โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ระทึกกว่าในหนัง อิหร่านแพร่คลิป บุกยึดเรือน้ำมันอังกฤษ (มีคลิป)

new18

อัพเดต 21 ก.ค. 2562 เวลา 04.38 น. • เผยแพร่ 21 ก.ค. 2562 เวลา 04.20 น. • new18
ระทึกกว่าในหนัง อิหร่านแพร่คลิป บุกยึดเรือน้ำมันอังกฤษ (มีคลิป)
กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติของอิหร่าน เผยแพร่คลิปวิดีโอทางโซเชียล มีเดียเมื่อวันเสาร์ ซึ่งเป็นภาพขณะที่เรือเร็ว หรือสปีดโบ๊ทหลายลำของอิหร่าน ไล่ล่าและโอบล้อมเรือบรรทุกน้ำมัน “สเตนา อิมเปโร” ติดธงอังกฤษ ขณะที่ บนท้องฟ้าก็มีเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งบินวนและไล่ตาม พร้อมส่งทหารติดอาวุธสวมโม่งดำใช้เชือกโรยตัวลงดาดฟ้าเรือ ในคลิปวิดีโอชุดนี้ เห็นชื่อเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษชัดเจน

กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติของอิหร่าน เผยแพร่คลิปวิดีโอทางโซเชียล มีเดียเมื่อวันเสาร์ ซึ่งเป็นภาพขณะที่เรือเร็ว หรือสปีดโบ๊ทหลายลำของอิหร่าน ไล่ล่าและโอบล้อมเรือบรรทุกน้ำมัน “สเตนา อิมเปโร” ติดธงอังกฤษ ขณะที่ บนท้องฟ้าก็มีเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งบินวนและไล่ตาม พร้อมส่งทหารติดอาวุธสวมโม่งดำใช้เชือกโรยตัวลงดาดฟ้าเรือ ในคลิปวิดีโอชุดนี้ เห็นชื่อเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษชัดเจน

สำนักข่าวฟาร์ส ของอิหร่าน รายงานว่า กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติควบคุมเรือสเตนา อิมเปโรเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากเรือลำดังกล่าวชนกับเรือประมงอิหร่านลำหนึ่ง ซึ่งได้ส่งสัญญาณแจ้งเตือนแล้ว แต่กลับเพิกเฉย
เรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษ ซึ่งไม่ได้บรรทุกสินค้า ถูกนำไปเก็บไว้ที่เมืองท่าบันดาร์ อับบาส ของอิหร่าน พร้อมกับลูกเรือ 23 คน ซึ่งในจำนวนนี้ 18 คน เป็นชาวอินเดีย ขณะเดียวกันก็ทำการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นด้วย

ด้านอังกฤษประณามอิหร่านกรณีการยึดเรือบรรทุกน้ำมันในอ่าวเปอร์เซียว่า “เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์” พร้อมปฏิเสธคำชี้แจงของอิหร่านที่บอกว่า ยึดเรือน้ำมันไปเพราะเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ นอกจากนี้ อังกฤษยังย้ำเตือนอย่างแข็งกร้าวและเดือดดาลเมื่อวันเสาร์ว่า จะใช้มาตรการ “เด็ดขาด” หากอิหร่านไม่ยอมปล่อยเรือ สเตนา อิมเปโร ซึ่งเป็นการเผชิญหน้าล่าสุดในความขัดแย้งที่พุ่งสูงขึ้นในเส้นทางขนส่งน้ำมันที่สำคัญของโลก

กรณีที่อิหร่านยึดเรืออังกฤษ ยิ่งทำให้วิกฤตความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและมหาอำนาจตะวันตก ปริแตกกว้างมากขึ้น ขณะที่ อิหร่านต่อสู้เพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตรเศรษฐกิจจากสหรัฐและรื้อฟื้นการเจรจานิวเคลียร์กันใหม่ แต่ความก้าวร้าวของอิหร่านที่มีต่ออังกฤษ ยิ่งอาจทำให้เกิดผลลัพธ์เลวร้าย เพราะอังกฤษ คือ 1 ใน 3 ชาติมหาอำนาจยุโรป ที่ต้องการรักษาข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านฉบับปี 2558 หลังสหรัฐถอนตัว
นายเจเรมี ฮันท์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ แสดงให้เห็นสัญญาณที่สร้างความวิตกกังวลว่า อิหร่านอาจกำลังเลือกวิธีการอันตรายในการแสดงออกที่ผิดกฎหมายและบั่นทอนเสถียรภาพ พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า อังกฤษจะพิจารณาหามาตรการตอบโต้ ที่หนักหน่วงรุนแรง

ฮันท์ ยังกล่าวหาอิหร่านด้วยว่าใช้มาตรการตอบโต้แบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” กรณีที่เรือบรรทุกน้ำมันอิหร่าน เกรซ 1 ถูกยึดไว้ในยิบรอลตาร์ ดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ ในข้อหาต้องสงสัยลักลอบขนส่งน้ำมันไปยังซีเรีย ซึ่งเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป และอิหร่านก็ตอบโต้ด้วยการยึดเรือสเตนา อิมเปโร ในช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นการขยายความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและอังกฤษ
เรือน้ำมัน เกรซ 1 ของอิหร่าน ถูกยึดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา และศาลสูงของยิบรอลตาร์ มีคำตัดสินเมื่อเช้าวันศุกร์ ให้ขยายเวลาการควบคุมเรือออกไปอีก 30 วัน พร้อมกำหนดวันไต่สวนใหม่เป็นวันที่ 15 สิงหาคม รัฐบาลยิบรอลตาร์ แถลงว่า ไม่ได้รับคำสั่งจากสหรัฐให้ควบคุมเรือน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งบรรทุกน้ำมันถึง 2.1 ล้านบาร์เรล แต่แหล่งข่าวทางการทูตหลายราย กล่าวว่า สหรัฐได้ร้องขอให้สหราชอาณาจักรยึดเรืออิหร่าน
ส่วนนายจาวาด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ตอบโต้คำเตือนของอังกฤษเมื่อวันเสาร์ ผ่านทวิตเตอร์ว่า การที่อังกฤษยึดเรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่านในช่องแคบยิบรอลตาร ไม่ต่างจากการกระทำของโจรสลัด แต่การกระทำของอิหร่านในอ่าวเปอร์เซีย ยึดกฎหมายพาณิชยนาวีระหว่างประเทศ สหราชอาณาจักรต้องหยุดเป็นเครื่องมือให้สหรัฐในการก่อการร้ายต่อเศรษฐกิจ และในเวลาต่อมา ฮันท์ กล่าวกับนายซารีฟ กล่าวหาเขาว่า ไม่ทำตามคำพูดที่บอกว่า อิหร่านต้องการลดความตึงเครียดในอ่าวเปอร์เซีย
ความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นในช่องแคบฮอร์มุซ อาจส่งผลกระทบเลวร้ายต่อเศรษฐกิจและความมั่นคง เพราะประมาณร้อยละ 24 ของปริมาณน้ำมันโลก ต้องขนส่งผ่านช่องแคบฮอร์มุซ และเป็นเส้นทางเดียวเท่านั้นที่จะออกจากอ่าวเปอร์เซีย สำนักงานข้อมูลพลังงานของสหรัฐ เรียกช่องแคบฮอร์มุซว่า เป็นหนึ่งของจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของโลกในการขนส่งน้ำมัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0