โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ท้องฟ้าจำลอง หอดูดาว ห้องวิจัยระดับโลก เข้าชมฟรี ที่เชียงใหม่

SPACETH.CO

เผยแพร่ 24 ม.ค. 2563 เวลา 13.46 น. • SPACETH.CO
อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ท้องฟ้าจำลอง หอดูดาว ห้องวิจัยระดับโลก เข้าชมฟรี ที่เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT ได้ชวนทีม Spaceth.co ไปร่วมงานแถลงข่าวและพาชมอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่จะเปิดให้กับประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้

ชื่อของ AstroPark อาจคุ้นหูใครหลายคนเมื่อพูดถึงกิจกรรมด้านดาราศาสตร์ของ NARIT แต่ต่อจากนี้อุทยานดาราศาสตร์สิรินธรได้ถูกตั้งเป้าให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัย พัฒนา และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางดาราศาสตร์ของประเทศ รวมไปถึงในระดับอาเซียนเลย วันนี้เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างใน AstroPark กันแบบเต็ม ๆ

อาคารนิทรรศการและฉายดาวของอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร
อาคารนิทรรศการและฉายดาวของอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร

อาคารหอดูดาวอเนกประสงค์ จัดงานก็ได้ ฉายหนังก็ได้ ฉายดาวก็ได้

NARIT ได้เนรมิตท้องฟ้าจำลองที่จุผู้คนได้ 160 คน ซึ่งตัวท้องฟ้าจำลองนั้นเป็นระบบดิจิทัล 360 องศา ความคมชัดสูงสุด 8K มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 17 เมตร ทำให้ที่นี่กลายเป็นท้องฟ้าจำลองที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภาคเหนือ รวมทั้งยังสามารถดัดแปลงให้เป็นห้อง Auditorium สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย

นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีการนำนิทรรศการต่าง ๆ มาร่วมจัดแสดงอยู่ภายในอาคารแห่งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนิทรรศการต่าง ๆ แล้วยังมี Collection อุกกาบาต ที่ทาง NARIT ได้รวมรวมไว้ จัดแสดงอยู่ ตรงนี้เราสามารถเข้าไปจับ สัมผัส (ยกเว้นเอากลับบ้านหรือเอาไปโยนลงคลอง) ได้เลย มีหินอุกกาบาตของจริงที่เจอจากแห่งต่าง ๆ ทั้งในไทยและนอกเมืองไทยมาแสดงให้เราดูอย่างใกล้ชิด

ตรงท้องฟ้าจำลองนี้มีห้องอาหารด้วย ชื่อว่า The Planets แนะนำให้ไปลองทานกันดูครับ อาหารอร่อยมาก!!

เชียงใหม่ไม่ได้มีแค่กล้องโทรทรรศน์ 2.4 เมตรที่ดอยอินทนนท์แต่เพียงอย่างเดียว เพราะที่ AstroPark นั้นก็มีกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตรติดตั้งไว้อยู่ ควบคู่ไปกับกล้องโทรทรรศน์อีก 5 ตัวที่ถูกติดตั้งไว้ให้ผู้คนทั่วไปมาใช้งานได้ ซึ่งในส่วนนี้มีเปิดให้เข้ามาสังเกตเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Public Night ที่จัดขึ้นทุก ๆ คืนวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 6 โมงถึง 4 ทุ่ม

พี่แจ๊ค ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ คนเก่าคนเดิม ที่ถ้าใครมาดูดาวแล้วไม่ได้รู้จักกับพี่แจ๊คนี่ถือว่ามาไม่ถึงสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
พี่แจ๊ค ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ คนเก่าคนเดิม ที่ถ้าใครมาดูดาวแล้วไม่ได้รู้จักกับพี่แจ๊คนี่ถือว่ามาไม่ถึงสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
กระจกของกล้องดูดาว 0.7 เมตร ซึ่งสามารถดูวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่วัตถุในระบบสุริยะไปจนถึง Deep Sky Object ต่าง ๆ
กระจกของกล้องดูดาว 0.7 เมตร ซึ่งสามารถดูวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่วัตถุในระบบสุริยะไปจนถึง Deep Sky Object ต่าง ๆ

ห้องวิจัยฟิสิกส์ด้านแสง และ Facility สำหรับการผลิตอุปกรณ์ความแม่นยำสูง

นอกจากในฝั่งที่ให้บริการกับภาคประชาชนแล้ว ทาง NARIT เองก็ยังมีฝั่งที่พัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขึ้นมาเองด้วยเช่นกัน โดยมีความสามารถที่จะเคลือบกระจกของกล้องโทรทรรศน์บนดอยอินทนนท์ได้ที่อาคารปฏิบัติการของ AstroPark แห่งนี้ รวมทั้งยังได้ผลิตและขึ้นรูปชิ้นงานต่าง ๆ สำหรับใช้งานขึ้นมาเองได้

เครื่องเคลือบกระจกด้วยเทคนิค Sputtering ซึ่งเรามีความสามารถในการเคลือบกระจกกล้องดูดาวได้เอง
เครื่องเคลือบกระจกด้วยเทคนิค Sputtering ซึ่งเรามีความสามารถในการเคลือบกระจกกล้องดูดาวได้เอง
กระจกทรง Honeycomb ซึ่งเกิดจากการเคลือบเองด้วยเทคนิค Sputtering โดยการผลิตเครื่องของคนไทยเอง กระจกนี้จะถูกนำไปใช้กับโครงการ Cherenkov Telescope Array ซึ่ง NARIT เป็นหนึ่งในทีมที่เข้าไปให้ความร่วมมือ
กระจกทรง Honeycomb ซึ่งเกิดจากการเคลือบเองด้วยเทคนิค Sputtering โดยการผลิตเครื่องของคนไทยเอง กระจกนี้จะถูกนำไปใช้กับโครงการ Cherenkov Telescope Array ซึ่ง NARIT เป็นหนึ่งในทีมที่เข้าไปให้ความร่วมมือ

ยังมีห้องสำรับการผลิตอุปกรณ์ความแม่นยำสูง ซึ่งแน่นอนว่าอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ จะต้องมีความแม่นยำในระดับนาโนเมตร เราไม่สามารถไปให้ร้านกลึงทั่วไปขึ้นรูปวัสดุให้ได้ จึงต้องมีการใช้เทคนิคและอุปกรณ์แบบพิเศษ ขีดความสามารถของวิศวกรหรือ Engineering Team ของ NARIT ทำให้เราสามารถสร้างอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำ ละเอียดอ่อน และซับซ้อนได้เองโดยที่ไม่ต้องไปซื้อมาจากต่างประเทศ

เครื่อง CNC สำหรับการตัดวัสดุแบบทั้งแท่งเพื่อให้เป็นตามที่เราต้องการด้วยความแม่นยำสูง
เครื่อง CNC สำหรับการตัดวัสดุแบบทั้งแท่งเพื่อให้เป็นตามที่เราต้องการด้วยความแม่นยำสูง

ห้องปฏิบัติการด้านแสง หรือ Optic Lab ของ NARIT นั้นได้มาตรฐานระดับโลก ภายในเป็นห้อง Clean Room ที่ก่อนจะเข้าต้องใส่เสื้อและหมวกรวมถึงแผ่นครอบรองเท้าเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นจากตัวเราเข้าไปทำให้อุปกรณ์ใน Lab เกิดความคลาดเคลื่อน เพราะเวลาที่มีการทดลองในห้องนี้จะปิดไฟมืดหมด วันที่เราไปได้เจอกับ Dr.Christophe Buisset ซึ่ง Dr. Buisset ก็ได้พาเราดูผลงานด้าน Optic Research ต่าง ๆ ของ NARIT ที่จะช่วยเพิ่มสมรรถนะของกล้องโทรทรรศน์ที่เรามีอยู่ ให้สามารถทำงานด้าน Optical Physics ระดับสูง เช่น Spectrography, Interferometry ที่เป็นหลักการที่ใช้ในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า ยกตัวอย่างเช่น การแยกแสงจากวัตถุท้องฟ้าไกลโพ้นเพื่อหา Exoplanet

อุปกรณ์ใน Optic Lab ก็คล้ายกับที่เราเรียนกันมาตอน ม.ต้น ไม่ว่าจะเป็น ปริซึม หรือเลนส์ต่าง ๆ แต่มีความแม่นยำสูง และมีแหล่งกำเนิดแสงที่จำลองแสงจากวัตถุท้องฟ้า
อุปกรณ์ใน Optic Lab ก็คล้ายกับที่เราเรียนกันมาตอน ม.ต้น ไม่ว่าจะเป็น ปริซึม หรือเลนส์ต่าง ๆ แต่มีความแม่นยำสูง และมีแหล่งกำเนิดแสงที่จำลองแสงจากวัตถุท้องฟ้า
Dr.Christophe Buisset กำลังพาเราชมห้องทดลองฟิสิกส์ด้านแสง ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตอุปกรณ์สำหรับใช้ร่วมกับกล้องโทรทรรศน์ต่าง ๆ ทั้งที่เรามีและที่ทั่วโลกต้องการ
Dr.Christophe Buisset กำลังพาเราชมห้องทดลองฟิสิกส์ด้านแสง ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตอุปกรณ์สำหรับใช้ร่วมกับกล้องโทรทรรศน์ต่าง ๆ ทั้งที่เรามีและที่ทั่วโลกต้องการ
ฐานของโต๊ะที่วางอุปกรณ์ต่าง ๆ มีอุปกรณ์ Stabilizer เพื่อให้ไม่เกิดการสั่นในระหว่างที่ทำการทดลอง ซึ่งการสั่นอาจมาจากการเดิน หรือปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เนื่องจาก Lab ด้านแสง ต้องอาศัยความแม่นยำในระดับนาโนเมตร ทำให้แม้การสั่นเล็ก ๆ ก็อาจทำให้ผลการทดลองผิดเพี้ยนได้
ฐานของโต๊ะที่วางอุปกรณ์ต่าง ๆ มีอุปกรณ์ Stabilizer เพื่อให้ไม่เกิดการสั่นในระหว่างที่ทำการทดลอง ซึ่งการสั่นอาจมาจากการเดิน หรือปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เนื่องจาก Lab ด้านแสง ต้องอาศัยความแม่นยำในระดับนาโนเมตร ทำให้แม้การสั่นเล็ก ๆ ก็อาจทำให้ผลการทดลองผิดเพี้ยนได้

สำนักงานใหญ่ของ NARIT ก็ได้มาตั้งอยู่ที่ AstroPark แห่งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งภายในนั้นประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องวิจัยและพัฒนา ที่ทาง NARIT ได้เปิดให้พวกเราเข้าไปชมและพูดคุยกับนักดาราศาสตร์กันแบบสุด Exclusive

เรียกว่าในประเทศไทยกำลังจะมีสถานที่สำคัญในด้านดาราศาสตร์เพิ่มขึ้นมาอีกแห่ง ที่ไม่ได้มีเพียงแค่ไว้ให้บุคคลที่ชื่นชอบเข้าไปเยี่ยมชม แต่ยังเป็นพื้นที่ให้กับนักดาราศาสตร์และผู้ที่กำลังศึกษาได้เข้ามาใช้งานทรัพยากรได้ด้วยเช่นกัน

Astropark จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พร้อมกับกิจกรรม NARIT AstroFest 2020 มหกรรมดาราศาสตร์ครั้งแรกในไทย ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ ที่จะมีกิจกรรมตลอดทั้งวัน

  • สนุกกับนิทรรศการดาราศาสตร์ 19 โซนการเรียนรู้
  • ท่องเอกภพในท้องฟ้าจ าลองฟูลโดมดิจิทัล ขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในไทย
  • เปิดหลังบ้าน ชมห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูง อาทิ วิศวกรรมเมคาทรอนิกส์ เทคโนโลยีการเคลือบ
    กระจกที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ มากมาย
  • NARIT Family Camp ค่ายครอบครัวดาราศาสตร์เพื่อทุกคนในครอบครัว ครั้งแรกในเชียงใหม่
  • Meet the Astronomers ล้อมวงคุยเฟื่องทุกเรื่องที่สงสัยกับนักดาราศาสตร์ตัวจริงเสียงจริง
    ช่วงเวลา 14:00-15:00 น.
  • ชมดาวเคล้าดนตรีในสวนสวย ฯลฯ

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0