โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ยาลดน้ำตาลกลุ่มใหม่ เพิ่มทางเลือกรักษาเบาหวานชนิดที่ 2

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 14 พ.ย. 2562 เวลา 09.24 น. • เผยแพร่ 14 พ.ย. 2562 เวลา 09.24 น.
dlf06141162p1

ในงานประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ Insulin Therapy 2019 เมื่อ เร็ว ๆ นี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ ได้นำเสนอข้อมูลจากสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF : International Diabetes Federation) ในปี พ.ศ. 2560 ที่มีการประเมินว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานรวม 425 ล้านราย และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านรายทั่วโลก

ขณะที่จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ๆ ก็ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่มีหลายหนทางรักษาผู้ป่วยได้ ช่วยให้สถานการณ์ไม่เลวร้ายเกินไป

นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ ประธานวิชาการ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวถึงประเด็นความก้าวหน้าและทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานว่า ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนาทางเลือกในการรักษาโรคเบาหวานให้หลากหลาย ทำให้ปัจจุบันมียากลุ่มใหม่ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในการลดน้ำตาลหลังมื้ออาหาร และช่วยลดน้ำตาลระหว่างมื้อได้ภายในเข็มเดียวกัน ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่นักวิจัยได้คิดค้นและพัฒนาแนวทางการรักษาด้วยวิธีใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น และนับเป็นความท้าทายในการดูแลจัดการให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการซับซ้อนให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้น

ยากลุ่มใหม่ที่พูดถึงนี้ถูกระบุใน The American Diabetes Association’s (ADA) และ European Association for the Study of Diabetes (EASD) ได้ปรับปรุงแนวทางการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใหม่ โดยเน้นที่การรักษาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย หรือให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการรักษา โดยแนวทางการรักษาใหม่นี้จะพิจารณาถึงทางเลือกในการรักษาด้วยยาชนิดต่าง ๆ อาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากยาแต่ละชนิด ผลของการควบคุมน้ำตาล และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

นพ.ชัยชาญให้ข้อมูลอีกว่า เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบมากที่สุด คิดเป็นประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เบาหวานชนิดนี้เกิดเนื่องจากภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ทำให้อินซูลินทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง เกิดเป็นเบาหวาน และเมื่อเป็นเบาหวานที่ไม่ได้รักษา น้ำตาลที่สูงเป็นระยะเวลานาน ยังส่งผลให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อเซลล์ตับอ่อน (glucotoxicity) ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่ได้ เกิดภาวะขาดอินซูลิน (insulin secretory defect) ร่วมด้วย

สำหรับการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 แพทย์จะใช้แนวทาง “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered approach)” การเลือกใช้ยารักษา จะพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ เช่น อายุ ระดับความรุนแรงของอาการ ระดับน้ำตาล โรคร่วม ประสิทธิภาพของยา ราคา และผลข้างเคียง

นอกจากนั้น คุณหมอแนะนำอีกว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉพาะรายใหม่ ๆ ก็ควรได้รับการแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (total lifestyle management) ด้วย ซึ่งพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่แนะนำ ได้แก่

1.diet-กินอาหารในปริมาณพอเหมาะ อ่อนหวาน มัน เค็ม มีผักผลไม้ทุกมื้อ ใช้ข้าว/แป้งขัดสีน้อย มีธัญพืชและถั่วทุกวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมน้ำตาล แอลกอฮอล์

2.physical activity-ออกกำลังกายปานกลาง ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เสริมด้วยฝึกแรงต้น และยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย

3.sedentary time-เคลื่อนที่ร่างกาย 5-10 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง

4.psychosocial issues-ให้ความรู้คำปรึกษาและช่วยเหลือการ ควบคุมเบาหวาน ฝึกสมาธิ วิธีผ่อนคลาย หรือปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

5.sleep-เข้านอนเป็นเวลา และนอนไม่น้อยกว่าวันละ 7 ชั่วโมง

6.alcohol-ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ (ดื่มได้ปริมาณจำกัด เป็นครั้งคราว)

7.smoking-ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงไม่อยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่เป็นเวลานาน และในบ้านไม่สูบบุหรี่

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0