โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อัยการแนะผู้เข้าสอบ ควรอ่าน'ระเบียบการสอบ'ให้ดี เพราะ'การเซ็นชื่อไม่เขียนตัวบรรจง'ก็ย่อมถูกตัดสิทธิ์ได้

JS100 - Post&Share

เผยแพร่ 21 ต.ค. 2561 เวลา 12.35 น. • JS100:จส.100
อัยการแนะผู้เข้าสอบ ควรอ่าน'ระเบียบการสอบ'ให้ดี เพราะ'การเซ็นชื่อไม่เขียนตัวบรรจง'ก็ย่อมถูกตัดสิทธิ์ได้
อัยการแนะผู้เข้าสอบ ควรอ่าน'ระเบียบการสอบ'ให้ดี เพราะ'การเซ็นชื่อไม่เขียนตัวบรรจง'ก็ย่อมถูกตัดสิทธิ์ได้

          จากกรณีที่มีผู้โพสต์เฟซบุ๊คขอความเป็นธรรม หลังถูกตัดสิทธิ์จากการสอบเข้าสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ หรือ OTCC จัดสอบที่ศูนย์ทดสอบวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการคุมสอบ เพียงแค่ 'เซ็นชื่อไม่เขียนตัวบรรจง'

          นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ความเห็นว่า โดยทั่วไปทุกการสอบ จะมีระเบียบการสอบ ซึ่งต้องยึดเป็นกฎสำคัญ กรณีดังกล่าวตนยังไม่ได้เห็นระเบียบการสอบทั้งหมด แต่หากดูจากภาพที่โพสต์ในข่าวจะเห็นได้ว่า ในบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบฯ ตรงช่องที่ให้ลงลายมือชื่อ มีระบุไว้ชัดเจนว่า 'ลายมือชื่อผู้สมัครเขียนตัวบรรจง' ซึ่งผู้เข้าสอบได้เขียนเฉพาะชื่อไว้ ลักษณะนี้อาจเป็นดุลยพินิจของกรรมการผู้คุมสอบถือว่าเป็นลายเซ็น เพราะไม่ใช่ตัวบรรจง ไม่มีนามสกุล ถือว่าผิดระเบียบการสอบได้ แต่ไม่เกี่ยวกับความผิดทุกจริตในการสอบ

นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง
(รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด)

          เรื่องนี้เข้าข่ายว่าเป็นการตีความของกรรมการสอบ ถ้าผู้เข้าสอบอ่านระเบียบการสอบให้ชัดเจน และทำถูกต้องทุกข้อ ก็อาจจะไม่เกิดปัญหา โดยส่วนตัวตนเคยเป็นกรรมการคุมสอบมาหลายโครงการ ก็มักพบผู้เข้าสอบอาจไม่ทันได้ดูระเบียบการสอบให้ดี เช่น การห้ามทำเครื่องหมายใดๆลงในข้อสอบ ก็มักพบบางคนที่แก้คำผิด แล้วเขียนกำกับ กรณีแบบนี้กรรมการคุมสอบก็ใช้ดุลยพินิจให้ผิดได้ ขณะเดียวกันหากผู้เข้าสอบไม่เห็นด้วย ก็สามารถใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์หรือฟ้องศาลได้ ซึ่งก็ต้องรับฟังทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทุกสนามสอบผู้เข้าสอบควรอ่านระเบียบการสอบให้ละเอียด เพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเอง การสอบเป็นเรื่องการแข่งขัน ชี้ชะตา ชี้อนาคต การแข่งขันสูง ต้องอ่านให้ชัดเจน ไม่ให้เสียสิทธิ์ หรือไม่ให้กรรมการสามารถตัดคะแนนเราได้ ถ้าไม่มั่นใจให้ถามเจ้าหน้าที่คุมสอบ ส่วนในแง่กฎหมาย คำว่า 'ลายเซ็น' กับ 'ตัวบรรจง' กับผลทางกฏหมาย โดยทั่วไปใช้แทนกันได้ แต่ถ้าเอกสารระบุไว้ชัดเจนแล้ว ก็ต้องทำตาม

 

          คุณอาร์ม หนึ่งในผู้เข้าสอบที่ถูกตัดสิทธิ์ เปิดเผยกับ JS100 ว่า การรับสมัครสอบครั้งนี้ ค่าสมัคร 650 บาท สมัครผ่านทางออนไลน์ทั้งหมด มีการแจ้งรายละเอียดทั้งหมดรวมถึงระเบียบการสอบบนหน้าเว็บไซต์ เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ถูกตัดสิทธิ์แบบเดียวกันถึง 200 คน จากผู้เข้าสอบทั้งหมดประมาณ 1,000 คน ถือว่ามีความไม่ชัดเจนของเอกสารที่ทำให้มีคนเข้าใจผิด เพราะหลักฐานการเข้าสอบก็มีทั้งบัตรประชาชน บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ ลายเซ็นที่เราเขียนลงในบัตร และใบที่ให้เราลงชื่อในการเข้าสอบ ทั้งยังมีเอกสารอื่นๆให้ลงชื่ออีกตั้งหลายจุด ซึ่งก็พิสูจน์ได้แล้วว่ามีตัวตน อีกทั้งในระเบียบการสอบก็ไม่มีข้อใดที่ระบุว่า ผู้เข้าสอบจะถูกตัดสิทธิ์หากไม่เขียนชื่อตัวบรรจงลงในบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบฯ

          'ยืนยันไม่ใช่ความผิดของผู้เข้าสอบ จึงขอไม่เซ็นชื่อในใบยุติการสอบ บางคนยอมเซ็นเพราะกลัวว่าจะมีผลในสนามสอบอื่นๆ แต่สำหรับผมและเพื่อนๆที่รวบรวมกลุ่มกันได้ประมาณ 100 คน จะไปยื่นอุทธรณ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าในวันพรุ่งนี้(22ต.ค.61) ให้พิจารณาว่ากรรมการคุมสอบทำไม่ถูกต้อง หากยังไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงจะยื่นฟ้องศาลปกครองต่อไป' คุณอาร์ม ตัวแทนผู้เข้าสอบที่ถูกตัดสิทธิ์กล่าว

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0