โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อึ้ง! สัญญาณลึกลับจากนอกโลก ห่างออกไป 1,500 ล้านปีแสง

new18

อัพเดต 13 ม.ค. 2562 เวลา 06.53 น. • เผยแพร่ 12 ม.ค. 2562 เวลา 11.50 น. • new18
อึ้ง! สัญญาณลึกลับจากนอกโลก ห่างออกไป 1,500 ล้านปีแสง
การระเบิดของพลังงานลึกลับซ้ำหลายครั้ง ถูกตรวจจับได้โดยกล้องโทรทรรศน์ที่แคนาดา ซึ่งเป็นการตรวจจับสัญญาณได้เป็นครั้งที่ 2 ของโลกเท่าที่เคยมีมา

การระเบิดของพลังงานลึกลับซ้ำหลายครั้ง ถูกตรวจจับได้โดยกล้องโทรทรรศน์ที่แคนาดา ซึ่งเป็นการตรวจจับสัญญาณได้เป็นครั้งที่ 2 ของโลกเท่าที่เคยมีมา

การระเบิดอย่างรวดเร็วและรุนแรงของคลื่นวิทยุ หรือที่เรียกกันว่า เอฟอาร์บี (Fast Radio Bursts : FRB) คือการแผ่รังสีของคลื่นวิทยุที่เกิดขึ้นชั่วคราว และเดาสุ่ม ทำให้มันไม่เพียงแต่จะยากในการค้นพบ แต่ยังยากต่อการศึกษาวิจัยด้วย
สัญญาณล่าสุดที่ตรวจจับได้ เดินทางมาถึงโลกมนุษย์ จากกาแล็กซีไกลโพ้นในห้วงอากาศ ห่างออกไปถึง 1,500 ล้านปีแสง
คำอธิบายที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุดคือ สัญญาณเหล่านี้ถูกสร้างโดยวัตถุทรงพลังในอวกาศ ขณะที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญถกเถียงกันว่า หลุมดำหรือไม่ก็ดวงดาวที่มีนิวตรอนหนาแน่นเป็นพิเศษ อยู่เบื้องหลังการปล่อยสัญญาณ แต่ผู้เชี่ยวชาญอีกหลายกลุ่มเอ่ยถึงทฤษฎีที่แปลกประหลาดยิ่งกว่า
ในจำนวนนี้รวมถึง ศาสตราจารย์แอวิด โลบ แห่งศูนย์ดาราฟิสิกส์ ฮาร์วาร์ด-สมิธโซเนียน ในสหรัฐ ซึ่งเชื่อว่า นี่คือพยานหลักฐานความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีอย่างเหลือเชื่อของมนุษย์ต่างดาว
เอฟอาร์บีถูกตรวจพบครั้งแรกในโลก “โดยบังเอิญ” ในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็น “พบเห็น” ไม่ใช่การ “ได้ยิน” จากการที่นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุในประเทศแคนาดาเมื่อปี 2544 และการค้นพบครั้งใหม่ซึ่งเผยแพร่ลงในวารสาร The Nature เป็นของคณะนักดาราศาสตร์ที่ตามล่าหาเอฟอาร์บีโดยเฉพาะ นำโดยนักดาราศาสตร์ชาวแคนาดา
ช่วงเวลา 3 สัปดาห์ของฤดูร้อนปีที่แล้ว ทีมค้นพบใหม่ตรวจจับสัญญาณเอฟอาร์บีได้ถึง 13 ครั้ง โดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุรุ่นล่าสุด ที่เรียกกันว่า ไชม์ (the Canadian Hydrogen Intensity Mapping Experiment : Chime) และพบว่าหนึ่งในเอฟอาร์บีชุดนี้เป็นสัญญาณซ้ำ
จนถึงปัจจุบันนักดาราศาสตร์ทั่วโลกตรวจจับสัญญาณเอฟอาร์บีได้มากกว่า 60 ครั้ง การระเบิดซ้ำเคยถูกตรวจจับได้เพียงแค่ครั้งเดียว โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ “อาเรซิโบ” ในเปอร์โตริโก เมื่อปี พ.ศ. 2558
เอฟอาร์บีที่ตรวจจับได้ก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่มีคลื่นความถี่ที่ประมาณ 1,400 เมกะเฮิร์ตซ์ แต่เอฟอาร์บีชุดใหม่ต่ำกว่า 800 เมกะเฮิร์ตซ์ ถือเป็นคลื่นความถี่วิทยุที่ต่ำผิดปกติ
บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังต้องเดินหน้าค้นคว้าวิจัยต่อไป ว่าต้นแหล่งของเอฟอาร์บีเหล่านี้มาจากไหน ตอนนี้เพียงแต่สันนิษฐานกันคร่าว ๆ ว่า มาจากแหล่งที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันล้านปีแสง นอกกาแล็กซี หรือทางช้างเผือกของเรา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0