โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เข้ากะ นอนน้อย รู้จักโรคคนทำงาน หลังสาวสวยตุ่มคันขึ้นทั่วร่าง แพทย์แนะทางป้อง

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

อัพเดต 21 ส.ค. 2562 เวลา 12.40 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 12.39 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ToqTaeq Kerdmee ได้โพสต์เล่าอุทาหรณ์ของการพักผ่อนน้อย ภายหลังจากที่เธอต้องทำงานเป็นกะ ไม่ได้ออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เป็นเวลานาน 3 เดือน จนเป็นเหตุให้ร่างกายเธอมีอาการผิดปกติ โดยมีตุ่มใสขึ้นทั่วทั้งร่างกาย มีไข้ และมีอาการคันอย่างหนัก ซึ่งเธอระบุว่า แพทย์วินิจฉัยว่า เธอป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันเป็นพิษ 

(ดูโพสต์ต้นฉบับ)

ล่าสุด ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง เพื่อให้ความรู้ และแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

“อันที่จริงแล้วในทางการแพทย์ โรคภูมิคุ้มกันเป็นพิษนั้น ไม่มี แต่อาจจะใช้พูด เพื่อสื่อความกันให้เข้าใจง่ายๆ แต่สามารถเรียกว่า ภูมิคุ้มกันผิดปกติได้ โดยทั่วไปจะเรียกว่า ภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินไป และเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแพ้” แพทย์หญิงมิ่งขวัญ กล่าว

- สาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันผิดปกติ -

1. มีความเครียด
2. พักผ่อนไม่เพียงพอ
3. พักผ่อนไม่เป็นเวลา
4. ดื่มแอลกอฮอล์

“นอกเหนือจากสาเหตุเหล่านี้ ก็ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น เดิมทีมีอาการป่วยภูมิแพ้, แพ้ยา, ติดเชื้อไวรัส และเมื่อภูมิคุ้มกันมันผิดปกติ ย่อมสามารถมีอาการเห่อของโรคผิวหนังได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้มาจากการพักผ่อนน้อยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การพักผ่อนน้อยทำให้อาการแย่ลงกว่าปกติ” แพทย์หญิงมิ่งขวัญ กล่าว

- การรักษา -

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักของอาการป่วย หากป่วยจากการแพ้ยา ใช้เวลารักษา 2 สัปดาห์, หากป่วยจากการติดเชื้อ ใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์ เพราะฉะนั้น หากแพทย์หาสาเหตุเจอ ก็สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 2 สัปดาห์

โดยทั่วไปจะพบอาการลักษณะนี้ในกลุ่มคนวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 25-30 ปี และพบบ่อยในกลุ่มคนที่ทำงานเป็นกะ ซึ่งกลุ่มคนทำงานป็นกะนั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น และมีความรุนแรงของโรคมากกว่าปกติ

*- ป้องกัน - *

1. ยึดหลัก 3 อ. โดยแบ่งเป็นอารมณ์(พักผ่อนเพียงพอ ควบคุมอารมณ์ได้) อาหาร(กินอาหารที่มีประโยชน์) อากาศ(ป้อนอากาศที่ดีให้กับปอด) ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสมดุลให้ร่างกาย

2. นาฬิกาชีวิต (Body Clock) คือวงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ ซึ่งการนอนหลับผิดเวลา หรือทำงานในเวลากลางคืน จะทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายแปรปรวน จนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

3. ในกรณีที่ทำงานเป็นกะ หรือมีเหตุจำเป็นต้องทำงานในเวลากลางคืน ก็ควรที่จะนอนให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงติดต่อกัน และปรับสภาพแวดล้อมในการนอนให้มืด และไม่มีเสียงรบกวน.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0