โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เจ๋ง ! หนุ่มนักประดิษฐ์​ ประสบความสำเร็จประกอบพีซีสุดเงียบ

blognone

อัพเดต 16 พ.ค. 2561 เวลา 14.25 น. • เผยแพร่ 16 พ.ค. 2561 เวลา 10.21 น. • RoseGold

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบคอมพิวเตอร์พีซีแบบประกอบสมัยใหม่เพื่อตอบสนองกับความเร็ว แรง ความต้องการระบบระบายความร้อนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่จะในรูปแบบของพัดลม หรือแม้แต่ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าระบบเหล่านี้ล้วนมาพร้อมกับ ‘เสียงรบกวน’ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นแล้วคงจะดีไม่น้อย หากวันหนึ่งเราสามารถประกอบคอมพิวเตอร์ขึ้นมาสักเครื่องที่ให้ความเงียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เมื่อไม่นานนี้ หนุ่มนักประดิษฐ์รายหนึ่ง ประสบความสำเร็จในการประกอบคอมพิวเตอร์พีซีที่เงียบที่สุด โดยระดับค่าความดังที่วัดใดอยู่ที่ 0 เดซิเบล แม้จะเปิดหรือปิดเครื่องก็จะไม่ได้ยินเสียงการทำงานใดๆ

คอมพิวเตอร์พีซีนี้มีชื่อว่า ‘Streacom DB4’ หรือชื่อย่อว่า ‘DB4’ มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสคล้ายลูกบาศก์ มีขนาด 26 x 26 x 27 cm ใช้อลูมิเนียมที่มีความหนา 13 mm เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งการประกอบคอมพิวเตอร์พีซีนี้ หนุ่มนักประดิษฐ์ได้เลือกทดสอบด้วยเมนบอร์ดไว้ 4 รุ่นด้วยกัน ได้แก่

ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละชุดจะมีจุดดี จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจากการทดสอบเขาพบว่า ASRock เป็นเมนบอร์ดเพียงรุ่นเดียวที่สามารถติดตั้ง Heat Pipe พร้อมเพิ่มชุดอุปกรณ์ LH6 Cooling Kit ได้ด้วย

ภายในเครื่อง DB4 มาพร้อมฮาร์ดแวร์ที่สามารถเพิ่มชุดอุปกรณ์ LH6 Cooling Kit ที่สามารถเชื่อมต่อกับซีพียูผ่าน Heat Pipe ได้ถึง 6 ชุด และเครื่องกระจายความร้อน 3 ชุด รองรับอัตราการใช้พลังงานของซีพียูได้ถึง 105 วัตต์

ขณะเดียวกันการเลือกใช้ซีพียูยังมีผลต่อการระบายความร้อนและอัตราการใช้พลังงานที่แตกต่างกันด้วย โดยเขาเลือกทดสอบด้วยซีพียู AMD Ryzen ถึง 6 รุ่น ได้แก่

ในส่วนการใช้ Storage ที่สนับสนุนการประกอบคอมพิวเตอร์พีซีที่เงียบที่สุด เขาเลือกใช้ SSD รุ่น Samsung 960 Evo NVMe 1TB สำหรับไดร์ฟหลัก และ Samsung 1TB 860 Evo SATA สำหรับไดร์ฟสำรอง ประกอบเข้ากับเมนบอร์ดแบบ M.2

ฝั่งของการ์ดจอมีการเลือกใช้ ASUS Phoenix GeForce GTX 1050 Ti 4GB ที่มีพัดลมระบายความร้อนแค่เพียงตัวเดียว ซึ่งเขาได้มีการดัดแปลงโดยการถอดพัดลมและฮีทซิงค์ พร้อมแปะชุดอุปกรณ์ GPU Cooling Kit เข้าไปแทนที่

นอกจากนี้เขายังได้ทดสอบการทำงานของซีพียูว่ามีความร้อนเป็นอย่างไร ซึ่งจากการใช้ซีพียู AMD Ryzen 5 1600 กำหนดการโหลดของซีพียูที่ 100% ในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง พบว่าความร้อนเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 61 องศาเซลเซียส และถัดมาหนึ่งชั่วโมงโดยประมาณความร้อนก็จะค่อยๆ ลดลงเหลือเพียง 34 องศาเซลเซียส

การทดสอบส่วนต่อมา (การทดสอบที่ 6) เป็นการกำหนดการโหลดของซีพียูที่ 100% เป็นเวลา 60 วินาที ในอุณหภูมิห้องที่ 20 องศาเซลเซียส ผลปรากฎว่าอุณหภูมิค่อยๆ เพิ่มขึ้นจาก 34 องศาเซลเซียส ก่อนพุ่งขึ้นสูงสุดที่ 61 องศาเซลเซียส

และการทดสอบที่ 7 เป็นการหยุดการโหลดของซีพียูจาก 100% เป็นเวลา 60 วินาที ในอุณหภูมิห้องที่ 20 องศาเซลเซียส ผลปรากฎว่าอุณหภูมิค่อยๆ ลดลงจาก 61 องศาเซลเซียส จนเหลือต่ำสุดที่ 34 องศาเซลเซียส

จากการทดสอบที่แตกต่างดังกล่าว เขาพบว่าระดับอุณหภูมิของซีพียูจะเพิ่มขึ้น 1 องศา ทุกๆ 1 วินาที เป็นระยะเวลาประมาณ 8-9 วินาที ก่อนจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทุกๆ 16-24 วินาที ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงของวัสดุหรือสื่อนำไฟฟ้าที่เลือกใช้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ นอกจากนี้เขายังอธิบายเพิ่มเติมว่า ระบบระบายความร้อนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หากมีสื่อนำที่ให้กระแสไฟฟ้าเพียงพอก็สามารถบรรเทาความร้อนของซีพียู โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานแต่อย่างใด

สุดท้ายนี้ หนุ่มนักประดิษฐ์คนดังกล่าวระบุการประกอบคอมพิวเตอร์พีซี Streacom DB4 ครั้งนี้ เบ็ดเสร็จใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : t69-1, t69-2

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0