โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เบื้องหลัง”จีเอ็ม”ทิ้งไทย…ยุทธการ”ตัดเนื้อร้ายรักษาเนื้อดี”

Businesstoday

เผยแพร่ 23 ก.พ. 2563 เวลา 09.37 น. • Businesstoday
เบื้องหลัง”จีเอ็ม”ทิ้งไทย…ยุทธการ”ตัดเนื้อร้ายรักษาเนื้อดี”

พลันที่มีข่าว”จีเอ็มมอเตอร์”ผู้ผลิตรถยนต์ เชฟโรเรต ประกาศถอนทัพเลิกฐานการผลิตในไทยอย่างสิ้นเชิงโดยขายให้กับ“เกรท วอล มอเตอร์ส” ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ จากจีน สร้างความฮือฮาให้กับคนทั่วไปว่าเกิดอะไรขึ้น กับบริษัทรถยนต์ระดับตำนานของโลกมีอายุ 112 ปี ครองแชมป์ผลิตและจำหน่ายมากที่สุดของโลก 77 ปี ติดต่อกัน

ต้องบอกว่า วิกฤติของจีเอ็ม ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับจีเอ็มในหลายๆประเทศ จนต้องเลิกหรือลดการผลิตรถในบางรุ่น ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงส่วนหนึ่งก็โดนหางเลขจากบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา ที่ประสบปัญหาทางด้านการเงินอันเนื่องมาจากมีภาระการ”จ่ายเงินก้อนโต”ให้กับพนักงานเกษียณ

รวมทั้งต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการลงทุนโลกยานยานต์แห่งอนาคต ที่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งหน้าใหม่ที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าอย่างรถยนต์ไฟฟ้าและรถไร้คนขับที่กำลังจะมา ประกอบกับเศรษฐกิจโลกในช่วงหลายๆปีมานี้อยู่ในภาวะผันผวนมาโดยตลอดทำให้ยอดขายรถของจีเอ็มในหลายๆประเทศลดลง

ปัญหาที่รุมเร้าทำให้บริษัทจีเอ็ม.ในสหรัฐซึ่งเป็นบริษัทแม่ ต้องเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลาย  และ”เลือกตัดเนื้อร้ายรักษาเนื้อดี “หรือ”ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต”เพื่อให้ธุรกิจยังเดินหน้าต่อไปได้และจีเอ็มประเทศไทยก็อยู่ในข่ายเนื้อร้ายที่ต้องตัดทิ้งเหมือนกับบริษัทลูกจีเอ็มในหลายๆประเทศ

ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันนอกจากปัญหาเศรษฐกิจโลก  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการผลิต รวมถึงการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เป็นปัจจัยใหม่ส่งผลกระทบอย่างคาดไม่ถึง สังเกตุได้ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาเริ่มมีบางโรงงานของจีเอ็ม.ในประเทศต่างๆ รวมถึงค่ายอื่นๆลดการผลิต หลังจากตลาดส่งออกรถยนต์เริ่มชะลอตัว

ตัดฉากมาที่ประเทศไทยเมื่อปี 2543 จีเอ็ม.หอบเงินทุนก้อนโต 3หมื่นล้านบาทมาตั้งโรงงานที่ระยองเพื่อผลิตรถยนต์”แบรนด์เชฟโรเล็ต” จนถึงวันนี้ครบ 20 ปีพอดี จีเอ็ม.เข้ามาลงทุนในประเทศไทยในยุคเศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องหลังจากวิกฤติต้มยำกุ้งเป็นห้วงเวลาที่ประเทศไทย มีนโยบายจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์แห่งภูมิภาคเอเซียพร้อมตั้งเป้าจะเป็น”ดีทอย แห่งเอเซีย”

ตลอดห้วงเวลา 20 ปีของ”เชฟโรเรต”ในประเทศไทยมิได้เพริศแพร้วศิวิไลย์อย่างที่คิดกลับต้องล้มลุกคลุกคลานเสียเป็นส่วนใหญ่ รถยนต์ของ เชฟโรเลต หลายรุ่นมียอดจำหน่ายไม่เป็นที่น่าพอใจ จนต้องยุติการทำตลาดไปในเวลาสั้นๆ บางรุ่นก็ได้รับความนิยมแต่หลายรุ่นก็ล้มเหลว เพราะมีคู่แข่งที่ออกผลิตภัณฑ์ที่ดูดีกว่ามาแย่งตลาด จนในที่สุด เชฟโรเลต มีรถยนต์ที่จำหน่ายอยู่ ณ ปัจจุปันเพียงแค่ 3 รุ่น ได้แก่ Chevrolet Colorado Chevrolet Trailblazer และ Chevrolet Captivaด เท่านั้น

ต้องบอกว่าความนิยมของรถยนต์ เชฟโรเลต เริ่มลดน้อยถอยลงไม่แต่เฉพาะในประเทศไทย แต่ยังเกิดขึ้นในหลายๆประเทศที่อยู่นอกทวีปอเมริกา ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เชฟโรเลต ก็ทยอยปิดโรงงานไปทีละแห่ง พร้อมๆกับการปลดพนักงานออกไป ด้วยเหตุผลคือ ต้องการลดขนาดขององค์กรลง เพื่อความอยู่รอด

กระทั่งในปี 2562 ที่ผ่านมาจีเอ็มที่อินเดียก็ต้องปิดโรงงานลง ย่างเข้าปี 2563 ไม่ทันไรก็ตัดสินใจ ปิดโรงงานที่ไทยปิดฉากแบรนด์เชฟโรเล็ตพร้อมๆกับ ก็ลดกำลังการผลิตที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

สัญญาณการถอนตัวของเชฟโรเลตในประเทศไทยมีมาก่อนหน้านี้ เพราะเคยผ่าตัดใหญ่มาแล้ว 1 ครั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2558 "จีเอ็ม" ได้เคยประกาศลดขนาดธุรกิจในไทย มีโครงการพนักงานลาออกโดยสมัครใจ  เป้าหมายคือ 30% ของจำนวนพนักงานโดยรวม

แต่ดูเหมือนว่า การผ่าตัดใหญ่เมื่อเกือบ5ปีที่แล้ว ไม่ได้ทำให้อาการของจีเอ็มในประเทศไทย ดีขึ้น มีแต่จะทรุดลงเรื่อยๆในที่สุดไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ กระทั่งมาถึง"วันบอกลา" เมื่อบริษัทแม่ตัดสินใจถอนทัพอำลาประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ภายในสิ้นปี 2563

สุดท้ายทิ้งไว้เพียงตำนานอเมริกันแบรนด์ให้ไว้จดจำและชะตากรรมของพนักงาน1500คน ที่ยังไม่รู้อนาคต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0