โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

หายสงสัย... ประกันสังคม & กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ต่างกันอย่างไร?

ทันข่าว Today

อัพเดต 15 มิ.ย. 2563 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 15 มิ.ย. 2563 เวลา 00.00 น. • ทันข่าว Channel

Highlight

พอเงินเดือนออกทีไร ยอดเต็มที่เห็น เจอหักภาษี ณ ทีจ่าย หักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมไปถึงหักประกันสังคม สุดท้ายมาดูยอดสุทธิ … อาจจะน้ำตาซึม (เบาๆ)
ทำให้สงสัยว่า ทำไมหักหลายอย่างจัง จำเป็นไหม มันต่างกันไหม คำถามในใจในฐานะมนุษย์เงินเดือนแบบเราๆ

ประกันสังคม & กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ…เค้ามีไว้ทำไม?
ความเหมือนของประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ความตั้งใจ ก็คือ
• สิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน หรือเป็นหลักประกันให้กับมนุษย์เงินเดือนแบบเราๆ และครอบครัวหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
• สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

ประกันสังคม คืออะไร?
ประกันสังคม คือ เป็นสวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่พนักงาน เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตให้กับมนุษย์เงินเดือนแบบเราๆ หรือ กลุ่มคนทำงานอิสระ โดยเราจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม

โดยลูกจ้างและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย โดยจะทำการหักเงินจากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน (ในบทความนี้จะเน้นไปที่พนักงานประจำเป็นหลัก)

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคมหลัก ๆ จะประกอบไปด้วย
• ผู้ประกันตน (มนุษย์เงินเดือน)
• นายจ้าง
• รัฐบาล

ในกรณี เจ็บป่วย การคลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน และให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาพยาบาลและมีได้รับการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยพนักงานออฟฟิศ มนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างทั่วไปจัดเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) คืออะไร?
เป็นกองทุนที่มีความตั้งใจช่วยออมเงิน แบบอัตโนมัติรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้มนุษย์เงินเดือนแบบเราๆ มีเงินสำรองไว้ใช้

  • เมื่อยามเกษียณอายุ
  • ออกจากงาน
  • ทุพพลภาพ และมีเงินก้อนให้ครอบครัวเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิด

5 ข้อดีๆ ของการออมในกองทุน PVD

นายจ้างช่วยสมทบเงินออมให้เรา เหมือนมีคนช่วยออม
เงินที่เราถูกหักเข้ากองทุนทุกเดือนแบบอัตโนมัติอาจจะ 3%, 5%, 7%,10% หรือสูงสุดที่ 15% เรียกว่า “เงินสะสม” ซึ่งเราสะสมเข้าไปเท่าไหร่ บริษัทก็จะจ่าย “เงินสมทบ” ให้เราอีกส่วนหนึ่ง ให้เพื่อเป็นสวัสดิการให้พนักงาน ซึ่งอัตราการสมทบของบริษัท อาจจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์แน่นอน
หรือสมทบเป็นเปอร์เซ็นต์ตามอายุงาน หรือตามตำแหน่งงาน ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท

เมื่อออกจากงาน / เกษียณอายุ มีเงินก้อน ไม่ได้ไปตัวเปล่า
เมื่อเราพ้นจากสภาพการเป็นสมาชิกกองทุน คือ
ลาออกจากงาน
หรือเกษียณ

ตอนนี้แหละ ทั้ง “เงินสะสม” รวมถึง “เงินสมทบ” จากบริษัทแถมยังรวม “ดอกผล”
ที่งอกเงยขึ้นมาจากเงินสะสมและเงินสมทบ ที่ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นำไปบริหารให้.…จะกลายเป็นเงินก้นถุงให้เราใช้เมื่อยามจำเป็น

กรณีเสียชีวิต มีเงินก้อนเหมือน “มรดก”ทิ้งไว้ให้คนข้างหลัง
ถ้าเกิดว่าเราเสียชีวิต ผลประโยชน์จากกองทุนทั้งหมดก็จะตกอยู่กับคนข้างหลังเสมือนเป็นมรดกทิ้งไว้ให้

มีมืออาชีพบริหารให้
เงินสะสมและเงินสมทบ จะมี บลจ. มาช่วยบริหารให้งอกเงย เช่น นำไปลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ หุ้นกู้ หรือเงินฝาก
ซึ่งเวลาเราเลือกนโยบายการลงทุน เราก็เลือกตามระดับความเสี่ยงที่เรารับได้

ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้อีกตะหาก

ประกันสังคม & กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ต่างกันอย่างไร?
จากที่เล่ามาข้างต้น ถ้าจะสรุปว่า ประกันสังคม & กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ

รูปแบบกองทุน

  • ประกันสังคม – รัฐบาลจัดตั้งผ่าน กองทุนประกันสังคม ทั้ง พนักงาน นายจ้าง และรัฐ ส่งเงินสมทบตามสัดส่วนที่กำหนด
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) – ไม่บังคับ ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท (บางบริษัทมี บางบริษัทไม่มี) – จัดตั้งตามนโยบายบริษัท บริหารกองทุนผ่าน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)

สิทธิประโยชน์

  • ประกันสังคม – พวกเรามนุษย์เงินเดือน ที่เค้าเรียกว่าผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นี้ จะได้รับการคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน เรียกว่า ได้ใช้สิทธิบางอย่างระหว่างทำงานได้เลย
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) – เมื่อออกจากงาน หรือ เกษียณ เราจะได้เงินก้อนที่เราสะสมไว้ บวกกับที่นายจ้างช่วยเราออมและดอกผลจาก บลจ. ที่บริหารกองทุน เป็นเงินก้นถุง ให้เราใช้ยามจำเป็น

ทั้งประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นหลักประกันความมั่นคงและสวัสดิการของมนุษย์เงินเดือน ข้อดีมากมายๆ … เพราะงั้นเงินที่ถูกตัดไปทุกๆ เดือนนั้น ก็เพื่อ อนาคตวันข้างหน้าเรา…นั้นเอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0