โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อังกฤษสร้างอวัยวะเทียม คืนชีพเสียงตอนมีชีวิตให้มัมมี่นักบวชอายุ 3,000 ปี

Khaosod

อัพเดต 25 มี.ค. 2564 เวลา 10.48 น. • เผยแพร่ 24 ม.ค. 2563 เวลา 13.32 น.
_110623898_mummyscan-3b7197e6b442a4e6c779ebccb35cd6ea0d3cf0f1

อังกฤษสร้างอวัยวะเทียม คืนชีพเสียงตอนมีชีวิตให้มัมมี่นักบวชอายุ 3,000 ปี - BBCไทย

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกยุคปัจจุบัน ได้ช่วยให้ความปรารถนาที่จะเป็นอมตะของนักบวชอียิปต์โบราณเมื่อกว่าสามพันปีก่อนเป็นจริงขึ้นมาแล้ว โดยทีมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้คืนชีพให้กับเสียงของ "เนสยามุน" (Nesyamun) นักบวชชั้นสูงแห่งมหาวิหารคาร์นัก (Karnak) ตามความต้องการที่จารึกไว้ข้างโลงศพของเขาเลยทีเดียว

SCIENTIFIC REPORTS ช่องทางเดินเสียงเทียมของเนสยามุนที่ถูกผ่าครึ่ง สร้างโดยวิธีการพิมพ์สามมิติ

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ มหาวิทยาลัยลอนดอน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยยอร์กและพิพิธภัณฑ์แห่งเมืองลีดส์ของสหราชอาณาจักร ได้ร่วมกันสร้างอวัยวะเทียมซึ่งได้แก่ช่องทางเดินเสียง (vocal tract) และกล่องเสียง (larynx) ที่จำลองมาจากร่างมัมมี่ของเนสยามุนโดยตรง โดยใช้เทคนิคซีทีสแกนถ่ายทอดภาพโครงสร้างอวัยวะภายในของมัมมี่อย่างละเอียด และสร้างเป็นอวัยวะเทียมขึ้นมาโดยการพิมพ์สามมิติ

รายละเอียดของการคืนชีพเสียงให้มัมมี่ครั้งนี้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Scientific Reports โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เมื่อทำการสังเคราะห์เสียงจากกล่องเสียงเทียมที่ทำขึ้น เสียงของเนสยามุนที่ใกล้เคียงกับตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะเปล่งออกมาได้อย่างชัดเจน โดยในการสังเคราะห์เสียงครั้งแรกนี้เป็นการออกเสียงสระ "แอ" ที่ฟังดูคล้ายกับเสียงร้องของแกะ

https://www.youtube.com/watch?v=tcOY8ziJdLk

เนสยามุนมีชีวิตอยู่ในช่วง 1,099 - 1,069 ปีก่อนคริสตกาล ในรัชสมัยของฟาโรห์รามเซสที่ 11 โดยเป็นนักบวชชั้นสูงประจำวิหารเทพอามุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหารคาร์นักในเมืองธีบส์หรือเมืองลักซอร์อันเลื่องชื่อ

คาดว่าเนสยามุนเป็นนักบวชผู้นำการสวดสรรเสริญเทพเจ้า จึงน่าจะต้องมีเสียงที่ก้องกังวานและฟังดูแข็งแกร่ง เขาได้แสดงความปรารถนาที่จะให้เสียงของตนยังคงมีผู้ได้ยินได้ฟังกันต่อไปในอนาคต แม้เขาจะไปสู่ปรโลกแล้วก็ตาม โดยได้สลักข้อความดังกล่าวไว้ข้างโลงบรรจุมัมมี่ของเขานั่นเอง

LEEDS MUSEUMS AND GALLERIES
ร่างมัมมี่และโลงศพของเนสยามุนตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองลีดส์ของสหราชอาณาจักร

ศาสตราจารย์ โจแอน เฟล็ตเชอร์ นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยยอร์ก หนึ่งในทีมผู้สังเคราะห์เสียงของมัมมี่ในครั้งนี้บอกว่า "ในอนาคตเรามีแผนจะใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์สังเคราะห์เสียงของมัมมี่ให้เป็นคำที่มีความหมาย และจะรวบรวมคำต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้เป็นประโยค โดยหวังว่าจะสามารถถ่ายทอดคำสวดร้องของเนสยามุนได้ตรงตามแบบที่เขาเปล่งออกมาในมหาวิหาร"

LEEDS MUSEUMS AND GALLERIES
นักวิทยาศาสตร์ใช้เทคนิคซีทีสแกนถ่ายทอดภาพโครงสร้างอวัยวะภายในของมัมมี่อย่างละเอียด

ผลการศึกษาของนักโบราณคดียังพบว่า เนสยามุนเป็นนักบวชชั้น "วาอับ" (waab) ซึ่งเชื่อว่าบรรลุถึงความบริสุทธิ์ทางจิตวิญญาณขั้นสูง และได้รับอนุญาตให้เข้าไปยังที่ประดิษฐานรูปเคารพของเทพอามุนในชั้นในสุดของวิหารได้

ผลการตรวจด้วยเครื่องซีทีสแกนพบว่า เนสยามุนเป็นโรคเหงือกจนฟันเสื่อมสภาพไปอย่างมาก เขาน่าจะเสียชีวิตลงในวัยราว 50 ปี เนื่องมาจากอาการแพ้รุนแรง ซึ่งอาจจะเป็นการวางยาพิษหรือถูกผึ้งต่อยที่ลิ้น โดยมัมมี่ของเนสยามุนยังคงมีลิ้นจุกปากผิดจากสภาพของมัมมี่โดยทั่วไป

youtube
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0