โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

พลาสติกชีวภาพ : บัณฑิตอังกฤษคิดค้นวัสดุทดแทนพลาสติกจากสาหร่ายและเศษปลาเหลือทิ้ง

Khaosod

อัพเดต 16 พ.ย. 2562 เวลา 15.13 น. • เผยแพร่ 16 พ.ย. 2562 เวลา 15.13 น.
_109671825_bc134b89-ccec--c5a45420d87bbe6c42d9dd88ea25d878a4a569bb

พลาสติกชีวภาพ : บัณฑิตอังกฤษคิดค้นวัสดุทดแทนพลาสติกจากสาหร่ายและเศษปลาเหลือทิ้ง -BBCไทย

“สำหรับฉัน เรื่องความยั่งยืนไม่เคยเป็นประเด็นรอง (ในการออกแบบ) เลย” ลูซี ฮิวจ์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์วัย 24 ปีกล่าว

เธอคว้ารางวัลเจมส์ ไดสัน ระดับนานาชาติ ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นการประกวดผลงานของนักศึกษาที่ช่วยแก้ปัญหาโลก จากผลงานการออกแบบพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) ที่ทำจากเศษปลาเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมประมงและสาหร่ายทะเล

ก่อนจะได้รับรางวัลระดับนานาชาตินี้ ลูซี เพิ่งจะได้รางวัลเจมส์ ไดสัน ในระดับประเทศไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาจากการออกแบบวัสดุทดแทนพลาสติกนี้

วัสดุดังกล่าวมีชื่อว่า มารีนาเท็กซ์ (MarinaTex) ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบในโครงการก่อนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซัสเซกซ์ของลูซี โดยเธอบอกว่าเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญในแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเธอ

หนทางแก้ปัญหาขยะพลาสติก

โครงการของลูซี เริ่มต้นจากแนวคิดในการลดปัญหาปลาเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมประมง ซึ่งองค์การสหประชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่า แต่ละปีมีขยะจากอุตสาหกรรมนี้ราว 50 ล้านตันทั่วโลก

มารีนาเท็กซ์ ผลิตขึ้นโดยใช้เศษปลาที่เหลือทิ้ง เช่น ก้างปลา และเกล็ดปลา ผสมกับสาหร่ายสีแดง (red algae) และส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ไคโตซานจากเปลือกของสัตว์น้ำเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง และปู เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้ผลิตภัณฑ์

แต่คุณสมบัติที่แตกต่างไปจากพลาสติกชีวภาพชนิดอื่นก็คือ มารีนาเท็กซ์ สามารถย่อยสลายในอุณหภูมิปกติได้ ซึ่งหมายความว่าผู้คนจะสามารถทิ้งมันลงในถังทำปุ๋ยหมักที่บ้านได้ โดยจะย่อยสลายภายใน 4-6 สัปดาห์

นอกจากนี้ การที่มารีนาเท็กซ์ผลิตจากของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมประมงก็เป็นอีกคุณสมบัติเด่นของผลงานชิ้นนี้ เพราะช่วยให้ต้นทุนการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดนี้มีราคาถูกพอ ๆ กับพลาสติกที่ใช้ทำถุงใส่ของชนิดบางทั่วไป

ลูซีหวังว่า วัสดุนี้จะสามารถนำไปใช้ทำหีบห่อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กล่องใส่แซนด์วิช หรือถุงใส่ขนมอบต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0