โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมที่ควรรู้

Stock2morrow

อัพเดต 22 ก.ค. 2562 เวลา 04.07 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 04.10 น. • Stock2morrow
สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมที่ควรรู้
สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมที่ควรรู้

หลายท่านนอกจากจะลงทุนในสินทรัพย์กันแล้วไม่ว่าจะเป็น หุ้น กองทุน ตราสารอนุพันธ์ แต่หลายท่านยังคงไม่ลืมว่าคนเราอายุก็มากขึ้นทุก ๆ วันเวลาก็เดินไปเรื่อย ๆ สุขภาพของคนเราก็ไม่มีวันแน่นอนจะเจ็บจะป่วยตอนไหนบ้าง ก็ไม่สามารถที่จะตาดเดาได้ การเจ็บป่วยแต่ละครั้ง หรือประสบอุบัติเหตุ เชื่อว่าหลายท่านพอถึงเวลานั้นต้องหาเงินกันให้เป็นว่าเล่น หรือบางท่านอาจจะมีประกันสุขภาพอยู่แล้วแต่เมื่อเข้ารับการรักษาจริงยิ่ง โรงพยาบาลเอกชนด้วยแล้วบางท่านถึงขนาด…..เลยสะด้วยซ้ำ ค่าใช้จ่ายอาจไม่พอประกันสุขภาพที่ตัวเองทำไว้อาจครอบคลุมไม่หมดทำให้ต้องควักเงินตัวเองจ่าย

 

“วันนี้ผมจะแนะนำประกันสังคมเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาพยาบาลและเป็นทางเลือกในการออมด้วยครับหลายท่านอาจจะละเลยไม่สนใจแต่ผมบอกได้เลยว่ามันคุ้มมากครับ”

 

นับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน ทั้งนี้กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ประเทศไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย  หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ  และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ

 

*ประกันสังคม มี 3 แบบครับ *

การปรับขึ้นของค่าประกันสังคมที่อยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มประกาศใช้เมื่อไหร่โดยเงินที่เราจ่ายสมทบเข้าไป ทำให้เราได้รับสวัสดิการถึง 7 อย่างข้างต้น เรามาดูกันว่า 750 บาทของเรา ไปอยู่ในสวัสดิการด้านไหนเท่าไหร่บ้าง

 

1. ลูกจ้างประจำพนักงานเอกชน มาตรา 33 (บังคับ) 

กรณีเจ็บป่วย 

เงื่อนไข : ต้องจ่ายสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

- ในกรณีเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

- ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนได้

- สถานพยาบาลของรัฐ สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

- สถานพยาบาลเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาท

- กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ไม่เกิน 900 บาทต่อปี

กรณีคลอดบุตร

เงื่อนไข: ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร

- สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)

- ผู้ประกันตนหญิงได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน (ใช้สิทธิได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2 เท่านั้น)

- กรณีสามีและภรรยาสามารถเลือกใช้สิทธิได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

กรณีทุพพลภาพ

เงื่อนไข : ต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน

- รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิตในกรณีทุพพลภาพร้ายแรง

- ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ

- ได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิต

- หากผู้ทุพพลภาพจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 ปีแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 2 เดือน แต่หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 6 เดือน

กรณีเสียชีวิต

เงื่อนไข : สาเหตุการเสียชีวิตต้องไม่เกิดจากการทำงาน และจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือนขึ้นไป

-ค่าทำศพ 40,000 บาท และ ทายาทสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพได้ภายใน 2 ปี

กรณีสงเคราะห์บุตร

เงื่อนไข: จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน

-เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นบุตรบุญธรรม หรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น

-ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ สามารถขอใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 3 คน

กรณีชราภาพ

เงื่อนไข: ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (ไม่จำเป็นต้องจ่าย 180 เดือนติดต่อกัน)

-มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

สิทธิประโยชน์

-ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

-ถ้าจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับการปรับเพิ่มบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 1.5 สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนนั้น

กรณีบำเหน็จชราภาพ

เงื่อนไข: จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

-มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

-ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

สิทธิประโยชน์

-ถ้าจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ

-ถ้าจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

-กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่ได้สิทธิบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

กรณีว่างงาน

เงื่อนไข: จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป

-มีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป

-ในกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามระยะเวลา จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

 

2. ผู้ที่เคยเป็นพนักงานแต่ลาออกมาแล้ว ประกันสังคมมาตรา 39

"สำหรับคนที่ออกจากงานประจำ ออกมาทำธุรกิจส่วนตัวหรือทำอาชีพอิสระ แต่ยังต้องการรักษาสิทธิ์ตรงนี้อยู่"

-จากที่สมทบเดือนละ 750 บาทจะเหลือเดือนละ 432 บาท โดยนายจ้างไม่ได้ช่วยเราสมทบแล้ว แต่รัฐบาลยังสมทบให้เราเดือนละ 120 บาท

-สวัสดิการตรงนี้เราจะยังได้เหมือนมาตรา 33 แต่สวัสดิการที่หายไปเลย คือการว่างงาน อีกส่วนหนึ่งที่กระทบจะเป็นกรณีชราภาพ บำเหน็จ/บำนาญเราอาจจะได้น้อยลง โดยต้องดูเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 

3. ฟรีแลนซ์ แรงงานนอกระบบ ประกันสังคมมาตรา 40 (สมัครใจ)

"ฉบับ Freelance เข้าร่วมโดยสมัครใจ"

- คุณสมบัติของผู้ประกันตน อายุ 15-60 ปี และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 และ 39
มี 3 แพคเกจเลือกได้ตามนี้เลยครับ

แพคเกจที่ 1 : 70 บาทต่อเดือน

• กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรับค่าทดแทนขาดรายได้ รับสิทธิ ผู้ป่วยในและนอกรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี

- ผู้ป่วยใน วันละ 300 บาท 
- ผู้ป่วยนอก หยุดเกิน 3 วัน ชดเชยวันละ 200 บาท / หยุดไม่เกิน 3 วัน ชดเชยวันละ 50 บาท
• กรณีทุพพลภาพ รับค่าทดแทนขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
- ได้รับค่าทดแทนรายเดือน 500-1,000 บาท (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบ)
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท
• กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท ถ้าจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิตได้รับเงินเพิ่ม 3,000 บาท
แพคเกจที่ 2 : 100 บาทต่อเดือน

• กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรับค่าทดแทนขาดรายได้ รับสิทธิ ผู้ป่วยในและนอกรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
- ผู้ป่วยใน วันละ 300 บาท 
- ผู้ป่วยนอก หยุดเกิน 3 วัน ชดเชยวันละ 200 บาท / หยุดไม่เกิน 3 วัน ชดเชยวันละ 50 บาท
• กรณีทุพพลภาพ รับค่าทดแทนขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
- ได้รับค่าทดแทนรายเดือน 500-1,000 บาท (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบ)
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท
• กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท ถ้าจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิตได้รับเงินเพิ่ม 3,000 บาท
• กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล 50 บาท x จำนวนเดือนที่ส่ง x ดอกเบี้ยรายปี (ต้องรอติดตามประกาศนะครับ)
แพคเกจที่ 3 : 300 บาทต่อเดือน

• กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรับค่าทดแทนขาดรายได้ รับสิทธิ ผู้ป่วยในและนอกรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
- ผู้ป่วยใน วันละ 300 บาท 
- ผู้ป่วยนอก หยุดเกิน 3 วัน ชดเชยวันละ 200 บาท / หยุดไม่เกิน 3 วัน ชดเชยวันละ 50 บาท
• กรณีทุพพลภาพ รับค่าทดแทนขาดรายได้ตลอดชีวิต
- ได้รับค่าทดแทนรายเดือน 500-1,000 บาท (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบ)
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท
• กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท 
• กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล 150 บาท x จำนวนเดือนที่ส่ง x ดอกเบี้ยรายปี (ต้องรอติดตามประกาศนะครับ)
• กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร โดยรับเงินรายเดือนตั้งแต่เด็กแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท ได้ครั้งละไม่เกิน 2 คน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :สำนักงานประกันสังคมPage FacebookFriendnancial

 

stock2morrow

ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0