โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

มีเงิน 100,000 บาท จัดพอร์ตลงทุนยังไงดี?

Wealthy Thai

อัพเดต 14 พ.ย. 2562 เวลา 02.29 น. • เผยแพร่ 14 พ.ย. 2562 เวลา 02.29 น. • wealthythai
มีเงิน 100,000 บาท จัดพอร์ตลงทุนยังไงดี?

สำหรับคนที่เริ่มศึกษาอยากลงทุนในตลาดเงิน เพื่อหาผลตอบแทนให้ได้ตามเป้าหมายทางการเงินในปัจจุบัน หันไปทางไหนก็ได้ยินแต่เรื่องความไม่แน่นอน เช่น สงครามการค้าที่ยืดเยื้อ และ Brexit ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกต่างชะลอการค้าการลงทุนจนกระทบเป็นลูกโซ่ไปทั้งโลก สังเกตุได้จากดัชนีฝ่ายจัดซื้อทั่วโลกที่ชะลอลงต่อเนื่องจนต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติแฮมเบอเกอร์ช่วงปี 2008 แต่การควบคุมความเสี่ยงจากการลงทุนด้วยการนำเงินไปฝากเงินกับธนาคาร หรือ ลงทุนในตราสารหนี้ ที่อัตราผลตอบแทนทำได้เพียงใกล้เคียงกับเงินเฟ้อระยะยาวที่ประมาณ 3% เป้าหมายทางการเงินย่อมถูกจำกัดเพราะมูลค่าเงินลงทุนเติบโตใกล้เคียงกับอำนาจซื้อที่อาจสูญเสียไปในแต่ละปี

 

 

สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มสะสมเงินเก็บที่ได้จากการประกอบอาชีพอาจยังไม่มีประสบการณ์มากพอในตลาดหุ้น อีกทั้งยังต้องแบ่งเวลามาเพื่อศึกษาตลาดหุ้นนอกเหนือจากความรับผิดชอบในอาชีพหลัก อาจไม่สามารถโฟกัสทั้งในด้านหน้าที่การงานไปพร้อมกับการลงทุนได้ดีพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มสินทรัพย์ที่เติบโตหรือประคองพอร์ทการลงทุนไปได้ในทุกๆ วงจรเศรษฐกิจ หรือเป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินงานที่ดีสม่ำเสมอ รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์เพิ่มเติมโดยไม่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ แต่มีประสิทธิผลในระยะยาว โดยปัจจุบันแนะนำสัดส่วนการลงทุน สินทรัพย์เสี่ยง 75% และ สินทรัพย์ปลอดภัย 25% ดังนี้

 

 

 

โดยพอร์ทการลงทุนนี้เป็นระดับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง โดยคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนต่อปีประมาณ 5.7% (ประมาณการณ์จากผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีของสินทรัพย์แต่ละประเภท) โดยจะเลือกลงทุนในหุ้นทั่วโลกเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในหลายๆ ประเทศ พร้อมกับเพิ่มน้ำหนักลงทุนในกลุ่มเฮลธ์แคร์กับมี REITs เป็นส่วนหนึ่งในการจัดพอร์ทลงทุน เพื่อสอดคล้องกับสภาวะการลงทุนในปัจจุบัน อีกทั้งมีจุดเด่นที่แต่ละสินทรัพย์มักเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กันตลอดเวลา เช่น หากบรรยากาศการลงทุนสดใส กองทุนที่ลงทุน Global Equity จะทำได้ดี แต่เมื่อบรรยากาศการลงทุนซบเซา หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ กับ Global REITs จะช่วยประคองพอร์ทการลงทุนได้ ในขณะเดียวกันเงินสดที่เราสำรองไว้ สามารถนำมาเพิ่มน้ำหนักตาม Model กรณีที่ตลาดหุ้นผันผวนมากจนสัดส่วนเปลี่ยนไปจากที่กำหนดไว้ด้วย

 

สำหรับกลุ่มเฮลธ์แคร์นับว่าเป็นธุรกิจที่มีกำไรเติบโตสม่ำเสมอเกือบทุกภาวะเศรษฐกิจ ด้วยเหตุจากค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลจะไม่เพิ่มหรือลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ขึ้นอยู่กับโรคที่จำเป็นต้องรับการรักษามากกว่า ซึ่งหากพิจารณาจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในดัชนี S&P500 โดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 20 ปี จะพบว่าช่วงที่สหรัฐฯ เผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย หุ้นทุกตัวในตลาดเฉลี่ยแล้วกำไรจะหดตัวลง แต่กำไรของกลุ่มเฮลธ์แคร์ยังสามารถเติบโตได้เรื่อยๆ สวนทางกับตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าหุ้นกลุ่มนี้แข็งแกร่งในทุกภาวะเศรษฐกิจ

 

Source: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (TISCOESU)

 

 

อีกกลุ่มสินทรัพย์ที่น่าสนใจยามเศรษฐกิจชะลอตัว คือ กลุ่มทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REITs) ซึ่งเป็นสิทธิการเช่าในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น พื้นที่เพื่อการค้า, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, คลังสินค้า หรือแม้กระทั่งเสาสัญญาณโทรคมนาคมให้เช่า และเนื่องด้วยรายได้ค่าเช่าจะเข้ากองทุนสม่ำเสมอเพราะกองทุน REITs ต้องจัดเก็บตามที่ตกลงไว้ในสัญญาเช่า ประกอบกับข้อกำหนดทั่วไประบุว่า REITs จะต้องจ่ายเงินปันผลประมาณ 90% ของกำไรสุทธิ และเงินปันผลมากกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลด้วย จึงเสมือนว่านักลงทุนมีรายได้สม่ำเสมอจากค่าเช่าที่ตนเองเข้าไปร่วมลงทุน REITs และอัตราเงินปันผลของ REITs ที่ 4% ขึ้นไปโดยเฉลี่ยมากกว่าเงินเฟ้อในระยะยาว (3%) อีกด้วย

 

Source: TISCOASSET

 

 

เพราะฉะนั้นหากให้แนะนำผู้ลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มสะสมเงินเก็บเพื่อลงทุน โดยยกตัวอย่างว่ามีเงินเก็บเพื่อลงทุน 100,000 บาท ระยะเวลาลงทุนประมาณ 5 ปี เพื่อเป้าหมายทางการเงินของตนเอง แนะนำให้พอร์ทการลงทุนมีส่วนผสมของสินทรัพย์ปลอดภัย, กองทุนหุ้นทั่วโลกที่ผลการดำเนินงานโดดเด่น, กองทุน Global REITs และ หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ โดยกำหนด Model การลงทุนแบบข้างต้น โดยมีการทบทวนและปรับพอร์ทการลงทุนให้เป็นไปตาม Model หากมีสินทรัพย์ไหนมีมากหรือน้อยเกินไปจาก Model การลงทุนที่กำหนดไว้ เพื่อให้พอร์ทการลงทุนสมดุลและสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอทำให้เกิดประสิทธิผลจากการลงทุนในระยะยาวด้วย

 

 

 

หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่prtisco@tisco.co.th I บทความโดย ศิวกร ทองหล่อ AFPTTM Wealth Manager ธนาคารทิสโก้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0