โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

'อ.จุฬาฯ'ยกเคส 'ถือหุ้นสื่อ' อาการป่วย นิติฯนิยมล้นเกิน อ้างกฎหมายแต่ไม่ยุติธรรม

Khaosod

อัพเดต 23 เม.ย. 2562 เวลา 11.58 น. • เผยแพร่ 23 เม.ย. 2562 เวลา 11.58 น.
546465465465465321321321321

*‘อ.จุฬาฯ’ยกเคส ‘ถือหุ้นสื่อ’ อาการป่วย นิติฯนิยมล้นเกิน อ้างกฎหมายแต่ไม่ยุติธรรม *

วันที่ 23 เม.ย. นายเข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเปิดเป็นสาธารณะถึงกรณี กฎหมาย ถือหุ้นสื่อ ระบุว่า มีกฎหมายแต่ไม่สนเจตนารมณ์ในการใช้กฎหมาย ก็เหมือนมีเรือ แต่ไม่มีเข็มทิศ สุดจะแล่นไปทางไหน เปะปะไร้ทิศทาง

นี่คือหนึ่งในอาการป่วยของประเทศไทย ซึ่งมีอาการนิติศาสตร์นิยมล้นเกิน (hyper-legalism) สังเกตดูง่ายๆว่า จะทำอะไรก็อ้างกฎหมายเต็มไปหมด แต่ไม่เกิดความยุติธรรม ความเป็นธรรม ขึ้นมาเสียที

เรื่องห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อ เกิดขึ้นในการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยคณะกรรมาธิการฯอธิบายว่า เพื่อเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการจะเสพสื่อที่เป็นกลาง ปราศจากการครอบงำ ถ้าใครจำได้ คุณทักษิณถูกกล่าวหาเรื่องการครอบงำสื่อมาตลอด เช่นพยายามจะซื้อหนังสือพิมพ์ที่วิจารณ์รัฐบาลตนเอง เป็นต้น

ถามว่าสิบกว่าปีผ่านไป คุณภาพสื่อไทยพัฒนาขึ้นไหม ประชาชนคนไทยได้เสพสื่อที่มีคุณภาพ ซื่อตรง แม่นยำ ตรงไปตรงมา เป็นกลางมากขึ้นไหม คำตอบนี้ ดูหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้ถ้าไม่หลอกตัวเองก็รู้แก่ใจกันดี ตั้งแต่…. เป็นอาทิ

มาตรานี้จึงไม่เคยถูกใช้สมดั่งเจตนารมณ์ เพราะเป้าหมายหลักหลบหนีเงื้อมมือกฎหมายไทยไปนานแล้ว ส่วนสื่อที่มีอิทธิพลทางการเมืองก็ไม่เข้าข่ายนี้เนื่องจากหลบเลี่ยงได้ มาตรานี้จึงถูกใช้ในกรณีประหลาด เช่น นิติบุคคลที่จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์รวมถึงการทำสื่อ แต่ไม่ได้ทำจริง ก็ถูกตัดสิทธิ หรือเจ้าของสื่อที่ปิดกิจการไปแล้ว ก็ถูกแจ้งข้อกล่าวหา

การเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นการเลือกตั้งที่สะอาดที่สุดในโลก ใครส่อแววจะโกงแม้แต่นิดเดียวต้องลงโทษเอาให้หนัก ส่วนใครที่โกงอยู่แล้วชัดเจนก็แล้วไป เชิญตามสบาย

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0