โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สทนช.ย้ำเกษตรกรต้องมีวินัยในการใช้น้ำ-เฝ้าระวังจุดเสี่ยงฝนหนัก 7 จังหวัดใต้

JS100

อัพเดต 17 ต.ค. 2562 เวลา 08.28 น. • เผยแพร่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 08.26 น. • JS100:จส.100
สทนช.ย้ำเกษตรกรต้องมีวินัยในการใช้น้ำ-เฝ้าระวังจุดเสี่ยงฝนหนัก 7 จังหวัดใต้
สทนช.ย้ำเกษตรกรต้องมีวินัยในการใช้น้ำ-เฝ้าระวังจุดเสี่ยงฝนหนัก 7 จังหวัดใต้

          ปัญหาน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีน้ำน้อย เป็นปัญหาสำคัญที่ในวันนี้ที่ประชุมสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประชุมหาแนวทางแก้ไขรับสถานการณ์ภัยแล้ง นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสทนช. สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและจัดทำแผนแจ้งมาว่าแต่ละพื้นที่จะจัดสรรน้ำให้เกษตรกรในการทำการเกษตรอย่างไร เพื่อจะนำข้อมูลมาประชุมวันที่ 20 ตุลาคม และเสนอแนวทางให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา และจะพูดคุยกับเกษตรกรเรื่องการประหยัดน้ำ เช่น เกษตรกรในบางพื้นที่ที่ขุดน้ำบาดาลใช้อยู่แล้ว ก็ให้ใช้น้ำในส่วนนั้นด้วย

          สถานการณ์น้ำในเขื่อน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นต้นมา บางพื้นที่มีฝนตกน้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 6 แห่ง มีปริมาณน้ำแต่ละอ่างน้อยกว่าร้อยละ 30 และขนาดกลางอีกกว่า 50แห่ง มีน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ทำให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ

          ส่วนน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค การประปาส่วนภูมิภาค ได้จัดทำแผนป้องกันในจังหวัดเสี่ยงแล้ว เช่น การขยายร่องน้ำให้น้ำไหลมาที่จุดสูบ การเจาะบ่อบาดาล การเพิ่มบ่อพักน้ำดิบ หรือการซื้อน้ำจากเอกชนหรือแหล่งอื่นๆ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการว่าหากพื้นที่ใดมีฝนตกมากให้เก็บกักน้ำในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อนำน้ำมาใช้ในฤดูแล้ง แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี และต้องมีวินัยในการใช้น้ำมากขึ้น 

          ในพื้นที่ภาคใต้ มีคำเตือนให้ระวังจุดเสี่ยงที่มีฝนตกหนัก ช่วงวันที่17-19 ตุลาคม เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีฝนตกตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป แต่สถานการณ์ยังไม่น่ากังวลเพราะฝนเริ่มลดลงแต่จะตกหนักอีกครั้งประมาณช่วงปลายเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายน ในสัปดาห์หน้าจะมีการพยากรณ์อากาศให้ชัดเจนมากขึ้น หากมีพายุ กรมอุตุนิยมวิทยาจะแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า 7 วัน แต่ตามปกติแล้ว ช่วงนั้นจะมีฝนตกหนักตามฤดูกาล ทำให้ต้องเฝ้าระวังและจับตาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากหรือพื้นที่เคยเกิดน้ำท่วม ใน 7 จังหวัด 37 อำเภอ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดนราธิวาส สทนช.แจ้งข้อมูลให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามาประจำจุดแล้ว รวมถึงแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางในเส้นทางน้ำและปรับปรุงอาคารชลประทานให้มีความแข็งแรงด้วย แม้ขณะนี้จะยังไม่มีการแจ้งเตือน มีเพียงพื้นที่เฝ้าระวัง แต่เพื่อความไม่ประมาท จะต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อน โดยปลายเดือนตุลาคมนี้จะเดินทางลงใต้ติดตามสถานการณ์อีกครั้ง

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0