โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

วิกฤติ! ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นเท่าตัว

Thai PBS

อัพเดต 18 ม.ค. 2562 เวลา 06.40 น. • เผยแพร่ 18 ม.ค. 2562 เวลา 10.19 น. • Thai PBS
วิกฤติ! ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นเท่าตัว

วันนี้ (18 ม.ค.2562) เวทีเสวนา "วิกฤตความสัมพันธ์ในครอบครัว สู่ฆาตกรรม และความรุนแรง" จัดโดย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ และคณะทำงานปกป้องเด็กและเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยงทางสังคม

นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล บอกว่า ครึ่งเดือนแรกของปี 2562 สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบข่าวเพียง 10 ข่าว แต่ปีนี้พบข่าวความรุนแรงในครอบครัวสูงถึง 28 ข่าว

โดยจำนวนนี้ เป็นข่าวฆ่าคนในครอบครัว 20 ข่าว หรือร้อยละ 71.43 ฆ่าตัวตาย 4 ข่าว ร้อยละ 14.28 และถูกทำร้ายสาหัส 4 ข่าวหรือร้อยละ 14.28 ขณะที่อาวุธที่ใช้พบว่าร้อยละ 45 ปืนเป็นอาวุธ มีด ร้อยละ 30 สาเหตุกว่าร้อยละ 41 มาจากความหึงหวงขอคืนดีไม่สำเร็จ ร้อยละ 19 เมา เสพยา

นอกจากนี้จำนวนผู้เสียชีวิตจากกรณีฆ่ากันในครอบครัว มีผู้เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม จำนวน 29 คนคิดเป็นร้อยละ 87.88 และผู้กระทำความผิดฆ่าตัวตาย 4 คนร้อยละ 12.12 

ทั้งนี้เมื่อจำแนกข่าวการฆ่ากัน พบว่าเป็นความรุนแรงระหว่างสามี-ภรรยา ร้อยละ 50 สามีฆ่าผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 30 ภรรยาฆ่าสามี และภรรยาฆ่าผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 10  นอกจากนี้ยังพบระหว่างพ่อ แม่ ลูก โดยลูกฆ่าพ่อแม่ ร้อยละ 75 พ่อฆ่าลูก ร้อยละ 25 ส่วนระหว่างคู่รักแบบแฟน ฝ่ายชายฆ่าฝ่ายหญิง ร้อยละ 60 ฝ่ายหญิงฆ่าฝ่ายชาย ร้อยละ 20 และการฆ่ากันของคนข้ามเพศ ร้อยละ 20

 

 

ยาเสพติด-สุรา กระตุ้นความรุนแรงพุ่ง

สาเหตุของปัญหาความรุนแรงเมื่อเกิดเหตุและนำไปสู่อาชญากรรม เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเพิกเฉย ขาดการควบคุม บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตำรวจมักเน้นไกล่เกลี่ย ทำให้ผู้ชายไม่หยุดกระทำ ได้ใจ สังคมยังมองความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ตัวกระตุ้นจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ครอบครัวพูดคุยกันน้อยลง อยู่กับโซเชียลมากเกินไป

ทางออกของปัญหา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องจัดตั้งหน่วยงานเฝ้าระวัง ตั้งวอร์รูมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์แต่ละพื้นที่ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อระงับเหตุ และช่วยเหลือได้ทันที

สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาวให้ได้ผลจริง ควรรณรงค์ปรับเปลี่ยนวิธีคิดชายเป็นใหญ่ เคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ทำหลักสูตรตั้งแต่ชั้นเรียนประถม สังคมต้องช่วยกันเฝ้าระวัง คอยจับสัญญาณ แทรกแซง หรือแจ้งเหตุโดยเร่งด่วน

วงเสวนา ยังท้วงติงการนำเสนอข่าวความรุนแรงของสื่อต่างๆ ยังขาดความเข้าใจ บางกรณีกลายเป็นซ้ำเติมทั้งผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ จึงฝากสื่อให้ช่วยตระหนักในการนำเสนอข่าว ให้รอบครอบ อย่าละเมิดสิทธิ

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0