โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เช็กด่วน! 3 ความหมาย สถานะลงทะเบียน "เราไม่ทิ้งกัน" รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 06.49 น. • เผยแพร่ 09 เม.ย. 2563 เวลา 05.28 น.
ความหมาย เราไม่ทิ้งกัน

วันที่ 9 เมษายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Krungthai Care ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความ อธิบายความหมายเกี่ยวกับสถานะการลงทะเบียนมาตรการเยียวยาประชาชนทีได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ด้วยการมอบเงินจำนวน 5,000 บาท ระยเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษยน – เดือนกันยายน รวมเป็น 30,000 บาท โดยโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ หรือบัญชีธนาคารที่ได้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน”

ทั้งนี้สำหรับการตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนนั้น เข้าไปที่เว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน” แล้วเลือกเมนู “ตรวจสอบสถานะ” ที่มีแถบสีเทา หรือคลิก “ตรวจสอบสถานะ” จะทำให้ทราบว่าขณะนี้รายชื่อของตนเองดำเนินการถึงขั้นไหน

สำหรับ 3 ความหมายที่ประชาชนควรทราบมีดังนี้

1. ข้อความที่ระบุว่า อยู่ระหว่างปรับปรุงสถานะการลงทะเบียนของท่าน (ไม่สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้)

หมายความว่า ได้รับสิทธิ์ รอการโอนเงิน

2. ข้อความที่ระบุว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ความหมายว่า อยู่ในกระบวนการคัดกรอง หรือ รอตรวจสอบข้อมูล

3. ข้อความที่ระบุว่า ไม่สามารถทำรายการต่อได้ (ลงทะเบียนไม่สำเร็จ เนื่องจากข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง)

ความหมาย คือ ข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง สามารถลงทะเบียนใหม่ได้

กระทรวงการคลังได้เริ่มทยอยโอนเงินจำนวน 5,000 บาท ไปแล้ว แบ่งเป็นวันที่ 8 เมษายน 2563 จำนวน 2.8 แสนคน วันที่ 9 เมษายน 2563 จำนวน 7.53 แสนคน และวันที่ 10 เม.ย. 2563 อีกจำนวน 6.44 แสนคน โดยจะมีการแจ้งผล พร้อมโอนเงิน 5,000 บาท แก่ผู้ผ่านเกณฑ์ลงทะเบียนมาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท สำหรับผู้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ทางเอสเอ็มเอส และอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้

ทั้งนี้ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ระบุไว้ว่า การโอนเงินในกลุ่มที่ไม่มีปัญหาจะส่งเอสเอ็มเอสแจ้งและทยอยโอนเงินเข้าบัญชีตามปกติ ในรายที่มีปัญหาเลขบัญชีไม่ตรงจะมีปุ่มหน้าเว็บไซต์ให้แก้ไขเลขบัญชี เพื่อให้โอนเงินเข้าได้ ส่วนกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์แน่นอนจะมีเอสเอ็มเอสแจ้ง และไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะผิดหลักเกณฑ์มาตรการ เช่น กลุ่มอายุไม่ถึง 18 ปี กลุ่มแม่บ้าน ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ ข้าราชการ-บำนาญ เกษตรกร นักเรียนนักศึกษา กลุ่มค้าขายออนไลน์ เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม ก็จะให้กรอกเอกสารออนไลน์ ชี้แจงข้อมูลในประเด็นที่ได้มีการสอบถาม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0