โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

วางแผนการเงินของลูกให้ครบ เจ็บแต่จบปริญญาตรี

HealthyLiving

อัพเดต 01 ส.ค. 2562 เวลา 16.44 น. • เผยแพร่ 01 ส.ค. 2562 เวลา 00.00 น. • Healthy Living
money-plan 600x600.jpg

เขาบอกกันว่ามีลูก 1 คนต้องเจ็บ ต้องจนไปอีก 10 ปี! สารพัดค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเรียน แค่คิดคำนวณคร่าวๆ ก็ทำเอาว่าที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนท้อ พับแพลนคำนวณค่าใช้จ่ายไป เพราะกลัวว่าเห็นแล้วจะ ‘เจ็บ’ ที่หัวใจ
แต่การวางแผนค่าใช้จ่ายเพื่อลูกรักนั้นคือสิ่งจำเป็นสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ โดยเพราะชาวมิลเลนเนียลที่มีแนวโน้มจะ ‘จน’ กว่าคนรุ่นก่อนๆ ด้วยข้าวของที่แพงขึ้นทุกวัน ค่าเทอมของลูกก็แพงขึ้นทุกปี หากเราไม่วางแผนอย่างรอบคอบตั้งแต่ตอนนี้ ในอนาคตจะต้อง ‘เจ็บ’ กว่าเดิมอย่างแน่นอน  
เช็กลิสต์วางแผนการเงินนี้ไม่เพียงแค่ช่วยให้เราเห็นภาพค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้จนลูกโต แต่ยังช่วยให้เราวางแผนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าควรจะเก็บและบริหารเงินให้งอกเงยขึ้นได้อย่างไร โดยไม่ต้องจนไปอีก 10 ปี
คำนวณให้ครบ เจ็บแต่จบปริญญาตรีการวางแผนการเงินสำหรับลูกนั้นต้องเริ่มกันตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง พ่อแม่ยุคใหม่หลายคนมักจะตั้งเป้าหมายตั้งแต่ต้นว่าอยากมีลูกกี่คน อายุห่างกันกี่ปี เพื่อให้ครอบครัวมีสภาพการเงินที่คล่องตัว จากนั้นจึงคำนวณค่าใช้จ่ายที่ควรเตรียมไว้สำหรับลูกแต่ละคน ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไปจนถึงเข้ามหาวิทยาลัย โดยสามารถแบ่งการคำนวณเป็นช่วงวัยอุ้มท้อง วัยก่อนเรียน และวัยเรียน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มองเห็นก้อนค่าใช้จ่ายชัดเจนยิ่งขึ้น
วัยอุ้มท้องต้องพร้อมนะช่วงฝากครรภ์เป็นอีกช่วงเวลาสำคัญที่ครอบครัวควรจะเตรียมเงินก้อนเอาไว้ก่อน เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง คุณแม่อายุไม่ถึง 35 ปี มีค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ที่สามารถซื้อเป็นแพ็กเกจได้ในราคาไม่ถึง 20,000 บาท แต่สำหรับคุณแม่ที่เริ่มมีลูกเมื่ออายุ 35 ขึ้นไป จะต้องมีค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆ อีก เช่นค่าเจาะน้ำคร่ำดูความเสี่ยงดาวน์ซินโดรม ตรวจดูโครโมโซมของลูกในครรภ์ เป็นต้น
นอกจากค่าฝากครรภ์แล้ว ก็ยังมีค่าทำคลอด โดยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 39,000 - 60,000 บาท ขึ้นอยู่กับการรูปแบบการทำคลอดว่าเป็นแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอด โรงพยาบาลแต่ละที่มีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ซึ่งคุณแม่สามารถลดค่าใช้จ่ายก้อนนี้ โดยการเลือกทำประกันสุขภาพที่สามารถครอบคลุมทุกการรักษาพยาบาลและการคลอดบุตร  

  • ค่าฝากครรภ์ ค่าตรวจครรภ์ _ (20,000 – 100,000 บาท)

  • ค่าทำคลอด _ (30,000 – 60,000 บาท)

  • รวม_วัยก่อนเรียนต้องเตรียมเจ็บสำหรับวัยนี้มักมีค่าใช้จ่ายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมไว้เลยคือค่าวัคซีนจำเป็น รวมถึงค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี มีแนวโน้มป่วยเข้าโรงพยาบาลค่อนข้างบ่อย และยังมีค่าใช้จ่ายประจำๆ อย่างเช่น ค่านมผง ค่าอาหารที่เราวางงบคร่าวๆ ไว้ที่ 20,000 – 60,000 บาทต่อปี รวมถึงของใช้จิปาถะ เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์เลี้ยงเด็ก ที่สามารถตั้งงบไว้ประมาณ 24,000 บาทต่อปีได้ 
    นอกจากนี้บางครอบครัวยังต้องมีค่าพี่เลี้ยงเด็กเพิ่มเติม แต่ใครสามารถเลี้ยงลูกเอง หรือมีทีมปู่ย่าตายายช่วยเลี้ยงให้ก็สามารถตัดงบส่วนนี้ได้ อีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้อย่างเบาใจ คือประกันสุขภาพเด็กที่สามารถช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ลูกรักในวงเงินที่กำหนดได้

  • ค่าวัคซีน _  (5,500 – 17,000 บาท)

  • ค่ารักษาพยาบาล x ปี = __ (2,000 – 40,000 บาทต่อปี)

  • ค่านม ค่าอาหาร x ปี = __ (20,000 – 60,000 บาทต่อปี)

  • ค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์เลี้ยงเด็ก x ปี  = __ (24,000 บาทต่อปี)

  • ค่าพี่เลี้ยง  x ปี = __ (60,000 – 240,000 บาทต่อปี)

  • รวม_*ยังไม่รวมอัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปีวัยเรียนเพียรเก็บออมIn-School 
    ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่สุดในวัยเรียนคงหนีไม่พ้นค่าเทอม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องวางแผนตั้งแต่การเลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับลูกและสภาพคล่องในครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเดินทาง ค่าขนม ค่าเรียนพิเศษ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัยและความต้องการของเด็กแต่ละคน

  • ค่าเทอมอนุบาลต่อปีx ปี = _ (4,000 -100,000 บาทต่อปี)

  • ค่าเทอมประถมศึกษา x 6 ปี = _ (4,000 -100,000 บาทต่อปี )

  • ค่าเทอมมัธยมศึกษา  x 6 ปี = _ (6,000 -100,000 บาทต่อปี  )

  • ค่าเทอมปริญญาตรี x ปี = _ (40,000 -200,000 บาทต่อปี )

  • ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน  x ปี = ___ (5,000 -20,000 บาทต่อปี)

  • ค่าเรียนพิเศษ x ปี = _ (6,000 - 30,000 บาทต่อปี )

  • ค่าขนมลูกx ปี = (60,000 - 200,000 บาทต่อปี)

  • รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด บาทวางแผนหาเงินเพิ่มทั้งหมด__ บาท 
    *ยังไม่รวมอัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปี*อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าเทอมอยู่ที่ 6% ต่อปี 
    วางแผนให้ครบ จบทุกความกังวลเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายเรียบร้อยเห็นจำนวนเงินก้อนที่ต้องเตรียมเอาไว้ สิ่งต่อไปที่ต้องทำคือวางแผนการเงินให้ครอบคลุม เริ่มจากตั้งเป้าไว้ว่าเราจะต้องเก็บเงินปีละเท่าไหร่ เฉลี่ยเป็นเดือน เดือนละเท่าไหร่ แล้วจึงวางแผนว่าจะใช้วิธีไหนในการเก็บหรือลงทุนเพื่อให้ออมเงินได้ตรงตามเป้า 
    เราควรจะแบ่งช่วงเวลาเก็บเงินเป็นระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว เนื่องจากแต่ละช่วงวัย เด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ จะมีค่าใช้จ่ายและรายได้ไม่เท่ากัน สมมุติว่าตอนนี้เราคือคุณแม่ที่กำลังตั้งท้อง เป้าหมายการออมเงินระยะสั้นก็คือค่าเทอมวัยอนุบาลของลูก ระยะปานกลางคือค่าเทอมประถมและมัธยม ส่วนระยะยาวคือค่าเทอมตอนมหาวิทยาลัย เป็นต้น 
    ซึ่งการแบ่งตามช่วงวัย นอกจากจะทำให้เราเห็นจำนวนเงินออมที่ชัดเจน ยังช่วยให้เราสามารถเลือกการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อให้เงินงอกเงยได้ด้วย โดยการลงทุนนี้จะต้องพิจารณาทั้งงบประมาณที่เราสามารถลงทุนได้ ความเสี่ยงและระยะเวลาที่จะลงทุน รวมถึงความรู้ในผลิตภัณฑ์การเงินของแต่ละคน อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ดี ไม่ว่าจะศึกษาด้วยตนเองหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้
    และสุดท้าย นอกจากจะวางแผนเรื่องเงินแล้ว ก็อย่าลืมวางแผนเรื่องสุขภาพด้วย การทำประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุให้กับตนเองและลูกรัก ซึ่งประกันแบบต่างๆ นอกจากจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและคุ้มครองกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดแล้ว ยังเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ไม่ควรมองข้าม 
    วางแผนเรื่องสุขภาพซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเอง ครอบคลุมทุกการรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ไปจนถึงการคลอดบุตร   ซื้อประกันชดเชยรายได้ กรณีคุณพ่อคุณแม่ป่วย ยังมีประกันชดเชยรายได้ไว้ดูแลสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวซื้อประกันสุขภาพเด็ก ช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลของเด็กๆ ซึ่งมีแนวโน้มป่วยบ่อย และค่าใช้จ่ายในการรักษาแต่ละครั้งค่อนข้างสูง 
    วางแผนออมให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายออมเงินผ่านบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์ สำหรับการเบิกถอนที่คล่องตัว ควรมีเงินออมติดบัญชีไว้ 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน เผื่อกรณีฉุกเฉิน
    วางแผนลงทุนให้เงินงอกเงยลงทุนในแผนระยะสั้น 1-3 ปี เหมาะกับรายจ่ายช่วงก่อนเข้าอนุบาล เลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์การเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ ให้ผลตอบแทน 1-3% เช่น เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง เงินฝากประจำ 24 เดือน 36 เดือน ลงทุนในแผนระยะปานกลาง 5-10 ปี เตรียมไว้ก่อนเข้าชั้นประถมและมัธยม ควรลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงปานกลาง มักให้ผลตอบแทน 3-5% เช่น กองทุนรวมผสม หรือลงทุนในตราสารหนี้ลงทุนในแผนระยะยาว 10-15 ปี ลงทุนระยะไกลไว้สำหรับค่าเทอมระดับมหาวิทยาลัย สามารถลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงที่ให้ผลตอบแทน 7-10% ได้ เช่น ลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการออมเงินในประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์  ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์อย่าลืมตรวจสอบแผนการเงินให้สม่ำเสมออย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน ดูว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หากไม่ตรงตามแผนต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร แล้วปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เกิดวินัย มีความมั่นคงทางการเงิน และเลี้ยงลูกแบบไม่เจ็บไม่จนได้อย่างแน่นอน  

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0