โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

กีฬา

หยาดเหงื่อนักแบดทำไมมีค่าน้อยจัง? / แมวดำ

Manager Online

เผยแพร่ 05 มิ.ย. 2563 เวลา 02.49 น. • MGR Online

คอลัมน์ สกอร์บอร์ด โดย แมวดำ

ระหว่างที่กำลังคิดว่าเอ…ฉันจะเขียนอะไรดี เลยลองมองหาข้อมูลโน่นนี่นั่น สุดท้ายก็เจอจนได้ เมื่อผมเหลือบไปเห็นรายงานจากนิตยสาร "ฟอร์บ" ที่เขาจัดอันดับนักกีฬาที่มีรายได้สูงสุด โดยอ้างอิงจากเงินรางวัลที่ได้รับ รวมกับรายได้จากลิขสิทธิ์ และสปอนเซอร์ ในรอบปี 2020 แน่นอนหละครับว่ามันเป็นปีที่เจอวิกฤติไวรัสจนส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดว่ารายได้ของนักกีฬานั้นลดลง แต่เบอร์ 1 ของโลก คือ สุภาพบุรุษชาวสวิส โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ นักกีฬาเทนนิสผู้หญิงใหญ่ด้วยแชมป์แกรนด์สแลม 20 สมัย มีรายได้ถึง 106.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 3.4 พันล้านบาท)

ขณะที่เบอร์ 2 ตามมาเป็น คริสเตียโน่ โรนัลโด้ แห่ง ยูเวนตุส รับเนื้อๆ 105 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับ 3 ลิโเนล เมสซี่ จาก บาร์เซโลน่า รับ 104 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับ 4 เนย์มาร์ ดาวดังจาก เปเอสเช รับ 95.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอันดับ 5 ของโลกเป็น เลบรอน เจมส์ นักบาสเกตบอล รับ 88.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดยใน 100 อันดับนักกีฬาที่มีรายได้สูงสุดปี 2020 นั้นมีผู้หญิงติดมาเพียง 2 คน คือ นาโอมิ โอซากะ นักเทนนิสสาวจากญี่ปุ่น ที่มีรายได้ 37.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ เซรีน่า วิลเลี่ยมส์ นักเทนนิสสาวสหรัฐฯ ที่รับ 36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

แต่เมื่อลองแยกดูแล้ว 100 อันดับนักกีฬาที่มีรายรับสูงสุด มีนักกีฬาบาสเกตบอล ติดมาถึง 35 คน, อเมริกันฟุตบอล 31 คน, นักฟุตบอล 14 คน, นักเทนนิส 6 คน, นักมวย 5 คน, นักกอล์ฟ 4 คน, มอเตอร์สปอร์ 3 คน และ เบสบอล กับ คริกเก็ต อย่างละ 1 คน

น่าสังเกตว่าไม่มีนักกีฬาแบดมินตันติดมาเลยแม้แต่คนเดียว เรื่องนี้เลยมีคนไปถามนักแบดมินตันหลายคน เขาก็ออกอาการเบื่อหน่าย และบ่นว่าทำไมรายได้นักกีฬาถึงสวนทางกับรายรับของสหพันธ์แบดมินตันโลก บ้างก็ว่ามันไม่ยุติธรรมสำหรับนักกีฬาแบดมินตัน

เนื่องจากบางรายการ ซึ่งก็เป็นรายการใหญ่มากอย่าง โทัมส & อูเบอร์ คัพ , สุธีรมานคัพ และศึกชิงแชมป์โลก แข่งขันชิงถ้วยกันแทบเป็นแทบตาย เหนื่อยแทบขาดใจ ทว่ามีแต่ถ้วย กลับไม่มีเงินรางวัลสำหรับนักกีฬา เรื่องนี้ทำเอานักกีฬาหลายคนหัวเสีย และหงุดหงิดกันมาก

โดย โทมัส ลุนด์ เลขาธิการสหพันธ์แบดมินตันโลก ออกมาแก้ต่างด้วยการอ้างว่าเป็นประเพณีมาตั้งแต่โบราณกาล ด้วยการชิงแชมป์โลกครั้งแรกปี 1977 นั้นไม่มีเงินรางวัลสำหรับนักกีฬา (ก็เลยไม่มีมันเรื่อยมาเพราะรักษาประเพณี…เฮ้ย) พร้อมอธิบายรายได้ของสหพันธ์แบดโลก ว่ามาจาก 2 ส่วน คือ เงินจากผูสนับสนุน หรือเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และเงินจากคณะกรรมการโอลิปิกสากล (ไอโอซี) โดยในส่วนนี้รับจากการแข่งขันโอลิมปิกทุก 4 ปี 17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งรายได้ทั้งหมดจะถูกนำไปในในการพัฒนาในภาพรวม อาทิ การพัฒนานักกีฬา, การจัดการแข่งขัน, การตลาด, การผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ บลา บลา บลา…

ฟังแล้วก็เข้าใจแหละครับ แต่ช่องว่างรายได้ของนักกีฬาแบดมินตัน กับนักกีฬาชนิดอื่นๆ นี่ห่างมากจริงๆ ครับ ไม่ต้องอื่นไกลลองดู "น้องเมย์" รัชนก อินทนนท์ อดีตมือ 1 โลก รายได้ปี 2019 ที่คว้าแชมป์ 2 รายการ คือ มาเลเซีย มาสเตอร์ส กับ อินเดีย โอเพ่น และ 4 รองแชมป์ ประกอบด้วย เยอรมัน โอเพ่น, ไทยแลนด์ โอเพ่น, โคเรีย โอเพ่น และ ฮ่องกง โอเพ่น รับเงินรางวัลราว 4.4 ล้านบาท รวมกับเงินรางวัลจากกองทุนพัฒนากีฬาชาติ จากเหรียญทองแดงซีเกมส์, เหรียญทองแดงสุธีรมานคัพ และเหรียญทองแดงศึกชิงแชมป์โลก รวมๆ แล้วรับเกือบ 6 ล้านบาทเท่านั้น ก็ไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นสาวน้อยจากบ้านทองหยอดมาไลฟ์สดขายเสื้อผ้าหรอกจริงมั้ยครับ

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0