โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เคยเป็นแบบ “ไท” กันมั้ย? โกรธมากกก จนสมองส่วน “อมิกดาลา” ทำงาน!

Rabbit Today

อัพเดต 09 ต.ค. 2562 เวลา 05.04 น. • เผยแพร่ 09 ต.ค. 2562 เวลา 05.04 น. • Rabbit Today
โกรธจนสมองส่วน “อมิกดาลา” ทำงาน!

คนเราต้องเคยโกรธกันทุกคนนั่นแหละ แต่ว่ามีระดับความโกรธที่แตกต่างกันออกไป ถ้าในระดับที่มากๆ หรือทั้งโกรธทั้งแค้นเหมือนในละคร ต้องมีกลไกทางธรรมชาติของสมองมากพอสมควร แต่ในชีวิตจริงเราคงไม่ค่อยเจอคนโกรธระดับนี้กันบ่อยๆ นักหรอก แต่ในแผนกสมอง เคสแบบนี้นี่ถือเป็นเรื่องที่สามารถเจอได้บ่อยๆ ซึ่งสาเหตุก็คือเกิดจากการทำงานของอมิกดาลา (Amygdala) ที่มันถูกกระตุ้นให้ทำงานเกินเหตุ จนสมองส่วนอื่นไม่สามารถคอนโทรลร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติได้ ทางการแพทย์เลยมักเรียกอาการนี้ว่า Amygdala Hijack นั่นเอง

อมิกดะลาเป็นกลุ่มนิวเคลียส ประกอบด้วยโครงสร้างต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อและหน้าที่แตกต่างกัน มีอยู่ในทั้งในสมองมนุษย์และสัตว์อื่นๆ อมิกดาลามีบทบาทหลักในการสร้างและการเก็บบันทึกความจำของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประกอบกับอารมณ์ความรู้สึก ทั้งอารมณ์โมโห โกรธ เศร้า ตื่นกลัว กังวล กระวนกระวายใจต่างๆ หรืออะไรก็ตามที่เป็นการสื่อสารออกมาด้วยพลังงานด้านลบ อมิกดาลา จะคอยเป็นคนควบคุมและสั่งการทั้งหมด

เวลาปกติ เราจะตัดสินใจหรือนึกคิดทำอะไร สมองส่วนต่างๆ ก็จะแบ่งหน้าที่การทำงานได้ตามปกติ แต่เวลาเราโกรธมากๆ สมองจะลดระดับการรับรู้ส่วนอื่นลง แล้วปล่อยให้เจ้าอมิกดาลาทำงานแทน บางครั้งก็อาจทำให้ตัดสินใจจากผิดเป็นถูก จากขาวเป็นดำได้ง่าย ทำให้การรับสารต่างๆ ตอนโมโหถูกตีความบิดเบี้ยวไปจากเดิม สังเกตดูได้ว่าเวลาเราโมโหมากๆ จะทำให้เราจะไม่ฟังเหตุผลหรือคำอธิบายอะไรทั้งนั้น และกับบางคนก็ถึงขั้นทำอะไรโดยไม่ทันยั้งคิดเลยก็มี

มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ว่าเวลาโกรธมากๆ สมองซีกซ้ายส่วนหน้าที่คอยจัดการคุมพลังงานบวกจะหยุดการทำงานลงทันที แล้วปล่อยให้อมิกดาลาเข้าสู่ด้านมืดอย่างเต็มที่ จะไม่รับรู้ไม่ตัดสินใจอะไรทั้งนั้น ตอนนี้รู้อย่างเดียวว่ากำลังมีภัยอันตราย ต้องตื่นตัวมากขึ้น และให้สมองส่วนต่อสู้เปิดการทำงานแบบเต็มที่ อมิกดาลาพอมันเปิดพลังด้านลบแล้ว ก็จะปิดยากด้วย 

โกรธจนสมองส่วน “อมิกดาลา” ทำงาน!
โกรธจนสมองส่วน “อมิกดาลา” ทำงาน!

งานวิจัยทางประสาทวิทยาได้แสดงให้เห็นว่า ความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวข้องโดยตรงกับสมองส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา คือ เมื่อใดก็ตามที่อมิดาตื่นตัว มนุษย์เราจะรู้สึกวิตกกังวลหรือเศร้าขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าอมิกดาลาถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวติดต่อกันนานๆ ก็อาจพัฒนากลายเป็นโรคทางจิตเวชได้ในที่สุด ตัวอย่างเช่น โรคทางจิตเวชที่เป็นกันมากเป็นอันดับต้นๆ คือ โรคซึมเศร้า ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักมาจากการต้องเผชิญกับความเครียดเป็นเวลานาน ส่งผลให้อมิกดาลาถูกกระตุ้นบ่อยจนตื่นตัวง่ายขึ้น ความเครียดเพียงเล็กน้อยที่อาจไม่ส่งผลอะไรกับคนปกติจึงสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกเศร้า กังวล และมองทุกอย่างในแง่ร้ายไปหมดได้

ตัดภาพกลับมาที่น้องไท ที่โกรธทานตะวันจนเลือดขึ้นหน้า น้ำตาน้ำลายไหล เป็นผลกระทบจากอุบัติเหตุที่ทำให้สูญเสียน้องสาวไป รวมถึงโกรธแค้นทานตะวันที่เป็นตัวต้นเหตุของเรื่องนี้ด้วย พอได้มาเจอกันต่อหน้า และถูกกระตุ้นโดยให้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นอีกครั้ง ก็เลยทำให้สมองส่วนอมิกดาลาตื่นตัวเต็มที่ โกรธจนเลือดขึ้นหน้า และวางแผนแก้แค้นโดยไม่นึกถึงเหตุผลหรือผลที่จะตามมาอะไรทั้งนั้น ซึ่งคนไข้บางรายหากปล่อยให้เจ้าอมิกดาลาถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวติดต่อกันบ่อยๆ ก็อาจพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้าหรือกลายเป็นโรคทางจิตเวชไปได้ในที่สุดนั่นเอง 

ในทางกลับกัน ถ้าสามารถยับยั้งอมิกดาลาให้ไม่ตื่นตัวได้ เราก็จะรู้สึกเศร้าหรือกังวลน้อยลง งานวิจัยที่ศึกษาการทำงานของสมองพบว่า เมื่อเรารับ "สัญญาณภาษา " อมิกดาลาจะหยุดทำงานไปพักหนึ่ง ความรู้สึกในแง่ลบจึงลดลง อารมณ์ดีขึ้น อีกทั้งประสิทธิภาพในการตัดสินใจก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย การป้อนสัญญาณภาษาเข้าสู่สมองมีหลายวิธี เช่น การพูด การฟัง และการอ่าน วิธีที่ดีที่สุดคือการพูดหรือฟังคำแนะนำจากคนอื่น แต่มีข้อเสียคือต้องพึ่งพาคนอื่น ไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ แต่การอ่านไม่จำเป็นต้องพึ่งพาใคร ดังนั้นเวลามีเรื่องกลุ้มใจ แนะนำให้ลองหาหนังสือที่เขียนถึงวิธีแก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่มาอ่านสักเล่ม "สัญญาณภาษา" ที่ได้รับจากหนังสือจะช่วยคลายความกังวล ส่วนการรู้วิธีแก้ปัญหาจะช่วยบรรเทาความเครียดได้

มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ ประเทศอังกฤษพบว่าเพียงอ่านหนังสือ 6 นาที ความเครียดก็บรรเทาลงไปเกินครึ่งนอกจากการอ่านหนังสือจะเป็นวิธีคลายเครียดที่มีประสิทธิภาพแล้วยังช่วยขจัดความเครียดได้อย่างรวดเร็ว

และยังเคยมีการทดสอบสมองแง่บวกกับนักบวชที่ฝึกสมาธิเป็นอย่างสูงเข้าเครื่องตรวจจับการทำงานของคลื่นสมอง แล้วพบว่าตอนโกรธนี่กราฟพุ่งปรี๊ดเลย แต่เราสามารถเรียกสมองส่วนพลังบวกออกมาจัดการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเรื่องนี้พิสูจน์ได้ว่า การหมั่นฝึกจิตบ่อยๆ สามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองได้จริง และส่งผลให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้อีกด้วยนั่นเอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0