โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รับมือข่าวลือปลอม!! 4 ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อโดนใส่ร้ายป้ายสีในที่ทำงาน

UndubZapp

เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 23.50 น. • อันดับแซ่บ
รับมือข่าวลือปลอม!! 4 ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อโดนใส่ร้ายป้ายสีในที่ทำงาน

ในสังคมการทำงานส่วนใหญ่ หรือในโลกกว้างก็ตามแต่ ไม่นับแค่สังคมในการทำงานเท่านั้น คนเราต้องเจอกับผู้คนมากหน้าหลายตา ร้อยพ่อพันแม่ ไม่ว่าใครก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์ หรือเจอสถานการณ์เฉียดๆ กับการ ‘โดนใส่ร้ายป้ายสี’ มาบ้าง ไม่มากก็น้อย ซึ่งประโยคนี้ก็มีความหมายชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้ว แปลว่า การหาความไม่ดีให้ผู้อื่นเสียหาย จึงแปลไปได้อีกว่า ความไม่ดีนั้นๆ ไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด มีแต่เพียงความผิดจากลมปากของผู้อื่นเท่านั้น หากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีในที่ทำงาน และไม่รู้ว่าควรจะหาทางออกให้กับเรื่องนี้อย่างไรดี ตาม UndubZapp มาเรียนรู้ขั้นตอนปฏิบัติตน เมื่อโดนใส่ความ หรือโดนรายงานเท็จกันค่ะ

1.ตั้งสติให้ดี

เป็นที่แน่นอนล่ะว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นในชีวิต คนส่วนใหญ่จะตกอยู่ในสภาวะตื่นตระหนก ทำอะไรไม่ถูก รู้ทั้งรู้ว่าตนเองไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามข้อกล่าวหาเท็จเหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ครั้นจะให้ยิ้มรับหน้าชื่นตาบานก็คงจะทำมิได้ ดังนั้น เมื่อคุณรู้ตัวว่าโดนใส่ความเท็จ ขอให้ตั้งสติให้ได้เป็นอันดับแรก © รูปต้นฉบับ:  pexels.com

2.สืบหาที่มาของต้นตอ

หลังจากที่รวบรวมสติได้แล้ว ทีนี้ก็ลองสวมวิญญาณนักสืบกันดูหน่อยซิว่า ต้นตอที่มาของข่าวลือเสียๆ หายๆ นี้มีที่มาจากใคร หลายๆ คนอาจคิดว่า การรู้ตัวคนเปิดประเด็นข่าวลือปลอมไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น เพราะถึงอย่างไรข่าวลือพวกนั้นมันก็ถูกเผยแพร่ออกไปแล้วอยู่ดี ใครเป็นคนเริ่มคนแรกไม่เห็นจะสำคัญ ในความเป็นจริงแล้ว การรู้ที่มาที่ไปย่อมดีกว่าการโยนหินถามทางหลายเท่านัก นอกจากจะช่วยให้คุณหาวิธีจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมแล้ว ยังช่วยให้ปิดเคสได้ไวในบางกรณีอีกด้วย © รูปต้นฉบับ:  pexels.com

3.กล่าวข้อเท็จจริง

ถ้าถูกกล่าวหาซึ่งๆ หน้า ทางออกที่ดีที่สุดคือการเผชิญหน้าโดยตรง ถ้าเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานและความมั่นคงทางการงานของคุณโดยตรง หรือเป็นเรื่องที่อาจทำให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความไม่ไว้ใจขึ้นมาได้ ควรเข้าพบผู้ที่มีอำนาจ เพื่อพูดคุยถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และอาจขอให้ผู้ที่มีอำนาจ เรียกผู้กระจายข่าวลือเท็จมารับฟังด้วย หลังจากนั้น ชี้แจงความจริงไปตามเรื่องราวด้วยท่าทีสงบ สีหน้าจริงจัง การพูดแบบทีเล่นทีจริงในกรณีดังกล่าว อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดมากกว่าเดิมได้ และถ้าคุณมีหลักฐานที่สามารถสนับสนุนคำพูดของคุณได้ ก็แสดงหลักฐานที่มีทั้งหมดให้ดูได้เลย หรือถ้าไม่ใช่เรื่องใหญ่ถึงขั้นที่ต้องไปเข้าพบผู้บังคับบัญชา แต่กระทบกับบุคคลอื่นในที่ทำงาน ก็สามารถใช้วิธีเดียวกันได้ เคลียร์ให้จบซึ่งๆ หน้าไปเลย อย่าใช้วิธีฝากคนนั้นถามคนนี้บอก เพราะข้อมูลอาจบิดเบือน สื่อสารผิดพลาดได้ แต่ถ้าข้อกล่าวหานั้น เป็นเพียงคำติฉินนินทาที่หาสาระไม่ได้ ขอแนะนำให้ใช้วิธีในลำดับถัดไปได้เลย © รูปต้นฉบับ:  pexels.com

4.ปล่อยวาง

คำว่า ‘ปล่อยวาง’ เป็นคำสั้นๆ ง่ายๆ ที่ดูอิงกับความจริงและดูโลกสวยในเวลาเดียวกัน แต่การปล่อยวางก็เป็นทางออกที่เหมาะสม สำหรับการแก้ปัญหาหลายๆ อย่าง การโต้ตอบกลับด้วยวิธีเดียวกัน อาจทำให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ตัดสินว่าคุณมีพฤติกรรมอย่างเดียวกับในข่าวลือเป๊ะๆ กลายเป็นทำให้คุณดูแย่กว่าเดิม ฉะนั้น แทนที่จะจงเกลียดจงชังอีกฝ่าย ราดน้ำมันเข้ากองไฟ ปล่อยให้ไฟลุกลามใหญ่โตยิ่งขึ้น ควรเลือกวิธีปล่อยวางดีกว่า เราทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่า เราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนตัวเองได้ ถ้ากองไฟนั้นมันแผดเผาทำให้เราร้อน ก็เดินออกมาให้ห่างจากกองไฟ ทิ้งความรู้สึกแย่ๆ ไว้แล้วเดินต่อไป โฟกัสกับการทำงานอย่างเดียวก็พอ ชีวิตนี้มีเรื่องน่าสนใจรอให้คุณค้นพบอีกมาก อย่าเสียเวลาที่แสนจะมีค่าไปกับเรื่องแย่ๆ และคนยุ่งๆ เลย © รูปต้นฉบับ:  pexels.com ©Feature image  pexels.com

---

อัปเรื่องแซ่บ ฟีดเรื่องมันส์ เม้าท์ทันเพื่อน
Facebook: @UndubZapp
Instagram: @UndubZapp

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0