โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สัญญาณอันตราย! 1 วันน้ำแข็งละลายที่กรีนแลนด์ 2 พันล้านตัน

WWF-Thailand

เผยแพร่ 21 ก.ค. 2562 เวลา 17.01 น.

 

นับเลข 0 กันให้แม่น ๆ ล่าสุด สำนักข่าว CNN รายงานว่า วันนี้อัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็งที่กรีนแลนด์สูงถึงหลัก "พันล้าน" ตัน ต่อวัน! 

หากย้อนกลับไปเมื่อ 4 ทศวรรษที่แล้ว เราจะพบว่า วันนี้อัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกสูงกว่าตัวเลขในอดีตถึง 6 เท่า ปรากฎการณ์นี้ทำให้ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 8 ปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นที่กรีนแลนด์? 

"ปรากฏการณ์นี้เป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติ" โทมัส โมเทอ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยจอร์เจีย สหรัฐอเมริกากล่าว และบอกว่า สาเหตุของแผ่นน้ำแข็งละลายเฉียบพลันครั้งนี้ เกิดจากความกดอากาศสูง พัดอากาศอุ่น และชื้นจากแอตแลนติกตอนกลางเข้าสู่กรีนแลนด์ ทำให้พื้นที่บริเวณแผ่นน้ำแข็งมีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้ ความกดอากาศสูงยังทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แผ่นน้ำแข็งจึงดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์มากกว่าปกติ 

“2019 อาจเป็นปีที่น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายมากสุดในประวัติการณ์” เจสัน บ็อกส์ นักอุตุนิยมวิทยา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผ่นน้ำแข็งกล่าว หากแผ่นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกา และกรีนแลนด์ละลายจนหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกว่า 200 ฟุต นั่นเท่ากับว่าเมืองฟลอริดาจะจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมด 

องค์การ NASA สร้างเครื่องมือผ่านระบบออนไลน์ โดยดึงข้อมูลดาวเทียมให้สามารถตรวจสอบ และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลได้  หากท่านใดสนใจศึกษาข้อมูลเชิงลึก สามารถกดเข้าไปที่ลิงค์  https://sealevel.nasa.gov

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0