โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อิเหนา 2019

มติชนสุดสัปดาห์

อัพเดต 18 มิ.ย. 2562 เวลา 04.07 น. • เผยแพร่ 18 มิ.ย. 2562 เวลา 04.07 น.
2019

หลังจากเล่นซ่อนแอบมานาน ในที่สุด “วิษณุ เครืองาม” ก็ยอมเปิดชื่อคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

มีรายชื่อดังต่อไปนี้

1. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

2. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

3. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

4. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ

5. วิษณุ เครืองาม

6. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร

7. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย

8. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา

9. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว

10. พรเพชร วิชิตชลชัย

อย่าลืมว่าวุฒิสมาชิก 250 คน มีสิทธิเลือก “นายกรัฐมนตรี” เทียบเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน

ในขณะที่ ส.ส. 500 คนมาจากการเลือกตั้งของไทยทั้งประเทศ

แต่คนแค่ 10 คนมีสิทธิเลือก ส.ว. 250 คน มาเลือก “นายกรัฐมนตรี”

นี่คือ “ความเท่าเทียม” ที่แสนเจ็บปวดภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้

แต่เรื่องที่น่าตกใจยิ่งกว่าก็คือ ในจำนวนคณะกรรมการสรรหา 10 คน

มีอยู่ 6 คนได้รับการสรรหาเป็น “วุฒิสมาชิก”

จะใช้คำว่า “ผลประโยชน์ทับซ้อน” ก็คงไม่ถูกต้อง

เพราะ “วิษณุ” ยืนยันว่ากรรมการแต่ละคนไม่ได้เสนอชื่อตัวเองให้เป็น ส.ว.

มีคนอื่นเสนอชื่อขึ้นมาเอง

ระบบการคัดเลือกโปร่งใสมาก เพราะกรรมการคนที่ได้รับการเสนอชื่อจะเดินออกนอกห้องประชุมเวลาที่มีการพิจารณาชื่อตนเอง

ทำแบบนี้สลับกันไปเรื่อยๆ

มีคนบอกว่านี่คือการกระทำที่เรียกว่า “ผลประโยชน์ทับซ้อน”

เป็นกรรมการสรรหา ส.ว.

แล้วมีชื่อตนเองก็ได้เป็น ส.ว.

แต่มีคนเถียงว่า จะเรียกการกระทำเช่นนี้ว่า “ผลประโยชน์ทับซ้อน” คงไม่ถูกต้อง

ต้องเรียกว่า “ผลประโยชน์สลับกันทับซ้อน”

คือ สลับกันเสนอชื่อ

ทับกันไปทับกันมา

แล้วบังเอิญมันซ้อนกันเอง

มีคนพยายามพลิกหนังสือ “อิศปปกรณัม” เพื่อหานิทานสอนใจที่เข้ากับเรื่องนี้

หาเท่าไรก็หาไม่เจอ

เจอแต่สำนวนเก่าๆ ที่ดัดแปลงใหม่

…ว่าแต่เขา

“อิเหนา” ยิ่งกว่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0