โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

วิเคราะห์สูตรจัดตั้งรัฐบาลของขั้วการเมือง

Thai PBS

อัพเดต 19 มี.ค. 2562 เวลา 10.25 น. • เผยแพร่ 19 มี.ค. 2562 เวลา 10.25 น. • Thai PBS
วิเคราะห์สูตรจัดตั้งรัฐบาลของขั้วการเมือง

ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการวิเคราะห์กันว่าสนามเลือกตั้งครั้งนี้บัญญัติคำนิยามในบรรยากาศการหาเสียงของขั้วการเมืองว่า 3 ก๊ก นั่นเพราะว่ามีพรรคการเมืองที่ถูกจับตาอยู่ 3 พรรคการเมือง คือ พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย พิเคราะห์กันที่จุดยืนของแต่ละพรรคการเมืองก็จะเห็นถึงหลักการสำคัญ แต่ก็จะเห็นช่องว่างที่เตรียมถอยหลังก้าวหนึ่งอยู่ด้วย นี่จึงเป็นที่มาของสูตรจัดตั้งรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ

สูตร 1
สูตร 1

สูตร 1

สูตรแรก ตั้งประเด็นไว้ที่ "พลังประชารัฐ" ชนะเลือกตั้งและมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่ระบบการเลือกตั้งและกลไกของกฎหมายครั้งนี้ไม่มีผลลัพธ์ทางการเมืองให้พรรคใดคว้าชัยชนะในสนามเลือกตั้งด้วยเสียงท่วมท้น จึงเป็นไปได้ว่าพลังประชารัฐจะต้องดึงพรรคการเมืองอันดับ 2 หรืออันดับ 3 เข้ามาร่วมรัฐบาลด้วย

สูตรนี้ตั้งสมมุติฐานไว้ที่การดึง "ประชาธิปัตย์" เข้ามาร่วมรัฐบาลผสม พร้อมๆ กับพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีแนวทางเดียวกันอย่าง ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา ชาติพัฒา ร่วมพลังประชาชาติไทย และประชาชนปฏิรูป

สูตร 2
สูตร 2

สูตร 2

สูตรที่ 2 ลองให้ "ประชาธิปัตย์" เป็นพรรคเสียงข้างมาก ถ้าเจรจาทางการเมืองตกลงกันได้ ก็น่าจะดึงพลังประชารัฐเข้ามาร่วม และพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็จะมาในโทนเดียวกันอย่าง ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา ชาติพัฒนา และรวมพลังประชาชาติไทย แต่อาจไม่มีประชาชนปฏิรูป

สูตร 3
สูตร 3

สูตร 3

แต่ก็เป็นไปได้ว่าสูตรที่ 3 อาจจะเกิดขึ้น เมื่อ "ประชาธิปัตย์" ชนะเลือกตั้ง อาจจะดึง "เพื่อไทย" และพลพรรคของเพื่อไทยเข้ามาร่วมด้วย เพราะช่วงหลังๆ ดูจะมีแนวทางพ้องกันคล้ายว่าจะเดินไปด้วยกันได้ แค่ปรับเงื่อนไขให้เข้ากัน และถ้าเป็นสูตรนี้ก็อาจจะเพิ่ม "อนาคตใหม่" เข้ามาด้วย

สูตร 4
สูตร 4

สูตร 4

แต่ถ้าเป็นกรณีของ "เพื่อไทย" ชนะเลือกตั้ง เรียกว่าสูตรที่ 4 พรรคในตระกูล "เพื่อ" ชักแถว จับมือกัน โดยปราศจาคเงื่อนไขอย่างแน่นอน ตั้งแต่ "อนาคตใหม่-ชาติไทยพัฒนา-ชาติพัฒนา" แล้ว ก็จะมี "เพื่อชาติ-ประชาชาติ-เสรีรวมไทย" แต่สูตรนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวเลขอีกว่าจะต้องดึง "ภูมิใจไทย" มาพยุงเสถียรภาพหรือไม่

สูตร 5
สูตร 5

สูตร 5

และสูตรที่ 5 สูตรสุดท้ายที่กลัวกันเรื่องเสียงปริ่มร้อย ถ้าเสียงออกมาแบบนี้ จังหวะนี้คงต้องเป็นจังหวะของ "พลังประชารัฐ" ช่วงชิงสถานะพรรคการเมืองแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอย่างแน่นอน คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะผลักพรรคในตระกูลเพื่อ ไปเป็นฝ่ายค้าน หรือพรรคประชาธิปัตย์ไปเป็นฝ่ายค้าน แต่คาดว่าน่าจะเป็นอย่างแรกมากกว่า

สำหรับเงื่อนไขที่ว่าผลลัพธ์ของการเลือกตั้งไม่ทำให้พรรคการเมืองไหนชนะในเขตการเลือกตั้งครั้งนี้ในแบบท่วมท้นได้ ก็เพราะระบบจัดสรรปันส่วนผสม ซึ่งมีทฤษฎีของการคิดคำนวณเก้าอี้ ส.ส.แบบ "พึงมี-พึงได้" เกิดขึ้น ซึ่งแบบนี้อาจเข้าข่ายเฉลี่ยกันในสภาผู้แทนราษฎร 500 เก้าอี้ จะต้องได้กันทุกพรรคการเมืองที่ลงในสนามเลือกตั้ง แต่สูตรของการจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสียงของผลการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยแวดล้อมในการจัดตั้งรัฐบาลด้วย

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0