โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สถาปัตยกรรมสีเขียว โจทย์ใหญ่ของคนเมืองกรุง

ADVERTORIAL

เผยแพร่ 26 มิ.ย. 2562 เวลา 17.00 น. • ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

สถาปนิกชาวดัตช์ ชื่อดังระดับโลก จาก MVRDV ย้ำแนวคิดออกแบบสถาปัตยกรรม แก้ปัญหาเมืองขยายตัวเร็ว สวนทางทรัพยากรที่จำกัด ชี้เป็นปัญหาของเมืองใหญ่ทั่วโลก แนะกรุงเทพฯ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ผสมผสานคน ธรรมชาติ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืนในอนาคต 

คุณคิดหรือไม่ว่าการออกแบบสถาปัตยกรรม และการวางผังเมือง เกี่ยวข้อง และมีบทบาทต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนได้อย่างไร  

ในปัจจุบัน แนวคิดการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาต่อการขยายตัวของจำนวนประชากรในเมืองใหญ่ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาอันซับซ้อน ทั้งมลภาวะเป็นพิษ สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป บวกกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับทรัพยากรที่ลดลง นำมาสู่การแก้ปัญหาเชิงสถาปัตยกรรม เพื่อสร้างสมดุลของการอยู่ร่วมกันระหว่างคน กับสภาพแวดล้อม ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของทุกสังคมเมืองทั่วโลก

เวทีสัมมนาระดับนานาชาติ “WATS Forum 2019” ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ได้หยิบยกปัญหาของเมืองใหญ่ ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานคร หนึ่งในเมืองที่เติบโตเร็วที่สุด และมีปัญหามลพิษมากแห่งหนึ่งของโลก ผ่านการถ่ายทอดของวิทยากรแถวหน้า “มร. สเตฟาน เดอ โคนิง” สถาปนิกชาวดัตช์ ที่มากด้วยฝีมือและความสามารถจาก MVRDV มาแสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืน” 

MVRDV สำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองชื่อดังระดับโลก จากประเทศเนเธอแลนด์ ที่ยึดหลักปฏิบัติและมีแนวคิดที่เปิดกว้างไปทั่วโลก โดยเฉพาะการคิดหาแนวทางแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมและเมืองในยุคปัจจุบัน เพื่อประโยชน์แก่โลกอนาคต ผู้นำ Innovation เข้ามาผสมผสานในงานออกแบบเพื่อยกระดับสภาพความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) คำนึงถึงความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน แต่ยังคงความสวยงามร่วมสมัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับประชากรในเมืองใหญ่ จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับงานด้านสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เช่นเดียวกับเมืองใหญ่ทั่วโลก ทุกวันนี้เมืองหลวงของประเทศไทย “กรุงเทพมหานคร” ก็ต้องเผชิญกับปัญหาที่ไม่แตกต่างกัน จากการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น เกิดความเหลื่อมล้ำ สิ่งที่ตามมาคือปัญหามลพิษ น้ำท่วม และการจราจรที่แออัด กลายเป็นโจทย์ท้าทายในการเพิ่มที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในสังคมเมือง และการผสมผสาน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน

จากการศึกษา เขาพบว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยซอยเล็ก ซอยน้อย รวมพื้นที่กว่า 10,000 กิโลเมตร กระจายอยู่ทั้งในย่านที่อยู่อาศัย ที่ตั้งธุรกิจ และสังคมแบบดั้งเดิม ทั้งยังเป็นเมืองที่มีลำคลองขนาดเล็กจำนวนมาก เชื่อมต่อกันเป็นวงจรขนาดใหญ่ โดยมีพื้นที่ติดทั้งแม่น้ำ และทะเล ทั้งยังมีรถไฟฟ้าสายต่างๆ รถประจำทาง และรถยนต์อีกมหาศาลบนท้องถนน ด้วยอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 150,000 คัน ทำให้มหานครแห่งนี้ ติดอันดับเมืองที่มีความแออัดบนท้องถนนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก

สิ่งที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาประเด็นนี้ เกิดขึ้นที่กรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ ที่ต้องเผชิญกับปัญหารถติด และความแออัดบนท้องถนน หลายปีที่ผ่านมา กรุงโซลแก้ปัญหาโดยมุ่งพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองให้เกิดประสิทธิภาพ ส่งผลให้คนใช้รถน้อยลง มีการสร้างพื้นที่การเชื่อมต่อให้ผู้คนสามารถเดินเท้าได้ทั่วเมือง การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างตรงจุดและยั่งยืน

ในมุมมองของสถาปนิก เขามองว่า การแก้ปัญหาด้านสถาปัตยกรรมของเมืองใหญ่ คือ การสร้างพื้นที่สำหรับทุกฝ่าย และวางแผนอย่างครอบคลุม เข้าใจถึงบริบทสังคม และภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันไป

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ โครงการมิกซ์ยูสใจกลางกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หนึ่งในผลงานของ MVRDV ที่ผสมผสานพื้นที่การอยู่ร่วมกัน ทั้งที่พักอาศัย สำนักงาน พื้นที่เชิงพาณิชย์ และพื้นที่สาธารณะที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่สีเขียว ท่ามกลางความหนาแน่นของชุมชนเมืองที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เขาแนะว่า วันนี้กรุงเทพฯ จำเป็นต้องสร้าง “พื้นที่สีเขียว” ให้เกิดขึ้นในชุมชนเมือง โดยมี “บางกระเจ้า” เกาะพื้นที่ครอบคลุม 16 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเปรียบเสมือน “ป่าในเมือง” ถือเป็นโมเดลต้นแบบ และเป็นสิ่งที่เมืองขนาดใหญ่แห่งนี้ต้องการ โดยอาจจะเริ่มต้นจากการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสวนสาธารณะ 50 แห่งในกรุงเทพฯ ให้สามารถตอบโจทย์การอยู่ร่วมกันของเมือง และธรรมชาติ สร้าง “สถาปัตยกรรมสีเขียว” ให้กระจายตัวในทุกพื้นที่ และเชื่อมต่อกับระบบคมนาคมขนส่งที่หลากหลาย

“เราอยากเห็นกรุงเทพฯ ที่มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวได้ดี มีการวางแผนการเติบโตในอนาคต การใช้พื้นที่อย่างผสมผสาน นำสู่การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืนในอนาคต”

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการผสมผสานระหว่าง การออกแบบสถาปัตยกรรม ที่มุ่งแก้ปัญหา การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อสร้างการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งบนโลก ที่มีความสุขอย่างเป็นรูปธรรม

###

สามารถรับชมการเสวนา WATS Forum 2019 ฉบับเต็มได้ที่

RISC introduction 

Keynote speakers 

Panel Discussion “Well-being Today and Tomorrow”

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0