดังนั้นเมื่อดอลลาร์สหรัฐมีความผันผวนย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ขณะที่ช่วงนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเพราะนักลงทุนทั่วโลกมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีทิศทางชะลอตัว รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ที่เป็นธนาคารกลางหลักของโลกมีทีท่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่เริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ดังนั้นแม้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ก็กระทบต่อค่าเงินอื่นๆ ทั่วโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนนาดา เงินเยน สวิสฟรังก์ แต่ยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับโครนสวีเดน ออสเตรเลีย ยุโรป

ที่มา ธนาคารกรุงไทย, Brand Inside รวบรวม
ที่มา ธนาคารกรุงไทย, Brand Inside รวบรวม

จับตา Trade war สหรัฐ-จีนใช้ “ค่าเงิน” เจรจาการค้า

ทิศทางของสัปดาห์นี้คาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลง  และกรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาททั้งปี 2019 คาดว่าค่าเงินบาทอาจแข็งค่าได้ถึง 30.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่ามาที่สุดที่ระดับ 31.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยหลักที่ต้องจับตามอง ได้แก่

  • Trade war การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน อาจจะเห็นการใช้ “ค่าเงิน” เป็นส่วนหนึ่งในการเจรจาการค้า โดยประเทศที่เกินดุลการค้าอย่างจีนอาจต้องทำให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น ส่วนประเทศที่ขาดดุลการค้าย่อมต้องการทำค่าเงินอ่อนค่าลง ขณะเดียวกัน Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจต้องถอนมาตรการทางภาษีที่บังคับใช้กับจีนก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเห็นความชัดเจนการเจรจาการค้าทั้ง 2 ประเทศในช่วงไตรมาส 3-4 เพราะเป็นช่วงก่อนสหรัฐจะเข้าสู่การเลือกตั้งในปี 2020
  • ทั้งนี้คาดว่าการเจรจาการค้าสำเร็จ หลังจาก FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในเดือนก.ย. ตามที่นักลงทุนมองไว้ โดยกรณี Worst Case คือหากสงครามการค้าแย่ลง FED น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทันที
  • ทางธนาคารกรุงไทยมองว่า FED จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะอาจทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐแย่ลง และจากแนวโน้มปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐเป็นขาลง คาดว่าตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 4 น่าจะออกมาไม่ดี ทั้งการจ้างงาน และ GDP อาจปรับลดลงจากปัญหาต่างๆ และมีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะปรับฐานลงอีกครั้ง

อนาคตเงินบาทและเศรษฐกิจไทย

ช่วงต้นปี 2019 ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่วนหนึ่งมาจากการเมืองที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างช่วงเดือนมี.ค. จะเห็นเงินทุนต่างชาติไหลเข้าประเทศ หรือเดือนพ.ค. นักลงทุนต่างชาติยังนำเงนมาลงทุนในไทยเพื่อหาผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามหากปีนี้ FED ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกมีเงินไหลเข้า โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรเอเชีย

ทางธนาคารกรุงไทยคาดการณ์ว่าช่วงที่เหลือของปีนี้ค่าเงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปถึง 32.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ปัจจัยที่อาจทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าได้เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น (เหมือนยุคที่ราคาน้ำมันแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) รวมถึง Consumptions เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ลดสัดส่วนจากการส่งออกไป

ทั้งนี้เงินบาทอาจอ่อนค่าลง เมื่อนักลงทุนเทขายสินทรัพย์ในประเทศเป็นจำนวนมาก ขึ้นอาจเกิดขึ้นได้หากเศรษฐกิจไม่ดี นอกจากนี้หากธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจมีผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้

สรุป

ค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติมองว่าเงินบาทปลอดภัยความผันผวนต่ำกว่าเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังเห็นเม็ดเงินต่างชาติไหลกลับเข้ามาลงทุนไทยจากที่ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีแต่นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ในตลาดหุ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0