โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : กระแสเสียงผู้ไม่ยอมทน

มติชนสุดสัปดาห์

อัพเดต 09 พ.ย. 2562 เวลา 00.15 น. • เผยแพร่ 09 พ.ย. 2562 เวลา 00.15 น.
ประท้วงทั่วโลก

หากเราติดตามเหตุการณ์ต่างๆ ทั่วโลก เราจะพบการต่อต้านรัฐเกิดขึ้นทั่วโลก ได้แก่ อเมริกาใต้

ชาว โบลิเวีย ผู้โกรธแค้นได้มีการปะทะกับตำรวจ หลังฝ่ายค้านกล่าวหาว่าถูกโกงการเลือกตั้ง

ที่ชิลี ประชาชนได้เดินขบวนประท้วงกลางเมืองซานดิเอโก เพราะไม่พอใจการที่ทางการขึ้นค่าโดยสารรถสาธารณะ มีการประท้วงกลายเป็นความวุ่นวาย เกิดการปล้นสะดมร้านค้า เผารถโดยสารจนประธานาธิบดีต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน

เหตุการณ์นี้คล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่ประเทศเอกวาดอร์ รัฐบาลเลิกพยุงราคาพลังงานที่เคยทำมาหลายสิบปี ส่งผลให้ประชาชนไม่พอใจ มีการประท้วงทั่วท้องถนน มีการก่อความไม่สงบจากประชาชนที่ไม่พอใจรัฐบาล

ยุโรป การประท้วงมีหลายที่ หากที่ประเทศ สเปนมีการประท้วงเรื่องการขอแยกตัวเป็นอิสระ ในขณะที่ประเทศ

อังกฤษ มีการประท้วงในกรุงลอนดอนเรื่อง “เบร็กซิท” ที่รัฐบาลอังกฤษภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีคนใหม่พยายามผลักดันในอังกฤษออกจากเบร็กซิท หากทว่าความเห็นของคนอังกฤษที่เห็นแตกต่างจากรัฐบาลยังมีอีกมาก

ที่ตะวันออกกลาง เช่นที่ประเทศ เลบานอน

ที่ เอเชียตะวันออก การประท้วงที่ ฮ่องกง มีทั้งความรุนแรง ยืดเยื้อและต่อเนื่องกว่าที่คาดคิด

บางคนบอกว่า มีสาเหตุเรื่องของความพยายามของรัฐบาลฮ่องกงในการออกพระราชบัญญัตการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

แต่ในความจริงแล้ว เหตุผลการประท้วงมีมากกว่านั้น ด้วยการประท้วงเป็นทั้งการสะท้อนถึงความแตกต่างด้านระบบการปกครองระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและเขตการปกครองฮ่องกง สะท้อนความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกันของคนฮ่องกงรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ซึ่งมองอนาคตของตัวเองที่แตกต่างกัน

สิ่งสำคัญ การประท้วงในฮ่องกงยังสะท้อนความแตกต่างอย่างมากทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลางและคนทั่วไปของฮ่องกงที่มีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและรายได้อย่างมหาศาลในฮ่องกง

พร้อมกันนั้น ยังมีความแตกต่างเรื่อง เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง สิทธิในทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ซึ่งคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญอย่างมาก

ในเบื้องต้น การแบ่งพื้นที่การต่อต้านรัฐบาลตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของโลกได้แก่ อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรปเช่นสเปนและอังกฤษ เป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ภูมิศาสตร์ แต่ไม่ได้มีความหมายในการวิเคาระห์เหตุผลเชิงโครงสร้าง ประเด็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมแต่อย่างใด

นี่เป็นประเด็นเรื่องของ “โครงสร้าง” มากกว่า “กระแส” หรือการแสดงความไม่พอใจอย่างเป็น “กระแสนิยม” อย่างที่เราเข้าใจ

 

ทำไม
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

มีนักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า การประท้วงในประเทศต่างๆ อย่างน้อย 4 ประเทศมาจากปัญหาเศรษฐกิจ

เช่นรัฐบาลประเทศชิลีและเอกวาดอร์ได้ออกมาตรการเพิ่มค่าโดยสารและยกเลิกการพยุงราคาน้ำมัน จนทำให้ประชาชนในประเทศเดือนร้อน ความจริงแล้วต้องดูด้วยว่า ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศด้อยพัฒนาและมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำกันมาโดยตลอด

ประเทศพวกนี้ หากมองจากแง่มุมของนักทฤษฎี นีโอ มาร์กซิส (Neo marxist) จะเห็นได้ว่า ประเทศอเมริกาใต้ถูกครอบงำจากบรรษัทข้ามชาติ และการขูดรีดทรัพยกรธรรมชาติเช่น น้ำมัน แร่ธาตุในช่วงตั้งแต่ยุคอาณานิคมและยุคสงครามเย็น (cold war)

ระบบเศรษฐกิจของประเทศในอเมริกาใต้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพา (dependent economy) ต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1970 ในแง่ของการขูดรีดทรัพยากรธรรมชาติ ในเวลาเดียวกันก็พึ่งพาเศรษฐกิจการผลิตของสหรัฐอเมริกาเช่นรถยนต์ โดยอาศัยแรงงานของประเทศยากจนเหล่านี้ไปเป็นแรงงานราคาถูกในภาคการผลิตและการบริการอีกด้วย

แต่สิ่งที่แย่ไปกว่านั้นเป็นเพราะรัฐบาลของประเทศในอเมริกาเหล่านี้ยังใช้การเมืองของภาคประชาชนและชนเผ่าเข้ามาสนับสนุนตนด้วย

ดังนั้น จึงมีความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกับฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลซึ่งในบางกรณียังใช้กลุ่มชนเผ่าเข้ามาเป็น “ม็อบ” สนับสนุนตัวผู้นำและรัฐบาลของเขาเองด้วย

ในยุคสงครามเย็น ผู้นำและรัฐบาลเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากชาติมหาอำนาจเพื่อใช้รัฐบาลนี้เคลื่อนไหวปราบปรามขบวนการที่ถูกกล่าวหาว่า ขบวนการคอมมิวนิสต์

แต่หลังจากนั้นเอง รัฐบาลพวกนี้ก็ปกครองด้วยระบบเผด็จการและกลไกของรัฐเช่น กองทัพ ดั้งนั้น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว แต่ช่องว่างยิ่งเพิ่มมากขึ้น

หลังจากทศวรรษ 2000 แนวทางเศรษฐกิจของรัฐบาลพวกนี้ยังคงพยายามใช้ นโยบายประชานิยม (populism) แต่เป็นนโยบายประชานิยมเพื่อเรียกคะแนนนิยมจากฐานเสียงของพวกเขามากกว่าจะใช้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

สู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ในขณะที่ปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว แหล่งรายได้ส่วนหนึ่งของประเทศที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติก็ถูกลงและมีมูลค่าลดลง ในขณะที่ภาคการผลิตของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในช่วงแรกเคยอาศัยแรงงานราคาถูกจากประเทศยากจนเป็นตัวขับเคลื่อนการผลิตแล้ว เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาพัฒนาโดยการใช้แรงงานน้อยลง แต่ใช้เครื่องจักรมากขึ้น อีกทั้งใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์มากขึ้น

ปัญหาเรื่องแรงงานและรายได้ของแรงงานที่อพยพเข้ามาก็ยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาในอเมริกาใต้ ยังผลให้มีการประท้วงและต่อต้านรัฐบาลของตนเกิดขึ้นทั่วไปหมด แต่ปัญหานี้ก็ยิ่งถูกซ้ำเติมจาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอีกอย่างน้อย 2 ปัญหา

ปัญหาแรกคือ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ย่อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ในรายงานคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟได้รายงานว่า ได้มีการปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้อยู่ที่ระดับ 3.2 % หรือลดลง 0.1% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดหลังเกิด วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ผลก็คือ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัว ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐเช่น ประเทศในอเมริกาใต้ย่อมแย่ลงไปด้วย ดังนั้น รัฐบาลของประเทศพวกนี้ก็ถูกประท้วงไปด้วยเมื่อรัฐบาลของตนแก้ปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจไม่ได้

ปัญหาที่สอง รายได้ของประชาชนจากประเทศในอเมริกาใต้ที่อพยพเข้าไปทำงานและอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาย่อมได้รับความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจไปด้วย อันส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศอเมริกาใต้หลายประเทศเดือดร้อนและเป็นที่มาของการประท้วงอื่นๆ ตามมาด้วย

สิ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดมากนักคือ การเปลี่ยนแปลงเร็วอย่างฉับพลันของเทคโนโลยีหรือ Disruptive economy กล่าวคือ ในภาคการผลิตมีการใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าทดแทนแรงงานคน นี่เป็นที่มาของปัญหาทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการประท้วงไปหลายแห่งทั่วโลก

การต่อต้านรัฐทั่วโลกคือ เรื่องปกติ ด้วยสาเหตุดังกล่าว อย่างน้อยก็สาเหตุหนึ่ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0