โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รำลึกพระราชกรณียกิจสำคัญ ร.5 นำพาสยามประเทศรุ่งเรือง

new18

เผยแพร่ 23 ต.ค. 2561 เวลา 01.00 น. • new18
รำลึกพระราชกรณียกิจสำคัญ ร.5  นำพาสยามประเทศรุ่งเรือง

เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่งแล้ว สำหรับ “วันปิยมหาราช” ซึ่งตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี โดยวันนี้จะเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ปวงชนชาวไทยจะได้น้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญหลากหลายประการ นำพาประเทศไทยสู่ความเจริญรุ่งเรือง ทัดเทียมนานาอารยประเทศตราบจนทุกวันนี้

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ที่คนไทยจดจำมิรู้ลืม มีหลากหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี “การเลิกทาส” การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คณะเสนาบดีและกรมโยธาธิการสำรวจเส้นทาง เพื่อวางรากฐานการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ มีการวางแผนให้ทางรถไฟสายนี้ตัดเข้าเมืองใหญ่ๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศแล้วแยกเป็นชุมสายตัดเข้าสู่จังหวัดใหญ่ทางแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นหัวลำโพงเมืองที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในการศึกษารูปแบบใหม่โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วกัน เพราะการศึกษาสมัยนั้นส่วนใหญ่ยังศึกษาอยู่ในวัด โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2444
สำหรับพระราชกรณียกิจด้านการกฎหมาย เนื่องด้วยกฎหมายในขณะนั้นมีความล้าสมัยอย่างมาก เนื่องจากใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และยังไม่เคยมีการชำระขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ทำให้ต่างชาติใช้เป็นข้ออ้างในการเอาเปรียบไทยเรื่องการทำสนธิสัญญาเกี่ยวกับการขึ้นศาลตัดสินคดีที่ไม่ให้ชาวต่างชาติขึ้นศาลไทย โดยตั้งศาลกงสุลพิจารณาคดีคนในบังคับต่างชาติเอง แม้ว่าจะมีคดีความกับชาวไทยก็ตาม

ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ สร้างประมวลกฎหมายอาญาขึ้นใหม่เพื่อให้ทันสมัยทัดเทียมกับอารยประเทศ ในปี พ.ศ.2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนกฎหมายแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นสถานที่สำคัญที่ผลิตนักกฎหมายที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาประเทศ

และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า“ไฟฟ้า” เป็นพลังงานที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก เมื่อมีโอกาสประพาสต่างประเทศ ได้ทอดพระเนตรกิจการไฟฟ้า และทรงเห็นถึงประโยชน์มหาศาลที่จะเกิดจากการมีไฟฟ้า พระองค์จึงทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนารถเป็นผู้ริเริ่มในการจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นในปี พ.ศ.2433 ซึ่งเป็นการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรกของไทย

และปีเดียวกัน มีการก่อตั้งโรงไฟฟ้าที่วัดเลียบ หรือวัดราชบูรณะ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2436 ต่อมาเพื่อให้กิจการไฟฟ้าก้าวหน้ายิ่งขึ้น รัฐบาลได้โอนกิจการให้ผู้ชำนาญด้านนี้ ได้แก่ บริษัทอเมริกัน ชื่อ แบงค็อค อิเลคตริกซิตี้ ซิดิแคท เข้ามาดำเนินงานต่อ และในปี พ.ศ.2437 บริษัทเดนมาร์กได้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเดินรถรางที่บริษัทได้รับสัมปทานการเดินรถในเขตพระนคร ต่อมาบริษัทต่างชาติทั้ง 2 บริษัทได้ร่วมกันรับช่วงงานจากกรมหมื่นไวยวรนาถ และก่อตั้งเป็นบริษัทไฟฟ้าสยามขึ้นในปี พ.ศ. 2444 นับเป็นการบุกเบิกไฟฟ้าครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ในการเริ่มมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0