โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ม.รังสิต พบสารจากกัญชายับยั้งเซลล์มะเร็งปอดในหนูทดลองได้

TODAY

อัพเดต 23 เม.ย. 2562 เวลา 10.08 น. • เผยแพร่ 23 เม.ย. 2562 เวลา 10.08 น. • Workpoint News
ม.รังสิต พบสารจากกัญชายับยั้งเซลล์มะเร็งปอดในหนูทดลองได้

วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต แถลงสรุปผลวิจัย พบสารในกัญชาส่งผลให้ก้อนมะเร็งปอดในหนูทดลองเล็กกว่าหนูที่ไม่ได้รับสารอย่างมีนัยสำคัญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง สุรางค์ ลีละวัฒน์ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยกัญชาเพื่อ การแพทย์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้วิจัยการศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารจากกัญชาใน สัตว์ทดลอง แถลงข่าวว่า

“จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากกัญชา คือ THC และ CBN มีฤทธิ์ลดการเพิ่มจํานวนของเซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ในหลอดทดลองได้ดี  จึงได้ทําการศึกษาผลของสารTHC และ CBN จากกัญชาต่อ เซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ในหนูทดลอง โดยฉีด THC และ CBN ทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในหนูทดลองที่เหนี่ยวนําให้เกิดเป็นมะเร็งด้วยเซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ พบว่าหนูทดลองที่ได้รับสาร THC และ CBN มีขนาดของก้อนมะเร็งเล็กกว่าหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับสารอย่างมีนัยสําคัญดังนั้น จึงสรุปได้ว่าสาร THC และ CBN จากกัญชามีฤทธิ์ต้านมะเร็งปอดของมนุษย์ได้ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง”

ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยกัญชาเพื่อ การแพทย์ยังกล่าวว่า โรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งชายหญิงทั่วโลก เป็นโรคมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเนื่องจากธรรมชาติของโรคที่ตอบสนองต่อการรักษาน้อย ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสําหรับโรคมะเร็งปอด การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนายาต้านมะเร็งปอดที่มีประสิทธิภาพ จงยังมีความสําคัญต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเป็นอย่างยิ่ง

สารกลุ่ม cannabinoids เป็น สารกลุ่มหลักที่พบในกัญชา โดยมีสาร A-tetrahydrocannabinol (THC) เป็นสารออกฤทธิ์ที่สําคัญมีฤทธิ์ต่อจิต ประสาทและมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของมะเร็งหลายชนิดทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง ส่วนสาร cannabinol (CBN) เป็นสารที่เกิดจากการปฏิกิริยาของสาร THC ในระหว่างการเก็บรักษา พบได้มากในกัญชาแห้ง 1.0

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า กัญชาเป็นพืชที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ มากมาย มหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นคุณค่าจึงขออนุญาตทํางานวิจัยกัญชาทางการแพทย์อย่างถูกต้อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 และได้รับอนุญาตเป็นรายแรกในปี 2560 เป็นต้นมา

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0