โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เคล็ดลับภาษีธุรกิจเอสเอ็มอี จัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

เส้นทางเศรษฐี

อัพเดต 18 ธ.ค. 2561 เวลา 04.16 น. • เผยแพร่ 16 ธ.ค. 2561 เวลา 00.52 น.
Time for Taxes Planning Money Financial Accounting Taxation Businessman Tax Economy Refund Money
Time for Taxes Planning Money Financial Accounting Taxation Businessman Tax Economy Refund Money

เคล็ดลับภาษีธุรกิจเอสเอ็มอี จัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้ธุรกิจเอสเอ็มอี เริ่มเป็นที่รู้จักและกลายมาเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งจากคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียความชอบหรือความหลงใหลส่วนตัวและแปรรูปออกมาเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ หรือธุรกิจเล็กๆ ภายในครอบครัว แต่ก็อย่าลืมว่า การวางแผนบริหารการเงิน บัญชี และภาษีนั้น คือ สิ่งสำคัญที่ธุรกิจทุกขนาดควรต้องใส่ใจไม่ว่าคุณจะประกอบธุรกิจในรูปแบบไหนก็แล้วแต่

บทความนี้อาจเป็นอีกหนึ่งอาวุธนำพาเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอี ช่วยจัดการภาษีได้อย่างอยู่หมัด

  • พิจารณาให้ดีเลือกรูปแบบธุรกิจให้ถูกต้อง

เพราะรูปแบบของการจดทะเบียนธุรกิจมีผลต่องานบัญชีและอัตราภาษี ดังนั้นเจ้าของกิจการควรทำความเข้าใจให้ดี ซึ่งแต่ละประเภทล้วนมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป ก่อนที่เราจะทำธุรกิจนั้นต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่า รายได้จากธุรกิจในแต่ละรูปแบบนั้นเสียภาษีต่างกันอย่างไร และธุรกิจของเราเหมาะสมกับรูปแบบไหนมากที่สุด จะเป็น ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา อย่างร้านต่างๆ หรือ ธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งการจดทะเบียนแบบนิติบุคคลนั้นอาจมีข้อดีตรงที่ในระยะยาวจะมีอัตราภาษีคงที่มากกว่าแบบบุคคลธรรมดา แต่ขณะเดียวกันก็มีความยุ่งยากในเรื่องการจัดการบัญชี และการจัดทำเอกสารต่าง ๆ เพื่อแสดงต่อกรมสรรพากร

2.ศึกษาให้ดีก่อนเสียภาษี

แม้ภาษีจะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่หลายคนก็ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากอยู่ดี แต่หากศึกษาดูดีๆ แล้วจะเห็นว่า ถ้าวางแผนดี ก็ช่วยให้จ่ายน้อยลงได้ โดยไม่จำเป็นต้องหลบเลี่ยงด้วยซ้ำ เผลอๆ อาจจะจ่ายน้อยกว่าอีกด้วย เพราะยังมีสิทธิประโยชน์อีกมากมายที่ เอสเอ็มอี หลายคนยังไม่รู้ หรือมองข้ามไป อย่างเช่น เอสเอ็มอีที่จดทะเบียนนิติบุคคลจ่ายภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา เพราะสรรพากรคำนวณภาษีจากกำไร หากปีไหนขาดทุนก็ไม่ต้องเสีย หรือมีกำไรไม่ถึง 300,000 บาทก็ไม่ต้องจ่ายภาษี แต่หากปีไหนขายดีมีกำไรเกิน 300,000 บาทก็เสียภาษีในอัตราคงที่ 10% เท่านั้น ในขณะที่บุคคลธรรมดาเสียภาษีจากรายได้ในอัตราขั้นบันไดตั้งแต่ 5% – 35% เลยทีเดียว

  • ใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

จากนโยบายของภาครัฐที่เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยให้สิทธิในการหักลดหย่อน ไม่ว่าจะมาจากค่าวิจัยและพัฒนา ค่าฝึกอบรมพนักงาน ค่าประกันภัยและค่าประกันชีวิตพนักงาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถนำหลักฐานมาแสดงในการขอลดหย่อนภาษีได้ทั้งสิ้น หากเจ้าของกิจการศึกษาอย่างครบถ้วน จะสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งในส่วนนี้สามารถศึกษาข้อมูลได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

4. การบริหารจัดการเงินสด แยกบัญชี และหาตัวช่วย

นิติบุคคลส่วนใหญ่ เลือกวิธีการที่สะดวกโดยการจ้างนักบัญชีหรือบริษัทดูแลบัญชีที่มีความละเอียด รอบคอบ เข้าใจกฎหมาย และมีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงมาช่วยดูแล ในขณะที่เจ้าของกิจการเองควรรู้ว่า รายจ่ายส่วนบุคคลและรายจ่ายของบริษัทควรแยกออกจากกัน และรายรับรายจ่ายต่าง ๆ ของธุรกิจควรเก็บใบเสร็จเอาไว้ให้ครบถ้วน เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการแสดงรายจ่ายต่าง ๆ ของธุรกิจซึ่งรายจ่ายบางประเภทสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้

สำหรับเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอี ที่กำลังมองหาตัวช่วยในการทำบัญชี การตรวจสอบบัญชีและการจัดการด้านภาษี  TMB ได้คัดสรรสิทธิประโยชน์ผ่านรีวอร์ดโปรแกรม TMB BIZ WOW มามอบให้สำหรับลูกค้าบัญชีเพื่อธุรกิจ TMB SME One Bank ที่ใช้ TMB BIZ TOUCH โดยเฉพาะ เพียงใช้คะแนนสะสมจากการทำธุรกรรมทางการเงิน 1,500 WOW แลกรับ ส่วนลด 3,500 บาท เมื่อรับบริการออกแบบและติดตั้งโปรแกรมบัญชีออนไลน์ Xero สำหรับธุรกิจบริการโดยเฉพาะ ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค. 2561

ติดตามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ www.tmbbank.com/bizwow/ หรือศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME   โทร. 02- 828-2828 วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.00 – 20.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดธนาคาร

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0