โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

รู้จักกับ UV Index  ดัชนียูวี ที่จะบอกทุกอย่าง อันตรายแค่ไหนมาดู

Mango Zero

เผยแพร่ 23 เม.ย. 2562 เวลา 03.30 น. • Mango Zero

เวลานี้อยากนอนแช่น้ำแข็งมากๆ เพราะอากาศร้อนจัด อุณหภูมิแตะไปถึง40 องศาเซลเซียสแล้ว แต่ที่น่ากลัวคือ รังสียูวี ที่มาพร้อมช่วงเวลาแดดแรงจัด ที่น่ากลัวคือได้ไปตรวจสอบUV Index หรือค่า ดัชนียูวี พบว่าในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับ11-12 ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนังอย่างมาก

หากใครที่ออกไปโดนแดดแล้วไม่ป้องกัน เช่น สวมแว่นกันแดด หมวก หรือทาครีมกันแดด แล้วอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานอาจจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังและดวงตาอย่างมาก มาดูกันว่านอกจากนี้แล้วยังมีอะไรอีกบ้าง

UV Index

คือ ค่าดัชนียูวี ซึ่งวัดจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นผิวโลก ช่วงเวลา12.00 น.

ระดับ  UV Index

  • สูงจัด / Extreme   > 11
  • สูงมาก / Very High  8-10
  • สูง / High  6-7
  • ปานกลาง / Moderate 3-5
  • ต่ำ / Low < 2

ค่าดัชนียูวี แบ่งออกเป็น5 ระดับ

สูงจัด  (Extreme  > 11)  ความเสี่ยงสูง ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด หากไม่ป้องกันผิวหนังและดวงตาอาจจะถูกทำลายได้ในไม่กี่นาที  ควรหลีกเลี่ยงแดดช่วงเวลา10.00-16.00 น. หากออกนอกอาคารควรแต่งกายมิดชิด หมวกปีกว้างและแว่นกันแดด รวมถึงใช้ครีมกันแดดSPF 30+ ซ้ำทุก2 ชั่วโมง

สูงมาก  (Very High  8-10)  ความเสี่ยงสูงมาก โดยเฉพาะผิวหนังและดวงตา หากไม่ป้องกันอาจจะเกิดผิวไหม้ได้ ควรหลีกเลี่ยงแดดช่วงเวลา10.00-16.00 น. หากออกนอกอาคารควรแต่งกายมิดชิด หมวกปีกว้างและแว่นกันแดด รวมถึงใช้ครีมกันแดดSPF 30+ ซ้ำทุก2 ชั่วโมง

สูง(High  6-7)  ความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา ควรหลีกเลี่ยงแดดช่วงเวลา10.00-16.00 น. หากออกนอกอาคารควรแต่งกายมิดชิด หมวกปีกว้างและแว่นกันแดด รวมถึงใช้ครีมกันแดดSPF 30+ ซ้ำทุก2 ชั่วโมง 

ปานกลาง  (Moderate 3-5)  ความเสี่ยงปานกลาง ควรแต่งกายมิดชิด หมวกปีกกว้างและแว่นกันแดด ควรใช้ครีมกันแดดSPF 30+ ซ้ำทุก2 ชั่วโมง

ต่ำ  (Low < 2)  รังสียูวีจากดวงอาทิตย์ต่ำ  หากออกไปด้านนอกอาคารให้สวมแว่นกันแดด หรือใช้ครีมกันแดดSPF 30+

ผลกระทบของรังสียูวี

หากร่างกายได้รับรังสียูวีติดต่อกันเป็นเวลานาน และไม่ได้ป้องกัน สิ่งที่ตามมาคือร่างกายอาจจะได้รับผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยายาว  โดยหลักๆจะเกิดกับผิวและดวงตา

ผลกระทบต่อผิวหนัง

  • ผิวคล้ำแดด
  • ผิวไหม้จากแดด
  • ริ้วรอย
  • อาการแพ้แดด
  • มะเร็งผิวหนัง

ผลกระทบต่อดวงตา

  • กระจกตาอักเสบและเยื่อบุตาอักเสบ
  • ต้อกระจก
  • ต้อเนื้อ

ผลกระทบระยะยาว

หากร่างกายโดนแดดเป็นเวลานานๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อDNA และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงแดดช่วงเวลา  09.00 – 15.00 น.

  • สวมหมวก

  • แว่นกันแดดป้องกันยูวี

  • เสื้อผ้ามิดชิด

  • กางร่ม

  • ครีมกันแดด

  • อยู่ในอาคารหรือในร่ม

 

ที่มา : ozone.tmd.go.th และ www.epa.gov

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0