โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สายธรรมชาติต้องชอบ! 9 ชนิดต้นไม้ฟอกอากาศ ยิ่งปลูกในบ้านยิ่งเริ่ด #เฟรชมากค่ะ

SistaCafe

อัพเดต 12 ก.ค. 2561 เวลา 03.47 น. • เผยแพร่ 11 ก.ค. 2561 เวลา 09.43 น. • siri_cactas

ไม่ต้องออกไปเผชิญกับแดดร้อน ๆ หรือฝนตกฉ่ำแฉะ คุณก็สามารถนั่งจิบชากาแฟท่ามกลางอากาศที่บริสุทธิ์สดชื่นได้ ด้วยการปลูกต้นไม้ที่ช่วยในการดูดซับสารพิษ แหม! ปอดดีแถมสบายตาสบายใจแบบนี้ มีสายพันธ์ุไหนกันบ้างนั้น เราไปดูพร้อมกันเล้ยยยย

1. ลิ้นมังกร ( Barberton Daisy )

ใครที่ชื่นชอบพันธุ์ไม้รูปทรงเป็นพุ่มใบแหลมยาวแบบนี้ " ต้นลิ้นมังกร " เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะไม่เพียงแค่เหมาะแก่การปลูกภายในบ้าน แต่ต้นลิ้นมังกรนี่ยังเป็นต้นไม้ที่ชอบคายออกซิเจนในเวลากลางคืนไปพร้อม ๆ กับดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ มีประโยชน์สองต่อแบบนี้ เห็นทีต้องหามาปลูกไว้ให้เต็มบ้านเสียแล้ว

2. ว่านหางจระเข้ ( Aloe Vera )

แม้ว่าว่านหางจระเข้จะขึ้นชื่อลือชาเรื่องพลังแห่งคุณค่ากว่าล้านแปดอย่าง แต่เชื่อเถอะ!! น้อยคนนักที่จะปลูกว่านหางจระเข้ไว้ในกระถางแล้วตั้งไว้ภายในตัวบ้าน งานนี้ขอบอกเลยว่ารู้แล้วต้องลอง ไม่เพียงแค่สรรพคุณในการดูแลผิวพรรณ พอกหน้า พอกตัว กินเสริมสุขภาพแล้ว ว่านหางจระเข้ยังมีส่วนช่วยในการดูดซับสารพิษที่ลอยปะปนอยู่ในอากาศ อยากให้สภาพแวดล้อมภายในบ้านของคุณสดชื่น ก็จัดว่านหางจระเข้สักกระถางสองกระถางไปเล้ยยยย

3. พลูด่าง ( Golden Pothos )

เรียกว่าเป็นไม้เลื้อยที่อยุู่คู่คนไทยมานานแสนนาน แถมเรื่องความทนทานต่อสภาพอากาศ รวมไปถึงวิธีการดูแลยังง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก การปลูกพลูด่างให้เลื้อยไปตามกำแพงบริเวณที่เป็นจุดพักผ่อนของครอบครัว ไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มสีเขียวดูสดชื่นสบายตา แต่ยังสบายใจได้ว่าพลูด่างจะช่วยกรองอากาศในบ้านของคุณให้ปราศจากสารพิษอย่างแน่นอน

4. วาสนา ( Janet Craig )

แค่ชื่อก็ชนะใจไปกว่าครึ่ง สังเกตได้ว่าบ้านไทยหลาย ๆ หลังนิยมชมชอบการปลูกต้นวาสนากันเป็นอย่างมาก แต่ไม่ใช่แค่ปลูกไว้นอกบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลเท่านั้น วาสนายังสามารถปลูกในบ้านเพื่อช่วยฟอกอากาศให้ปราศจากสารพิษได้อีกด้วย ไม้ยืนต้นอยู่ทนอยู่นานแบบนี้ รีบไปหามาติดบ้านด่วน ๆ เล้ย

5. ปาล์มสิบสองปันนา ( Dwart Date Palm )

การเลือกพืชสายพันธุ์ที่มีใบแผ่กระจายวงกว้างแบบตระกูลปาล์ม อย่างปาล์มสิบสองปันนามาปลูกไว้ในบ้าน ไม่เพียงแค่ช่วยดูดซับสารพิษในอากาศ แต่ด้วยรูปทรงที่ดูดีมีดีเทลแม้จะไร้ดอก ทำให้ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาต้นไม้เพื่อตกแต่งในส่วนที่เป็นพื้นที่ลานกว้าง ช่วยให้บ้านของคุณดูมีกิมมิกเล็ก ๆ แถมต้นปาล์มสิบสองปันนานี้ยังแข็งแรงทนทาน แม้จะปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดน้อยก็ตาม

6. บอสตันเฟิร์น ( Boston Fern )

ใครชื่นชอบเฟิร์นสไตล์พวงระย้า บอสตันเฟิร์นคือตัวเลือกลำดับต้น ๆ ที่คุณไม่ควรมองข้าม แม้ว่าการดูแลต้นเฟิร์นประเภทนี้จะต้องหมั่นรดน้ำให้พืชยังคงความชุ่มอุ้มน้ำอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนสีของใบจากเขียวเป็นน้ำตาลแห้งเหี่ยว แต่ด้วยความสวยงามแบบไม่ต้องเสริมเติมแต่ง บวกกับคุณสมบัติในการดูดสารพิษในอากาศได้ดีของต้นเฟิร์น ก็น่าจะทำให้คุณกดไลก์ได้ไม่ยากเลยนะ

7. เดหลี ( Peace Lily )

ใครมีหัวใจขาวใสสะอาดอย่าพลาดดอกเดหลี ไม่เพียงแค่ดอกไม้สีขาวที่กลีบดอกเรียงตัวได้สวยตัดกับสีเขียวมันวาว ช่วยให้บ้านของคุณดูสดชื่นสบายตา แต่ดอกเดหลียังมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องการคายความชื้นไปพร้อม ๆ กับการดูดซับสารพิษ ช่วยให้อาการในบ้านของคุณดีงามขึ้นอีกเยอะเลย

8. เยอบีรา ( Barberton Daisy )

ขอเอาใจคนชอบสีสันของไม้ดอกกันบ้างจ้า  เยอบีร่าคือลิสต์รายชื่อแรก ๆ ที่เหมาะแก่การปลูกภายในบ้านแบบสุด ๆ หรือถ้าใครอยากปลูกเอาไว้ในสวนนอกบ้าน ก็สามารถตัดดอกมาปักแจกันได้ ด้วยความคงทนระดับสิบของเยอบีร่า จะช่วยให้บ้านของคุณโอบล้อมไปด้วยสีสันนานหลายวันเลยทีเดียว แถมไม้ดอกชนิดนี้ยังช่วยกรองอากาศไม่ให้มีมลพิษปะปนอีกด้วยนะ

9. เบญจมาศ ( Chrysanthemum )

ตบท้ายกันด้วยไม้ดอกสีสันคัลเลอร์ฟูลสดใสอย่างดอกเบญจมาศ แม้ว่าจะเป็นพืชไม้ล้มลุกที่ดูไม่ทนต่อสภาพอากาศ แต่การนำมาปลูกไว้ภายในบ้านกลับสร้างความสดชื่นเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว แถมยังเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งการดูดซับสารพิษในอากาศอีกด้วยนะ

ใครว่าอยากสูดอากาศสดชื่น ตื่นตาตื่นใจไปกับดอกไม้ใบไม้จะต้องออกไปตามสวนสาธารณะนอกบ้าน เพราะเพียงแค่คุณปลูกต้นไม้เหล่านี้ อากาศดี ๆ ก็ย้ายมาอยู่ในบ้านคุณแล้ว ใครที่ชอบบรรยากาศแบบธรรมชาติ เฟรชแบบไม่ต้องพึ่งเครื่องฟอกอากาศล่ะก็ มาปลูกกันเถอะค่ะ 

ติดตามบทความใหม่ๆได้ที่ SistaCafe Facebook
SistaCafe เว็บไซต์รวบรวมบทความสำหรับผู้หญิง https://sistacafe.com
♥ ดาวน์โหลด App SistaCafe ฟรีได้แล้ววันนี้! ♥
iOS : AppStore
Android : PlayStore

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0