โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

หนังไทยไม่ “ตลก” ก็ “ผี” ถึงไม่ไปไหนสักที! “ซีเจ เมเจอร์“ พลิกมุมสร้างหนัง ต้องเน้น “อารมณ์และคน” ถึงจะเกิด วางแผนปีนี้ทำ 3 เรื่อง อยากได้เรื่องละ 100 ล้าน

Positioningmag

อัพเดต 26 เม.ย. 2562 เวลา 04.12 น. • เผยแพร่ 26 เม.ย. 2562 เวลา 00.00 น.

นอกจาก“เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” จะเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์11 แบรนด์ ครองส่วนแบ่งตลาด70% โดยมีโรงภาพยนตร์มากกว่า160 สาขา771 โรง และกว่า176,435 ที่นั่งทั่วประเทศ ภายใต้ธุรกิจที่มีรายได้ในปี2018 จำนวน10,671.30 ล้านบาท กำไร1,283.59 ล้านบาท ยังมีค่ายที่ทำหน้าที่ในการผลิตภาพยนตร์เพื่อป้อนให้กับโรงภาพยนตร์ในเครือ ทั้ง เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์, เอ็ม ทาเลนต์, ทรานส์ฟอร์เมชั่นฟิล์ม และล่าสุดคือ ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

“ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์” ก่อตั้งต้นปี2016 โดยรวมทุ่นกับ“ซีเจ อีแอนด์เอ็ม บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลี ในวันที่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซีเจ เมเจอร์ ได้ระบุว่า เรื่องแรกที่จะทำชื่อ“มิส แกรนนี่(Miss Granny)” ฉายช่วงปลายปีนี้ เป็นการรีโปรดักชั่นจากเวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จในประเทศเกาหลี พร้อมกับตั้งเป้าสร้างอีก10 เรื่องภายใน3 ปี

แต่ที่สุดแล้วมีเพียงเรื่องเดียวที่ได้ฉายออกมาคือ มิสแกรนนี่ ที่ได้นำมาทำใหม่ภายใต้ชื่อ“20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์น” มี ใหม่- ดาวิกา โฮร์เน่, ก้อง- สหรัถ สังคปรีชา และ เจเจ- กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม แสดงนำ เข้าฉายอย่างเป็นทางการในวันที่24 พฤศจิกายน2016

ซีเจเมเจอร์คาดหวังว่าเรื่องนี้จะต้องทำรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน เพราะ“มิส แกรนนี่” ต้นฉบับในประเทศเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จด้วยรายได้รวมกว่า51.7 ล้านเหรียฐสหรัฐ หรือราว1.66 พันล้านบาท จากต้นทุนสร้างราว3.1 ล้านเหรียฐสหรัฐ แต่ปรากฏว่าแม้จะมีนักแสดงระดับแม่เหล็ก หากเข้าโรงจริงๆ สัปดาห์แรกทำรายได้ราว8 ล้านบาท ค่อนข้างน้อยผิดคาด

โยนู ชเว กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กล่าวว่า

ยอมรับว่าเมื่อเทียบอีก7 เวอร์ชั่น ฉายใน6 ประเทศ ที่สร้างขึ้นจากต้นฉบับเดียวกัน เรื่อง20 ใหม่ ไม่ประสบความสำเร็จมากเท่าที่คาดหวังไว้ โดยความผิดพลาดอาจมาจากการเข้าฉายยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งตามสถิติภาพยนตร์ไทยประสบความสำเร็จค่อนข้างยาก ถือเป็นบทเรียนสำหรับเรา ที่ต้องเรียนรู้แล้วนำกลับมาปรับปรุงใหม่

อย่างไรก็ตาม“โยนู” ยังเชื่อว่า ตลาดภาพยนตร์ของไทยยังมีโอกาศอีกมาก เพราะเมื่อดูจากข้อมูลBox office ในปี2017 จะพบว่า ภาพรวมตลาดภาพยนตร์6 ประเทศในอาเซียนรวมไทย มีมูลค่า3.83 หมื่นล้านบาท

ในขณะที่เกาหลีใต้มีมูลค่า4.91 หมื่นล้านบาท และเมื่อเทียบสัดส่วนประชากรไทยมี65 ล้านคน เกาหลีมี52 ล้านคน ชี้ให้เห็นว่ายังมีการเติบโตได้อีกมาก

ย้อนกลับไปเมื่อ6 ปีก่อน ในปี2011 Box office ของอินโดนีเซียมีมูลค่า2.6 พันล้านบาท น้อยกว่าครึ่งกับเมืองไทยที่มีมูลค่า4.9 พันล้านบาท หากเวลาผ่านในจนถึงปี2017 กลับพบว่า ของอินโดนีเซียเติบโตทะลุหลักหมื่นล้านบาท ของไทยมีอยู่ราว4.4 พันล้านบาท ลดน้อยลงเรื่อยๆ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าผู้บริโภคไม่เข้าโรงไปดูภาพยนตร์ แต่เป็นเพราะ“ภาพยนตร์ไทย” ไม่มีความน่าสนใจและดึงดูดคนไทยให้เข้าดูได้มากพอ เมื่อเทียบกับเกาหลีคนจะดูภาพยนตร์เกาหลีและภาพยนตร์ฮอลลีวูด50:50 แต่ของไทยมีราว20% ที่ดูภาพยนตร์ไทย

ที่เป็นอย่างนั้นเพราะคนไทยมองว่าการไปดูภาพยนตร์ไทยนั้น“ไม่คุ้มค่า” เมื่อเทียบภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มาการลงทุน บท นักแสดง และโปรดักชั่นถือว่าห่างชั้นกันอย่างมาก ที่สำคัญภาพยนตร์ไทยยังไม่หลากหลาย ไม่ทำ“ภาพยนตร์ตลก” ก็“ภาพยนตร์ผี” ซึ่งเป็นแนวที่คนชอบดูจึงมีการผลิตซ้ำๆ ทำให้คนดูผิดหวังมากขึ้นเรื่อยๆ

กลายเป็นว่าเมื่อภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จ รายได้ไม่เยอะ แต่ละปีมีภาพยนตร์ไทยทำรายได้ทะลุ1 ร้อยล้าน เฉลี่ยปีละ3 เรื่อง ที่เหลือห่างกันค่อนข้างมาก หลักล้านต้นๆ ค่ายภาพยนตร์จึงก็ไม่ค่อยทำแนวแปลกๆ จำนวนภาพยนตร์ไทยที่ออกมาในแต่ละปีจึงลดลงเรื่อยๆ จากจำนวน66 เรื่องในปี2012 เหลือ42 เรื่องในปี2018

“โยนู บอกว่า สิ่งที่จะทำให้ภาพยนตร์ไทยกลับมาคึกคัก จะต้องมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาด ซึ่งจะช่วยความความสดใหม่ โดบวิธีที่“ซีเจ เมเจอร์” จะทำ คือ เน้นผลิตภาพยนตร์ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นอย่างดี ผ่านการเล่นกับอารมณ์ของคนดูเหมือนกับซีรีส์เกาหลี ทั้งสร้างแรงบันดาลใจและความสนุกสนานน่าตื่นเต้น

โดยหลังจากทิ้งช่วงมาตั้งแต่ปลายปี 2016 ในปีนี้ซีเจเมเจอร์เตรียมทำภาพยนตร์3 เรื่อง ได้แก่“Love Battle รัก2 ปียินดีคืนเงิน” แนวโรแมนติกคอมเมดี้ กำหนดฉาย20 มิถุนายน, “That March” แนวโรแมนติกดราม่า เข้าฉายเดือนกันยายน และ“Classic Again” ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์เกาหลี

แต่ละเรื่องใช้งบลงทุน25 ล้านบาท และงบโปรโมตอีก25 ล้านบาท รวมงบลงทุนทั้งหมด100 ล้านบาท ตั้งเป้ารายได้เรื่องละ100 ล้านบาท โดย70% มาจากการฉายในโรง ที่เหลือมาจากฉายในต่างประเทศและแพลตฟอร์ม OTT นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์อีก 3 เรื่องกำลังถ่ายทำอยู่

“ความท้าทายในตลาดไทยคือ การที่คนไทยมีพฤติกรรม ความสนใจที่หลากหลาย และมีกิจกรรมน่าดึงดูดใจจำนวนมาก แต่เชื่อว่าด้วย Know-how ที่มีซึ่งมาจากการผลิตภาพยนตร์กว่า500 เรื่อง แต่ละปีมีเรื่องใหม่20 เรื่อง ยังมองตลาดไทยเป็นเรื่องบวกอยู่”

หลังจากนี้“ซีเจ เมเจอร์” ตั้งเป้าสร้างภาพยนตร์เพิ่มปีละ1-2 เรื่อง โดยในที่สุดตั้งใจที่จะทำภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นออกไปฉายยังต่างประเทศ ทั้ง จีน ตุรกี เวียดนาม อินโดนีเซีย และอเมริกา

“ซีเจกรุ๊ป” ทำธุรกิจอะไรบ้างในเมืองไทย?

บริษัท ทรู ซีเจ ครีเอชั่นส์ จำกัด

ร่วมทุนกับ“กลุ่มทรู” ผ่าน“ซีเจ อีเอ็นเอ็ม” ตั้งบริษัทผลิตซี่รีส์ และวาไรตี้ต่างๆ โดยนำออริจินัลฟอร์แมตมาจากเกาหลีใต้

  • ปี2017 แจ้งมีรายได้รวม5,537,778 บาท ขาดทุน23,778,473 บาท

บริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด

ร่วมทุนกับ“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” ผ่าน“ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง ทำธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง(Home Shopping) จำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย แบบตลอด24 ชั่วโมง ผ่านช่องรายการที่ใช้ชื่อว่า‘โอ ช้อปปิ้ง(O Shopping)’

  • ปี2018 แจ้งมีรายได้2,307,702,511 บาท กำไร20,801,128 บาท

บริษัท ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด

ร่วมทุนกับ“เมเจอร์ กรุ๊ป ผ่าน“ซีเจ อีแอนด์เอ็ม” ทำธุรกิจผลิตภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์เรื่องแรกของค่ายคือ“20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์น” เข้าฉายในปลายปี2016

  • ปี2017 แจ้งมีรายได้6,362,659 บาท ขาดทุน3,928,630 บาท

ที่มารายได้: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, มีนาคม2019

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0