โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ส่งออกสารพิษ 700 ตัน ลอตแรกไปสิงคโปร์-พม่า มนัญญาชี้ "เผาทิ้ง-จ่ายเอง"

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

อัพเดต 21 พ.ย. 2562 เวลา 19.41 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 22.01 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

“มนัญญา” โบ้ย “สุริยะ” เคาะแบน 3 สารเคมีเกษตร หลังหารือ 3 สมาคมผู้ประกอบการสารเคมี ชี้ผลประชาพิจารณ์ 70% ไม่เห็นด้วยกับการแบน เผยเตรียมผลักดันสารเคมีออกไปสิงคโปร์และเมียนมา ลอตแรก 700 ตัน ให้เอกชนรีบส่งมาภายใน 3 วัน ยืนยันว่าไม่มีการนำเข้าสารตัวใหม่ และไม่สนับสนุนให้เผาทำลายสาร

ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อเย็นวันที่ 21 พ.ย. น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ 3 สมาคมผู้ส่งสารเคมี ได้แก่ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทยและสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ว่า การตัดสินใจเลื่อนหรือไม่เลื่อนการแบนสารเคมีการเกษตร 3 ชนิดคือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส ไกลโฟเซต ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน หากที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติให้ชะลอและจำกัดการใช้สารดังกล่าว คณะกรรมการฯก็ต้องมีคำตอบให้กับสังคมด้วยว่าหลังจากนั้นจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

รมช.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดรับฟังข้อเสนอแนะของเอกชนในครั้งนี้ มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รวบรวมข้อมูลและนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการฯ ส่วนเรื่องของแนวทางการรับคืนสารเคมีจากเกษตรกร ร้านค้าผู้แทนจำหน่าย รวมทั้งจะมีการผลักดันให้ส่งออกสารเคมีไปยังประเทศต้นทาง อาทิ สิงคโปร์ และเมียนมา เป็นต้น ลอตแรกประมาณ 700 ตัน จากจำนวนสารทั้งหมด 38,855 หมื่นตัน ขอให้เอกชนที่จะส่งออก 3 สารดังกล่าว มาดำเนินการภายใน 3 วัน และต้องแจ้งจำนวนสต๊อกเข้ามา

“ดิฉันจะเร่งรัดการส่งออกในลอตแรกโดยเร็วที่สุด ส่วนสต๊อกที่เหลือจะมีการส่งออกเพิ่มเติมและไม่มีการกำหนดโควตา ยืนยันว่าไม่มีการนำเข้าสารตัวใหม่ และไม่สนับสนุนให้เผาทำลายสาร ควรเน้นการส่งออกมากกว่า เพราะว่าการทำลายสาร ต้องใช้งบประมาณกว่า 2 หมื่นบาทต่อตัน หากเกษตรกรและผู้ประกอบการต้องการกำจัดสารด้วยวิธีดังกล่าวต้องออกค่าใช้จ่ายเอง” น.ส.มนัญญากล่าว

น.ส.มนัญญายังกล่าวด้วยว่า วันที่ 22 พ.ย.มีการประชุมสารวัตรเกษตรทั่วประเทศ ที่กรมวิชาการเกษตร เพื่อรับทราบแนวทางในการลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับเกษตรกรและประชาชนที่มีสารทั้ง 3 ตัวในครอบครองว่าต้องไปส่งคืนบริษัทหรือร้านค้าอย่างไร เนื่องจากตามมติในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ผู้มีไว้ครอบครองจะผิดกฎหมายและได้รับโทษหนัก เบื้องต้นจำคุก 10 ปี ปรับ 1 ล้านบาท ส่วนกรณีประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ของกรมวิชาการเกษตร เป็นนโยบายและอำนาจของกรมฯ ยอมรับว่าขั้นตอนอาจมีถูกผิดบ้างเป็นธรรมดา แต่ทั้งหมดยังต้องผ่านบอร์ดคณะกรรมการวัตถุอันตรายก่อน

นายสกล มงคลธรรมมากุล ประธานที่ปรึกษาสมาคมอารักขาพืช กล่าวว่า สมาคมฯ ไม่ได้เห็นด้วยกับมติการแบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด และตามที่ได้มีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายประเภท 4 สิ้นสุดเมื่อวันที่ 8 พ.ย. จากการออกความเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการแบน 58% เห็นด้วย 42% เมื่อรวบรวมการแสดงความคิดเห็นผ่านแบบสอบถามของเกษตรกรที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นผ่านซ่องทางออนไลน์ได้ ผู้ไม่เห็นด้วยกับการแบนคิดเป็น 70% แต่เมื่อมีมติให้แบนสารดังกล่าว สารทั้ง 3 ชนิดจะกลายเป็นสารที่ผิดกฎหมายทันที ดังนั้น รัฐบาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการชดเชยความเสียหายทั้งหมด ค่าใช้จ่ายในการเก็บส่งรัฐ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายในการทำลายจึงไม่ควรผลักภาระนี้ให้เอกชนและเกษตรกรรับผิดชอบเอง

นายสกลกล่าวอีกว่า 3 สมาคมขอยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับการแบนสารเคมี 3 สาร การรับฟังความเห็นร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายประเภท 4 ยังมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการแบน ประกอบกับมาตรการแบนยังไม่มีประกาศชี้แจงเพื่อเตรียมการ โดยเฉพาะกรณีการนำเข้าแม้ไม่เสียภาษี แต่กระบวนการผลิตทั้งหมดจะเกิดภาษีทั้งหมด โดยคำนวณต้นทุนตามจริง เอกชนเสียให้รัฐอยู่แล้ว 110 บาท เราขายต่างประเทศ 120 แต่เมื่อคำนวณภาษี 20% จ่ายให้รัฐทั้งหมด รวมทั้งรายได้ส่วนต่าง Business tax 20% ดังนั้น รายได้ทั้งหมดเข้าคลังรัฐ เสียภาษี อย่างไรก็ตาม ประเทศได้ประโยชน์ ซึ่งการทำธุรกิจนี้ยังคงเสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย

อีกด้าน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ที่มีนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ต่อเป็นวันที่สอง โดย ส.ส.ส่วนใหญ่อภิปรายไปในทางเดียวกัน แสดงความเป็นห่วงเรื่องมาตรการดูแลช่วยเหลือเกษตรกร ภายหลังจากที่มีการยกเลิกการใช้ 3 สารเคมีอันตราย ได้แก่พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซตไปแล้ว จะใช้สารเคมีตัวใดมาทดแทน โดยเฉพาะสารเคมีที่นำมาทดแทนจะใช้ได้ในพืชบางชนิด เช่น อ้อย มันสำปะหลังได้หรือไม่ หรือหากสารเคมีที่ทำมาทดแทนมีราคาแพงกว่าสารเคมี 3 ชนิดที่ยกเลิกไป เกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไร ทำให้รู้สึกเป็นห่วงเกษตรกรที่คุ้นชินกับการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดมายาวนาน จากนั้นที่ประชุมลงมติเห็นชอบรายงานดังกล่าวด้วยคะแนน 427ต่อ0 งดออกเสียง 1 ส่งให้ ครม.นำไปพิจารณาต่อไป

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0