โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ยังหาตัวตนไม่เจอรึเปล่า ? มาเริ่มค้นหาตัวเองแบบง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวกัน

The MATTER

อัพเดต 16 ต.ค. 2562 เวลา 09.52 น. • เผยแพร่ 16 ต.ค. 2562 เวลา 13.00 น. • Branded Content

#มหาลัยมาหาอะไร เด็กๆ มาหาอะไรใน Hashtag นี้ ?

Hashtag #มหาลัยมาหาอะไร ที่ติด Trend เป็นอันดับ 2 ใน Thailand Twitter trend ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เราได้รู้ว่า เด็กมัธยมศึกษา ยังมีข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับการเรียนในมหาวิทยาลัย และความไม่แน่ใจในอนาคตตัวเอง หลายๆ ครั้ง เด็กอย่างเราก็ไม่รู้จะปรึกษาหรือหาคำแนะนำจากใครดี เราจึงชวนรุ่นพี่ที่เคยผ่านประสบการณ์เดียวกันในแฮชแท็ก #มหาลัยมาหาอะไร  มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ เกี่ยวกับการ ค้นหาตัวเอง ตั้งแต่เริ่มค้นหาความชอบ, ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย, วิธีเลือกคณะ/สาขาที่เรียน ไปจนถึงชีวิตหลังเรียนจบที่เข้าสู่วัยทำงาน เพื่อเป็นแนวทางง่ายๆ ในการรู้จักตัวเองให้มากขึ้นกัน

มุมมองจากรุ่นพี่ที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยและรุ่นพี่ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยจนเข้าสู่โลกของการทำงานแล้ว

คนแรกคือ ปุ้มปุ้ย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์, คนที่สอง โบนัส นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะสังคมศาสตร์ สาขาการพัฒนาชุมชนเมือง, คนที่สาม ท้อป Programmer ที่จบจากวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม สาขาคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร, คนที่สี่ มายด์ Content Creator ที่จบจากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาปรัชญาและศาสนา และ คนสุดท้าย น้ำ Creative ที่จบจากคณะศิลปะและการออกแบบ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไรบ้าง

ปุ้มปุ้ย : ชีวิตที่มหาวิทยาลัยสนุกมาก มีเพื่อนเยอะ สังคมกว้าง ได้เจอคนหลากหลาย

โบนัส : แตกต่างกับมัธยมฯ มากๆ เลย รู้สึกว่าได้ทดลองทำอะไรที่ไม่เคยและไม่กล้าทำมาตลอดในชีวิตวัยมัธยมฯ ได้จัดการชีวิตตัวเอง จากเมื่อก่อนต้องเดินตามเส้นที่มีคนขีดให้ ตอนนี้เหมือนเราได้เดินตามเส้นที่เราขีดเอง

มีวิธีไหนในการเลือกคณะหรือสาขาที่เรียน

น้ำ : เลือกเรียนจากวิชาในหลักสูตร ว่าจะได้เรียนอะไรที่สนใจมั้ย เรียนจบไปทำอะไรได้บ้าง

ท้อป : เป็นคนชอบเล่นคอมพิวเตอร์ และสนใจคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เด็กๆ เลยอยากเรียนอะไรที่เกี่ยวกับคอมฯ แล้วเห็นชื่อเอกนี้ตอนที่จะเลือกสมัครสอบ ก็เลือกเอกนี้ โดยไม่ได้ดูอะไรอย่างอื่นเลย (หัวเราะ)

ปัจจุบันรู้สึกอย่างไรกับงานที่ทำ แล้วมองว่างานเกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียนไหม

น้ำ : ชอบมาก พอตอนเรียนก็รู้ว่าไม่ชอบวาดรูปเท่าไหร่ ชอบออกความคิดมากกว่า งานที่ทำอยู่ตอนนี้ให้ประสบการณ์ที่เยอะมากๆ ได้ทำหลายอย่างที่คิดไว้ คิดว่าอยากทำคอนเทนต์ที่ให้อะไรกับคนอ่าน ได้ทำงานกับคนเก่ง ได้ทำงานที่ให้คุณค่ากับคนรุ่นใหม่ ซึ่งงานก็เกี่ยวกับสาขาที่เรียนตรงที่มหาวิทยาลัยเน้นสอนเรื่องการคิดให้เรา

ท้อป : ถามว่าเป็นงานที่ชอบไหม อันนี้ก็ 50-50 นะ เราชอบอะไรที่มันทำแล้วก้าวทันโลกที่เปลี่ยนไปเร็วแบบนี้ เพราะภาษาของคอมพิวเตอร์มันอัปเดตทุกวัน มีอะไรใหม่ๆ ให้เล่นได้ตลอดเวลา เลยจะไม่ค่อยเบื่อ แต่งานนี้ก็ไม่ใช่งานที่เป็นความฝันเรา อยากเป็นนักดนตรีมากกว่า (หัวเราะ)

มายด์ : Content Creator เป็นงานที่มายด์ชอบมากๆ ปกติชอบคุย ชอบแชร์กับคนรอบตัวแทบทุกเรื่องที่เจอ พอทำงานนี้ก็เลยดูเป็นงานที่เป็นตัวเองระดับหนึ่ง ตัวงานก็เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียน เพราะแทบทุกวิชาในสาขาที่เราเรียนจะเน้นการเขียน ฝึกการจัดระบบความคิด เรียบเรียงประเด็น เลยทำให้เราได้พัฒนาเรื่องการคิดและการเขียนชัดเจนมากๆ

ค้นหาตัวตนเจอได้อย่างไร ใช้วิธีไหนในการค้นหาตัวเอง

โบนัส : เรากล้าจะทดลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ เพราะถ้าไม่ลองจะรู้ได้ไงว่าชอบหรือไม่ชอบ เราถือคติว่าทำอะไรก็ได้ให้ตัวเองในอนาคตไม่มาเสียใจหรือคิดทีหลังว่า “รู้งี้น่าจะทำอันนี้ตั้งแต่แรก” คือถ้ามีโอกาสเราก็จะลองทำเลยทันที

ท้อป : เราเริ่มจากทำอะไรหลายอย่าง ลองทำทุกอย่างที่สนใจไปเรื่อยๆ แล้วเริ่มเบื่อสิ่งไหนก็จะทำให้รู้ว่ามันยังไม่ใช่สิ่งที่เราจะทำไปได้ตลอด แต่กับสิ่งที่เราชอบอย่างดนตรี เราไม่เคยเบื่อการเล่นดนตรีเลยสักครั้ง มันจะมีความกระตือรือร้นและก็มีความสุขทุกครั้งเวลาที่ได้เล่น เลยรู้ตัวว่าเราชอบสิ่งนี้จริงๆ ถึงทุกวันนี้จะทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ก็ยังคงเล่นดนตรีอยู่ตลอด

มายด์ : เราค้นหาตัวเองเจอเพราะว่าไม่ได้มัวแต่นั่งคิดเยอะ คือชอบลงมือทำเลยทันที เวลามีคนชวนหรือมีอะไรใหม่ๆ ให้ไปทำ ง่ายๆ คือกล้าลงมือ กล้าเสี่ยง เพราะถ้ากล้าทำทุกอย่าง เราก็จะได้โอกาสและทักษะที่เพิ่มมากขึ้นทั้งจากสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ

ถ้าอ่านบทสัมภาษณ์ไปแล้วอยากจะลองค้นหาตัวเองแบบรุ่นพี่เหล่านี้บ้าง แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไรดี เราได้รวบรวมวิธีการค้นหาตัวเองอย่างง่ายๆ เพื่อที่จะช่วยให้น้องๆ ได้เริ่มค้นหาตัวตนของตัวเองให้เจอได้เร็วยิ่งขึ้นมาไว้ให้แล้ว มาลองทำกัน !

วิธีแรก ‘สำรวจ’

Critical woman looking trough a lens for clear observation
Critical woman looking trough a lens for clear observation

มาเริ่มสังเกตพฤติกรรมของตัวเองอย่างละเอียดกันหน่อย ลองลิสต์ดูว่า มีสิ่งไหนที่ทำได้บ่อยๆ แล้วไม่รู้สึกเบื่อบ้าง สิ่งไหนที่ทำให้เรามีความสุข สนุก ตื่นเต้น ทุกครั้งที่ได้ทำ ลองจดเอาไว้ให้มากเท่าที่พอจะนึกขึ้นได้ หลังจากนั้น ลองลิสต์สิ่งที่เราไม่ชอบทำหรือแค่คิดก็ไม่อยากจะทำแล้วเพิ่มลงไป นอกจากนั้นถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ลองนึกดูว่าเราทำอะไรได้ดี มีวิชาไหนที่เราเรียนเก่งกว่าวิชาอื่น มีสิ่งไหนที่เราทำแล้วมักจะมีคำชมเสมอบ้างไหม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม พอเราเริ่มลิสต์ทุกอย่างออกมาลงบนกระดาษให้ชัด อาจจะเริ่มเห็นภาพรางๆ ได้ว่า เราชอบและจะสามารถทำอะไรไปได้ดีตลอดบ้าง

วิธีที่สอง ‘ทำแบบทดสอบ’

บางทีการบอกได้ว่าตัวเองชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร อาจจะไม่ได้เป็นการการันตีว่าเราเหมาะกับสิ่งนั้นเสมอไป เพราะบางครั้งเราก็อาจจะยังวิเคราะห์ตัวเองไม่ถูก ถ้าอย่างนั้นแล้ว การให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ตัวเราเบื้องต้นผ่านทำแบบทดสอบ ก็อาจจะเป็นอีกตัวช่วยที่ดียิ่งขึ้น

ลองทำแบบทดสอบค้นหาคณะในฝัน ได้ที่ https://brandscareerdiscovery.com/signin

วิธีที่สาม ‘ปรึกษา’

Pretty Asian female counselor counsels Hispanic teenage girl in group therapy or support group. The woman gestures as the talks to the girl and the girl listens intently to her. The girl is wearing a yellow scarf and the counselor is wearing a blue plaid shirt. Other members in the group are sitting in the circle listening.
Pretty Asian female counselor counsels Hispanic teenage girl in group therapy or support group. The woman gestures as the talks to the girl and the girl listens intently to her. The girl is wearing a yellow scarf and the counselor is wearing a blue plaid shirt. Other members in the group are sitting in the circle listening.

เมื่อเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง บางครั้งเราอาจจะมองเห็นไม่ชัดเท่ากับมุมมองของคนอื่นๆ ที่มองเรา การปรึกษาเพื่อน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีไม่น้อย คนใกล้ตัวเหล่านี้ที่เขาเห็นเราเติบโตมาตลอด อาจจะรู้จักเราได้มากกว่าที่เรารู้จักตัวเอง

วิธีที่สี่ ‘ออกไปลองให้รู้’

Caucasian and African American young women are patrons in modern public library. Students or customers are standing in line, using touch screen self check out kiosk to borrow books. Young women are wearing trendy clothing.
Caucasian and African American young women are patrons in modern public library. Students or customers are standing in line, using touch screen self check out kiosk to borrow books. Young women are wearing trendy clothing.

สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น, สิบตาเห็น ไม่เท่ามือคลำ, สิบมือคลำ ไม่เท่าคลำเอง

ถ้านั่งวิเคราะห์ตัวเองเฉยๆ แล้วยังไม่รู้ว่าเราเป็นคนแบบไหน ก็ต้องลองไปลงมือทำ หนึ่งในวิธีที่ทำให้รุ่นพี่หลายๆ คน รู้จักตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ลองเริ่มจากการไปงาน Open house หรือ เข้าค่ายทำกิจกรรมของคณะต่างๆ เพื่อให้ได้รู้ชัดๆ ไปเลยว่า ถ้าเราเรียนในคณะนี้ เราจะพอเรียนไหวไหม เราชอบที่จะเรียนสิ่งนี้อย่างที่เราคิดไว้จริงหรือเปล่า

วิธีที่ห้า ‘เปิดมุมมอง’

ลองไปเปิดมุมมองใหม่ๆ ด้วยการไปงาน Talk & Workshop ของ Brand’s Summer Camp Plus ปีที่ 31 กันบ้าง งานนี้จะเป็นตัวช่วยให้เราได้รู้เรื่องอนาคตและรู้จักตัวเอง ว่าอะไรคือสิ่งที่ใช่ อาชีพไหนที่เหมาะกับเรา ผ่านคำแนะนำจากพี่ๆ ตัวท็อปที่มีประสบการณ์โชกโชนในหลากหลายสาขาอาชีพ และในงานยังมีกิจกรรมให้ลองลงมือทำจริงอีกด้วย  สามารถรอชมคลิปกิจกรรมได้ที่ https://www.brandssummercamp.com/talk

นอกจากจะรวมตัวช่วยเจ๋งๆ เครื่องมือเด็ดๆ ให้น้องๆ รู้จักตัวเอง เพื่อเลือกคณะในฝัน ผ่านการทำแบบทดสอบและการเข้าร่วมกิจกรรม Talk & Workshop แล้ว แบรนด์ซุปไก่สกัด ยังเป็นกำลังใจและเป็นตัวช่วย “อัปเกรดสมอง พร้อมพิชิตทุกฝัน” ให้น้องๆ ก้าวไปถึง Goal ที่ตั้งไว้ได้ตามที่ตั้งใจด้วยนะ

พิเศษ! สำหรับผู้ติดตาม The MATTER ที่สนใจสมัครเข้า Talk & Workshop ของ Brand’s Summer Camp Plus ปีที่ 31 สามารถสมัครได้ที่ : https://bit.ly/35DMGbH (อย่าลืม! แจ้งว่ามาจาก The MATTER เพราะจะมีเพียง 20 คนแรกเท่านั้น ที่จะได้รับสิทธิ์ในการเข้างาน ต้องรีบกันหน่อยนะ)

Content by Isariya Wichitnetisard

Illustration by Kodchakorn Thammachart

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0