โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"วิษณุ" แจง "พ.ร.ก.โอนย้ายบางส่วนกองทัพ" เป็นเรื่องของรัฐบาล เตือนใครพูดเฉี่ยวไปมารับผิดชอบเอง!

NATIONTV

อัพเดต 18 ต.ค. 2562 เวลา 01.01 น. • เผยแพร่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 22.30 น. • ณัฐภัทร พรหมแก้ว
วิษณุ แจง พ.ร.ก.โอนย้ายบางส่วนกองทัพ เป็นเรื่องของรัฐบาล เตือนใครพูดเฉี่ยวไปมารับผิดชอบเอง!
วิษณุ แจง พ.ร.ก.โอนย้ายบางส่วนกองทัพ เป็นเรื่องของรัฐบาล เตือนใครพูดเฉี่ยวไปมารับผิดชอบเอง!

"วิษณุ" เผย ไม่แปลก มีคนโหวตไม่เห็นด้วย พ.ร.ก.โอนย้ายอัตรากำลัง-งบฯ บางส่วนกองทัพ ยัน เป็นเรื่องรบ. ไม่เกี่ยวในวัง ใครพูดเฉี่ยวไปมา รับผิดชอบเอง ยัน "รมต." เป็น "ส.ส." โหวต "กม.งบฯ" ได้

เมื่อวันที่ 17 ต.ค.62 เวลา 16.00 น. ที่รัฐสภา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ.2562 ซึ่งปรากฏว่า มีผู้ลงมติไม่เห็นชอบ 70 เสียง โดยมาจากพรรคอนาคตใหม่ ว่า ไม่มีปัญหา ไม่มีอะไรผิดปกติ ตนไม่ถือว่าผิดปกติ การมีเสียงไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อในสภาฯมีการลงมติ ก็ต้องมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้น จึงไม่เห็นว่าเป็นความแปลกประหลาดอะไร และจะมาเรียกว่าเป็นอะไรเกี่ยวกับในวังคงจะไม่ใช่

เรื่องนี้เป็น พ.ร.ก.ของรัฐบาล อย่างที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่พูดนั้นถูกต้อง รัฐบาลเป็นคนคิด เป็นคนเสนอ และรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เพราะฉะนั้น ถ้า พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาฯ รัฐบาลเป็นคนรับผิดชอบ ต้องลาออกหรือยุบสภา

ผู้สื่อข่าวถามว่า การอภิปรายที่มีการพูดเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา ผู้พูดต้องรับผิดชอบตัวเองใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็รับผิดชอบกันเอง เมื่อถามว่า หลายคนรู้สึกตกใจกับการอภิปรายของนายปิยบุตร นายวิษณุ กล่าวสวนว่า แต่ตนไม่ตกใจ

เมื่อถามถึงกรณีนายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน ระบุว่ารัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.จะลงมติร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ไม่ได้ นายวิษณุ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 เปลี่ยนการเขียนจากปี 2540 และ 2550 โดยสิ้นเชิง โดย ส.ส.สามารถเป็นรัฐมนตรีได้ และไม่ได้เขียนไว้ว่า จะลงมติในเรื่องที่มีผลประโยชน์ขัดกันไม่ได้ และเขียนอีกว่า ตามมาตรา 163 รัฐมนตรีเข้าประชุมสภาได้ แต่ลงมติไม่ได้ ยกเว้นรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. แต่หากใครเห็นว่าลงมติไม่ได้ก็แล้วแต่ ก็ว่าไป ไม่ต้องไปเถียงกัน แต่พอถึงเวลายกมือโหวตเขาก็ยกมือโหวตก่อน ใครเห็นว่าไม่ถูกต้องก็ไปร้องศาลเพื่อวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐาน ไม่ต้องตกใจ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0