โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

"ศักดิ์สยาม" ยกระดับสยบฝุ่น PM2.5 สั่งศึกษาเก็บภาษีมลพิษ

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 24 ม.ค. 2563 เวลา 16.05 น. • เผยแพร่ 24 ม.ค. 2563 เวลา 13.45 น.
83179876_175567407125551_3548682931222347776_n

“ศักดิ์สยาม”ล้อมคอก PM2.5 ระดมสมองทุกหน่วยงานสรุปเป็นแผน 3 ระยะ “สั้น-กลาง-ยาว” ตั้งศูนย์ใหญ่ฯ มีปลัดเป็นประธาน สั่ง”ขนส่ง”ศึกษาโมเดลเก็บภาษีมลพิษ-ค่าธรรมเนียมรถติดใน 1 เดือน คาดถึงหน้าฝนทุกอย่างจะดีขึ้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผลจากมติที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการกระทรวงคมนาคม ให้จัดหาเครื่องตรวจวัดควันดำแบบทึบแสง ซึ่งได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินการแล้ว และได้ให้ ขบ. กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพิ่มความเข้มข้นในการตั้งด่านตรวจจับรถควันดำให้ครบ 50 จุดทั่ว กรุงเทพมหาคร (กทม.) จากการประชุมหน่วยงานภายในกระทรวงในวันนี้ (24 ม.ค.) ได้ยกระดับการตรวจควันดำจาก กทม. ไปสู่การตรวจจับควันดำทั่วประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้นทาง พร้อมกันนี้ ยังมีข้อเสนอแนะจาก กก.วล.ให้พิจารณา เช่น การตรวจยานพาหนะของแต่ละหน่วยว่ามีควันดำหรือไม่ หรือการใช้มาตรการทำงานเหลื่อมเวลา เป็นต้น ซึ่งอยู่ระหว่างให้แต่ละหน่วยไปตรวจสอบ วัดควันดำแล้ว 6 หมื่นคัน   นอกจากนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รายงานภาพรวมการตรวจควันดำรถยนต์ให้ทราบตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562 – 22 ม.ค. 2563 ขบ.ได้ตรวจสภาพรถยนต์ไปแล้ว 57,979 คัน พบควันดำ 1,087 คัน ได้พ่นเครื่องหมายห้ามใช้รถยนต์ดังกล่าวไปแล้ว จะต้องนำรถไปแก้ไขและนำมาตรวจสภาพใหม่ หากยังนำรถที่ถูกพ่นเครื่องหมายมาใช้ จะมีโทษปรับ 50,000 บาท ในที่นี้จะเน้นหนักไปที่รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะ ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลอยู่ภายใต้พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) 2562 มี สตช. เป็นผู้กำกับดูแล ส่วนมาตรการของแต่ละหน่วย ตนจะเน้นไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณะ เช่น ขสมก. บขส. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) อู่รถเมล์ และอู่รถแท็กซี่ ในการประสาน ขบ. เข้าไปดำเนินการตรวจรถที่มีควันดำ อีกหน่วยหนึ่งที่ต้องดูแลคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในการตรวจสอบหัวรถจักรดีเซลที่มีอยู่ ให้ปรับมาใช้หัวรถจักรที่ไม่สร้างปัญหา แม้มีแผนจัดซื้อ แต่ก็ให้ลองสำรวจหัวรถจักรที่มีว่า สามารถนำมาใช้โดยไม่เกิดภาวะสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ และให้ชำระล้างไส้กรองต่างๆ ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้รับคำสั่งไปแล้ว เปิดแผน 3 ระยะ สยบฝุ่น   นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติแก้ไขปัญหา PM2.5 มอบหมายนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ก่อตั้ง ให้นายชยธรรม์ พรหมศร ผอ.สนข.เป็นเลขานุการ สำหรับหน้าที่ของศูนย์นี้จะต้องรายงานการปฏิบัติงานของของหน่วยในทุกวัน และผลงานปฏิบัติสะสม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับแผนต่อไป พร้อมกันนี้ สนข.ยังได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหา PM2.5 ในส่วนของกระทรวงคมนาคม แบ่งเป็นระยะสั้น (‪2563-2564‬) ประกอบด้วย 1. บำรุงรักษาเครื่องยนต์ ตรวจสภาพรถของหน่วยงานทุกเดือน , รถโดยสารของ ขสมก. และ บขส.,เรือโดยสารสาธารณะ ส่วนยานพาหนะและเครื่องจักรก่อสร้างของผู้รับเหมา ให้กรมทางหลวง (ทล.), กรมทางหลวงชนบท (ทช.) , ร.ฟ.ท. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกันกวดขัน 2. ปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ให้ทั้งรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ และเรือโดยสารสาธารณะหันมาใช้น้ำมันดีเซลชนิด B20) 3. ร่วมกันแก้ปัญหารถติด (ทั้งหน้าด่านทางด่วน , การบริหารจราจรภายในท่าเรือคลองเตย, ปรับเวลาให้รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไปวิ่งเข้าเมืองในช่วงที่มีค่า PM2.5 เกิน 100 รวมถึงห้ามรถบรรทุกดีเซลเข้าพื้นที่ชั้นใน และ 4. มาตรการลดฝุ่น ให้ ทล., ทช, กทพ. ปล่อยละอองน้ำดักฝุ่น , สั่งการให้ผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างต่างๆฉีดน้ำ ทำความสะอาดไซต์งานทุกครั้ง และให้ศึกษาแนวทางการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อรถที่ใช้พลังงานสะอาดราคาถูกลง ศึกษาภาษีมลพิษ ระยะกลาง (‪2565-2569‬) ประกอบด้วย 1.ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (เร่งก่อสร้างรถไฟฟ้า-เพิ่มจุดจอดแล้วจร-เร่งระบบตั๋วร่วม) 2. เปลี่ยนเครื่องขนต์เป็นพลังงานสะอาด (รถสาธารณะใช้ NGV-EV / แท็กซี่-สามล้อใช้ EV / เรือโดยสารใช้ EV / รถส่วนบุคคลของราชการใช้ NGV-EV) 3. มาตรการภาษี (ศึกษาภาษีมลพิษ-ปรับภาษีรถ EV) 4. จำกัดการใช้รถเก่า (ภาษีรถเก่า) 5. นโยบายสวัสดิการ (Shutter Bus รับส่งจากหน่วยราชการถึงระบบรถไฟฟ้า – บัตรโดยสารราคาถูก – ติดตั้งจุดชาร์จพลังงานรถ EV ในหน่วยงานราชการ) ซึ่งโมเดลภาษีต่างๆให้ ขบ.ศึกษาและสรุปมารายงานภายใน 30 วัน และระยะยาว (‪2570-2575‬) ประกอบด้วย 1. บังคับใช้มาตรการทางภาษี (ภาษีมลพิษ-ภาษีรถเก่า-ค่าธรรมเนียมรถติด-มาตรการจูงใจด้านการท่องเที่ยว) 2.ห้ามรถบรรทุกใหญ่เข้าเมือง (เปลี่ยนท่าเรือคลองเตยเป็น Port City) และ 3. จำกัดการใช้เครื่องยนต์ดีเซล (ห้ามใช้ในกทม.) นอกจากนี้ นายศักดิ์สยามยังระบุว่า กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้เสนอว่า จะเจรจากับ รฟม.เจ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เพื่อให้มีการลดราคาค่าจอดรถบริเวณจุดจอดแล้วจร (Park and Ride ) ลง 50% และให้ศูนย์ MOT Your Social ที่มีปลัดกระทรวงเป็นผู้ดูแลในการทำความเข้าใจกับประชาชน “สำหรับมาตรการระยะสั้นจะดำเนินการไปจนถึงเดือน ก.ค. – ส.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนพอดี น่าจะทำให้ปัญหานี้ลดลง แต่จะใช้โมเดลเดียวกับการลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลมาใช้เป็นตัวกำกับดูแลใหเประสบความสำเร็จ ส่วนแผนระยะกลาง-ยาว จะรายงานไปที่ศูนย์แก้ไขปัญหาที่มีปลัดเป็นประธานต่อไป” นายศักดิ์สยามกล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0