โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อตัดสินใจรักษาแบบ Palliative Care ที่บ้าน

HealthyLiving

อัพเดต 16 ก.ย 2562 เวลา 12.27 น. • เผยแพร่ 03 ก.ย 2562 เวลา 00.00 น. • Healthy Living
03_Content_600x600_comehome copy.jpg

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อตัดสินใจรักษาแบบ Palliative Care ที่บ้าน 
การกลับบ้านมาดูแลรักษาแบบประคับประคองนั้น หลายคนอาจคิดว่าแค่ตัดสินใจกลับมาพักฟื้นที่บ้านก็ทำได้ทันที แต่จริงๆ แล้วมีหลายองค์ประกอบที่ต้องพิจารณา และมีการเตรียมตัวหลายอย่างให้คิดก่อนตัดสินใจเมื่อรู้ผลวินิจฉัยอาการแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จากนี้คือจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจที่ทุกคนจะต้องพูดคุยกัน ไม่ใช่แค่กับคนป่วยกับครอบครัว แต่รวมถึงแพทย์พยาบาล ที่ต้องมาช่วยกันเตรียมตัวให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตที่เป็นสุขที่บ้าน 
การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และสถานที่สำหรับการเตรียมสถานที่ดูแลแบบ Palliative Care ที่บ้านนั้นสิ่งแรกที่ต้องเตรียมคืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น มีดังนี้●ออกซิเจนชนิดถัง●เครื่องดูดเสมหะ ●ที่นอนลม  หรือที่นอนนุ่มๆ●อุปกรณ์พยุงเดิน  (Walker) สำหรับผู้ป่วยที่ยังพอเดินได้●เตียงนอนที่สามารถปรับระดับเตียงได้●รถเข็นผู้ป่วย●ยาระงับปวด/มอร์ฟีน●ชุดทำความสะอาดแผล
ในอุปกรณ์บางอย่างที่มีราคาแพง เช่น ออกซิเจนชนิดถัง เครื่องดูดเสมหะ เตียง ที่นอนลม ไม่ใช่ทุกครอบครัวจะหาซื้อได้ โรงพยาบาลบางแห่งจึงมีให้ยืม (แต่จะพิจารณาอนุมัติเป็นกรณีไป) ส่วนยาหรือชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดแผลสามารถซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป ในกรณีที่ต้องใช้มอร์ฟีนที่ต้องไปรับที่โรงพยาบาลเท่านั้น ซึ่งสามารถโทรถามแพทย์ประจำตัวได้เมื่อต้องให้ทานมอร์ฟีน หรือติดแผ่นมอร์ฟีนเองตามคำแนะนำของแพทย์และอีกเรื่องนึงคือถ้าผู้ป่วยไม่สามารถกินข้าวเองได้ควรมีเครื่องมือให้อาหารทางสายยางด้วย 
ส่วนของสิ่งแวดล้อมภายในบ้านนั้นต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมโดยแต่ละห้องควรจัดการดังนี้

  • ห้องนอน ควรอยู่ชั้นล่างเพื่อความสะดวกในการขนย้ายผู้ป่วย มีขนาดกว้างพอสำหรับวางเตียงผู้ป่วยที่มีความกว้างโดยรวมประมาณ 100 เซนติเมตร เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงรถเข็นอยู่ในห้อง แต่ถ้าพื้นที่ไม่พอสามารถเก็บอุปกรณ์ในพื้นที่ใกล้ๆ ได้

  • ประตู ควรมีกว้างพอที่เตียงผู้ป่วยและรถเข็นสามารถเข้าออกได้ 

  • ห้องน้ำ โดยทั่วไปแล้วถ้าผู้ป่วยอยู่ในอาการติดเตียง จะต้องใช้วิธีเช็ดตัว แต่ถ้ายังสามารถเคลื่อนไหวได้บ้างและต้องการใช้ห้องน้ำด้วยตัวเอง ควรมีราวเกาะและเก้าอี้สำหรับอาบน้ำ รวมถึงส้วมชนิดนั่ง ที่สำคัญคือต้องทำความสะอาดเสมอป้องกันการลื่นล้ม

  • ห้องครัว ไม่ควรอยู่ใกล้ห้องของผู้ป่วยเพื่อไม่ให้กลิ่นและเสียงรบกวนผู้ป่วย

  • แสงสว่างภายในบ้าน ต้องสว่างทั่วถึงเพื่อป้องกันการเปิดอุบัติเหตุ

  • การระบายอากาศ  ในห้องและในบ้านควรมีการระบายอากาศที่ดี ไม่มีกลิ่นอับชื้นซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทฤษฎีแบบกว้าง ครอบครัวสามารถปรึกษาแพทย์และพยาบาลได้ว่าควรปฏิบัติและเตรียมตัวอย่างไรบ้างตามแต่กรณีที่เกิดขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เพราะทุกคนอาจไม่สะดวกปรับปรุงบ้านให้เป็นไปตามหลักการ การดูแลอย่างต่อเนื่องแบบ Palliative Care ที่บ้านเมื่อเตรียมความพร้อมเรื่องอุปกรณ์และสถานที่แล้ว ขั้นต่อมาเมื่อผู้ป่วยต้องกลับมาอยู่บ้านและครอบครัวต้องมาเป็นคนดูแลแทนพยาบาล สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความรู้ในการดูแลเบื้องต้นในการดูแลทางกายดังนี้ 

  • ปรึกษาแพทย์และครอบครัวว่าผู้ป่วยต้องการเลือกทางนี้ ว่าสามารถทำได้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าไม่ใช่การยอมแพ้ต่อการรักษา แต่เป็นการเลือกที่จะให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในช่วงเวลาสุดท้าย

  • ครอบครัวขอคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ฝึกทักษะการดูแลในเรื่องต่างๆ เช่นการให้ยาระงับ การให้อาหาร การบรรเทาอาการปวด และการเยียวยาอาการอื่นๆ ที่ถูกต้อง

  • ขอใบรับรองแพทย์ที่บ่งชี้อาการของคนป่วย

  • ขอชื่อ เบอร์โทรศัพท์ ผู้ที่ให้คำปรึกษาในการรักษาตัวที่บ้าน และเบอร์ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน โดยทั่วไปแล้วเมื่อตัดสินใจกลับบ้าน พยาบาลจะมาสอนผู้ดูแลเพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น การอาบน้ำเช็ดตัว ในกรณีที่ผู้ป่วยกินอาหารเองไม่ได้ พยาบาลก็จะสอนวิธีทำอาหารปั่น การให้อาหารทางสายยาง การเช็กว่าสายยางยังอยู่ในกระเพาะรึเปล่า นอกจากนี้ยังสอนวิธีดูดเสมหะที่ติดอยู่ในปอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การทำกายภาพเพื่อไม่ให้ข้อติด และสอนวิธีป้องกันและดูแลแผลกดทับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ครอบครัวและคนดูแลต้องทำ นอกจากนี้โรงพยาบาลบางแห่งจะมีชุดความรู้ด้านการดูแลแบบประคับประคองให้ดาวน์โหลด รวมถึงเบอร์ฉุกเฉินที่ผู้ป่วยสามารถขอคำปรึกษาได้
     อยู่โรงพยาบาลต่อ ในรูปแบบ Palliative Care
    สำหรับผู้ป่วยที่เลือกจะรักษาแบบ Palliative care ที่โรงพยาบาล ก็มีสถานพยาบาลหรือบ้านพักคนชราหลายแห่งมีอาคารเฉพาะที่รองรับผู้ป่วยซึ่โดยเบื้องต้นควรเลือกจากผู้ป่วยมีห้องส่วนตัว ที่ญาติสามารถมาเฝ้าได้ ห้องผู้ป่วยมีอากาศถ่ายเทสะดวก ใกล้ชิดธรรมชาติ และที่สำคัญคือสามารถขอความช่วยเหลือได้ง่ายเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน การรักษาแบบประคับประคองที่โรงพยาบาลดีกว่าตรงที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในทุกด้านได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา เภสัชกร และอีกหลายวิชาชีพ ทำให้หลายครอบครัวเลือกที่จะให้ผู้ป่วยอาคารพักฟื้นของโรงพยาบาลมากกว่า เพื่อความสะดวกและสบายใจของทุกฝ่าย
    ทั้งหมดนี้เป็นแค่เบื้องต้นที่คุณและครอบครัวต้องเตรียมตัว เตรียมสถานที่ที่ให้พร้อมเมื่อตัดสินใจกลับบ้านมารักษาแบบประคับประคอง เพราะนอกจากนี้ยังมีเรื่องงานอดิเรก กิจกรรมที่ทำให้คนป่วยมีความสุข ที่แต่ละคนก็มีทางเลือกของตัวเอง เพราะบางครั้งผู้ป่วยอาจมีความฝันแต่ไม่ได้ทำ การได้ทำตามความฝันจะช่วยเติมเต็มชีวิตของเขาได้
    อ้างอิงสกล สิงหะ. Surgeon's Manual of Palliative care
    พัชรี ภาระโข,สุวคนธ์ กุรัตน์, สุริวิยา สุวรรณโคตร. 2556. การดูแลผูป่วยระยะสุดท้าย:มิติใหม่ที่ท้ายทายบทบาทของพยาบาล
    กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
    ศูนย์รามาธิบดีอภิบาล. http://bit.ly/2kq4HHIUrl: http://bit.ly/2ltmqhIรศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล.Palliative Care What Why When How. วารสารกรมการแพทย์ฉบับประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2559 น.19-23 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0