โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ราคายางทรุด! เหตุเก็งราคาตลาดล่วงหน้า"ตลาดเซี่ยงไฮ้"

ประชาชาติธุรกิจ

เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2561 เวลา 10.44 น.
ย4

วันนี้ (19 มิ.ย.2561) ผู้สื่อข่าวยรายงานว่า สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) 12 ประเทศทั่วโลก ระบุ ราคายางพาราตกต่ำ เพราะซื้อขายเก็งกำไรล่วงหน้าตลาดยาง “เซี่ยงไฮ้” พร้อมอนุมัติเงินทุนหมุนเวียน 250 ล้าน ให้ตลาดกลางใช้รับซื้อจ่ายเงินสดแบบวันต่อวัน

ณ ห้องประชุมสุคนธา โรงแรมเซ็นทารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทาน (Toward Supply-Chain Efficiency) ระหว่างวันที่ 19-21 มิ.ย.61 มีสมาชิกจากสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ทั้งหมด 9 ประเทศ จาก 12 ประเทศ มี ไทย เวียดนาม บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และศรีลังกาเข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการหาแนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) เป็นผู้ผลิตยางธรรมส่งออกมากถึง 13 ล้านตัน/ปี เฉพาะประเทศไทยประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี ปัจจุบันปัญหาที่ทางกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ กำลังประสบคือราคายางพาราตกต่ำ ส่งผลกระทบทั้งระบบไปจนถึงกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา แต่ปัญหาดังกล่าวไม่ได้มาจากการที่ปริมาณยางล้นตลาด แต่เกิดจากการการซื้อขายกันที่ตลาดยางเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการซื้อขายเก็งกำไรล่วงหน้า และในที่ประชุมกำลังหารือทางออกร่วมกัน

สำหรับในส่วนของประเทศไทยนั้น กยท. ได้ทำเรื่องอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 250 ล้านบาท กระจายไปยังตลาดกลางยางพาราทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ เพื่อจ่ายให้กับเกษตรกรที่นำยางมาขายที่ตลาดกลางให้ได้รับเงินแบบวันต่อวัน แทนที่จะมารับในวันถัดไป เพราะต้องรอรับเงินจากผู้ซื้อยางจาก กยท. อีกทอดหนึ่ง คาดว่าน่าจะสามารถอนุมัติงบประมาณได้ในสัปดาห์หน้านี้

นอกจากนั้นยังได้หาแนวทางในการช่วยฟื้นฟูโรงงานผลิตยางของ กยท. โดยการสนับสนุน และส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรที่เป็นลูกข่ายในแต่ละแห่ง ให้สามารถกลับมาผลิตยางที่มีคุณภาพได้ ทั้งยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน และยางแผ่นรมควัน GMP เพื่อนำมาป้อนให้กับตลาดกลางยางพาราทั้ง 6 แห่ง และจะมีการรับซื้อในราคาที่เป็นธรรม โดยคำนวณจากต้นทุนและกำไรที่ควรจะได้รับ ก่อนที่จะมีการรวบรวมและเปิดประมูลให้กับกลุ่มผู้ซื้อ ซึ่งจะทำให้สามารถต่อรองราคาเพิ่มได้มากขึ้น

นอกจากนี้ กยท. ยังได้เริ่มต้นโครงการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และจะเริ่มต้นในภาคอีสานสานโดยการใช้กลไกคือ การเปิดรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรชาวสวนยางในราคาที่สูงกว่าเจ้าอื่น 10 สตางค์ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาแปรรูป และเปิดประมูล หรือส่งขายให้กับกลุ่มผู้ซื้อ คาดว่าจะสามารถช่วยให้ราคายางสามารถกระเตื้องขึ้นมาได้ในอีกระดับหนึ่ง หากได้ผลดีจะมีการนำมาปรับใช้ทั่วประเทศ พร้อมกับจะเดินหน้าเจรจาส่งออกยางไปยังกลุ่มลูกค้านอกเหนือจากจีน ที่ปัจจุบันมียอดส่งออกประมาณ 35% ของยางทั้งหมด ที่ผลิตได้ในประเทศ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0