โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ยาเสพติดทำโรคจิตพุ่ง พบเหตุรุนแรงเพิ่ม3เท่า

เดลินิวส์

อัพเดต 26 มิ.ย. 2562 เวลา 07.57 น. • เผยแพร่ 26 มิ.ย. 2562 เวลา 06.48 น. • Dailynews
ยาเสพติดทำโรคจิตพุ่ง พบเหตุรุนแรงเพิ่ม3เท่า
“จิตแพทย์”เผยคนไทยติดยาทำป่วยโรคจิตกว่า 3.2 แสนคน ก่อเหตุรุนแรงในสังคมเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว ทั้งทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น ลักทรัพย์ แนะสังเกต 7 อาการเสี่ยง หากเจอแจ้งตำรวจ หรือ 1669 รับตัวเข้าระบบการรักษา

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งผู้ติดสารเสพติดจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการทางจิต เช่น ภาวะหวาดระแวง หลงผิด ประสาทหลอน ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรง ทำร้ายตนเองและใกล้ชิด ที่มักจะเห็นในข่าวเป็นประจำ ทั้งนี้ในประเทศไทยพบผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง 1.4 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้มีผู้เสพแล้วติด 3.2 แสนคน และในจำนวนนี้เข้าสู่ระบบการบำบัดของกรมสุขภาพจิต 24,196 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยจิตเวชติดสารเสพติดรุนแรง 5,757 คน และเป็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง 577 คน ทั้งนี้ในปี 2561 พบสถิติผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรงในสังคม 267 ราย เฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น 3.92 เท่า โดยเป็นชาย 259 ราย หญิง 7 ราย และพบว่ามีกี่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น 90 คน ทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย 58 คน ลักทรัพย์ 47 คน และทำลายข้าวของ น 44 คน จากรายงานพบว่าในจำนวนคนก่อเหตุเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เคยรับการบำบัด 104 คน

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ขอให้ร่วมกันสังเกต 7 สัญญาณเตือนผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดก่อความรุนแรง คือ 1. ขีดข่วนหรือกรีดตัวเองเป็นรอยแผล 2. ส่งเสียงดังหรือตะโกนด่าด้วยคำหยาบคายรุนแรง 3. ข่มขู่จะทำร้ายผู้อื่น 4. ทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ 5. พกพาหรือสะสมอาวุธโดยไม่สมเหตุสมผล 6. รื้อ ขว้างปาข้าวของกระจัดกระจาย และ 7. ทำลายสิ่งของจนแตกหัก รวมถึงการสังเกตเฝ้าระวังพฤติกรรมและอาการที่เข้าข่ายเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา ได้แก่ หูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวงไร้เหตุผล อยากฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนอื่น พูดจาก้าวร้าว พูดจาเพ้อเจ้อ หลงผิด และแต่งกายแปลกกว่าคนปกติ หากพบสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ โทร. 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำตัวเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม ช่วยลดการก่อเหตุความรุนแรงในสังคม ตามแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย ตามพ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ คนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้ ดังนี้ 1. ช่วยกันดูแล ติดตามให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง 2. ร่วมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยจากการถูกเอาเปรียบจากสังคม 3. เฝ้าระวังสังเกตอาการ หากผิดปกติหรือมีอาการกำเริบให้รีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ 4. ส่งเสริมอาชีพ หางานอดิเรกให้ทำ เพื่อฝึกสมาธิและให้ผู้ป่วยมีรายได้ และ 5. ให้กำลังใจผู้ป่วยและสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนได้.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0