โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter (ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดจังหวะ)

HonestDocs

อัพเดต 09 ต.ค. 2562 เวลา 19.55 น. • เผยแพร่ 09 ต.ค. 2562 เวลา 19.55 น. • HonestDocs
หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter (ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดจังหวะ)
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด AF (Atrial Flutter) คืออะไร อันตรายมากไหม? อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอย่างไร? วิธีการรักษาเป็นแบบไหน? ค่ารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ เท่าไหร่?

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter คือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจห้องบน (Atria) เร็วกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจไม่ตรงกันระหว่างห้องบนและห้องล่าง

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter จะมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation) ที่พบได้มากกว่า แต่ทั้ง 2 ภาวะนี้ ไม่ได้เป็นภาวะเดียวกัน

อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะไม่รู้สึกถึงการเต้นถี่ๆ ของหัวใจ แต่จะมีอาการอื่นแทน ได้แก่

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจลำบาก (Shortness of Breath)
  • หน้ามืด หรือเป็นลม
  • เจ็บ หรือแน่นหน้าอก
  • เวียนศีรษะ
  • ใจสั่น
  • มีปัญหาในการทำกิจกรรมประจำวันเนื่องจากอ่อนเพลีย

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter

ตัวควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจตามธรรมชาติ (Natural Pacemaker) หรือ Sinus Node มีตำแหน่งอยู่ที่บริเวณหัวใจห้องบนขวา (Right Atrium) โดยจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องบนขวาและซ้าย ซึ่งสัญญาณนี้จะบอกหัวใจห้องบนว่า เมื่อไรที่ควรจะหดตัวและจะหดตัวด้วยจังหวะเท่าไร

เมื่อคุณมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter จะทำให้ Sinus node ส่งสัญญาณไฟฟ้าออกมาแ แต่สัญญาณบางส่วนจะถูกส่งผ่านอย่างต่อเนื่องไปรอบๆ หัวใจห้องบนขวา ทำให้หัวใจห้องบนหดตัวเร็วขึ้น ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจตามปกติจะอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 250-300 ครั้งต่อนาที

มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) : เกิดขึ้นจากการที่เส้นเลือดแดงของหัวใจมีการอุดตันโดยคอเลสเตอรอลและไขมันที่เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดแดง ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลงหรือขัดขวางการไหลเวียนเลือด เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจ ห้องหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจได้รับความเสียหาย มักปรากฎเป็น Atrial flutter ชนิดที่ 1 ซึ่งมีอัตราการเต้นของหัวใจห้องบนที่ 240-340 ครั้งต่อนาที
  • การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open-Heart Surgery) : การผ่าตัดหัวใจแบบเปิดอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่หัวใจ ซึ่งจะขัดขวางสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจได้ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial flutter มักปรากฏเป็น Atrial flutter ชนิดที่ 2 ซึ่งมีอัตราการเต้นของหัวใจห้องบนที่ 340-350 ครั้งต่อนาที

นอกจากปัจจัยทั้ง 2 อย่างแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเพิ่มโอกาสเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial flutter ได้แก่

  • สูบบุหรี่ และดื่มสุราเป็นประจำ
  • เป็นโรคหัวใจ หรือเป็นโรคของลิ้นหัวใจ (Heart Valve)
  • เคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด
  • มีความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคปอด หรือเป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคเครียด หรือวิตกกังวล
  • กำลังใช้ยาช่วยลดน้ำหนัก หรือใช้ยาบางชนิด

การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter

เมื่อคุณมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที แพทย์จะสันนิษฐานว่าคุณอาจจะมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter ซึ่งจะมีการซักประวัติครอบครัว และประวัติการแพทย์เพื่อนำมาใช้ในการวินิจฉัยเบื้องต้น

หากแพทย์ไม่แน่ใจว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากภาวะดังกล่างหรือไม่ ก็อาจมีการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมดังนี้

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiograms) : การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวัดการไหลเวียนเลือดในหัวใจและในเส้นเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram (ECG)) : เป็นการตรวจบันทึกรูปแบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology) : เป็นวิธีการตรวจโดยการใส่สายสวนเข้าไปในร่างกายที่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบไปยังหัวใจ โดยจะมีการติดแผ่นรับสัญญาณไฟฟ้า (Electrodes) ที่บริเวณต่างๆ เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจ

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial flutter

การรักษาที่ใช้จะขึ้นกับความรุนแรงของโรค หากผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจอื่นๆ ร่วมด้วย ก็จะต้องเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสม ดังนี้

  • การใช้ยา : เพื่อทำให้หัวใจเต้นช้าลงหรือเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ โดยการใช้ยาบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวให้เข้ากับยา เช่น ยาในกลุ่ม Calcium Channel Blockers, ยาในกลุ่ม Beta-Blockers หรือ Digoxin

แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมาก แพทย์อาจเลือกใช้ยาอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติ เช่น Amiodarone, Propafenone หรือ Flecainide

นอกจากนี้แพทย์อาจจ่ายยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดแดง เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

  • การผ่าตัด : การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (Ablation Therapy) จะถูกใช้เมื่อไม่สามารถควบคุมโรคด้วยยาได้ การรักษาด้วยวิธีนี้จะมีการทำลายเนื้อเยื่อหัวใจในบริเวณที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของจังหวะการเต้นที่ผิดปกติ หลังการรักษาด้วยวิธีนี้อาจจำเป็นต้องติดเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) เพื่อช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • การรักษาทางเลือก : การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (Cardioversion) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ หรือเรียกอีกอย่างว่า การช็อคด้วยไฟฟ้า (Defibrillation) โดยผู้ป่วยจะได้รับการติดแผ่นแปะไว้ที่บริเวณหน้าอกและช็อคด้วยไฟฟ้าจากเครื่องส่งภายนอกร่างกาย

การป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter คือ พยายามป้องกันไม่ให้ตนเองเป็นโรคดังกล่าว โดยการปรับการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพที่ดี เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และเลิกสูบบุหรี่

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0