โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ผู้ตรวจการฯ ชง ศบค.นำหน้ากากอนามัยค้างสต็อกใช้ในประเทศ

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 27 มี.ค. 2563 เวลา 15.15 น.

วันนี้ (27 มี.ค.63) พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวเปิดเผยหลังการหารือแนวทางแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนขาดแคลนหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และแอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด

สืบเนื่องจากการที่มีข้อร้องเรียนกรณีความเดือดร้อนของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ อันเนื่องมาจากการจำหน่าย จ่ายแจกหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้กับสถานพยาบาล ร้านค้า และประชาชนเพื่อใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ไม่ทั่วถึง ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการแสวงหาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงลงพื้นที่สุ่มตรวจโรงงานผู้ผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อดูกระบวนการขั้นตอนการผลิตหน้ากากอนามัย คุณภาพ ปริมาณการผลิตต่อครั้ง และระบบการจัดจำหน่าย ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันความต้องการหน้ากากอนามัยอยู่ที่ประมาณ 1.6 ล้านชิ้นต่อวัน ในขณะที่ประเทศไทย มีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย จำนวน 11 โรงงาน กำลังการผลิตรวมแล้ว ประมาณ 1.35 ล้านชิ้นต่อวัน ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนและราคาสูงกว่าปกติ
 

นำมาสู่การประชุมหารือถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ร่วมกับนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์, นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม รองอธิบดีกรมการค้าภายใน , นายสมชาย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย,  เภสัชกร พิพัฒน์  นิยมการ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม, รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุรศักดิ์  ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลรามาธิบดี,  นายพชร  อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต, นางกรภัทร  ตรีสารศรี ผู้อำนวยการกองคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,  นายแพทย์อภิชาต  วชิรพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร 

รวมถึงผู้บริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, นางนิภาวรรณ ใยบัวเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการตรวจสอบสินค้า นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร กรมศุลกากร, นายสมควร  จารุสมบัติ รองผู้อำนวยการฝ่ายผลิต รักษาการผู้อำนวยการองค์การสุรา รวมถึงผู้ประกอบการภาคเอกชนผู้จัดจำหน่าย เพื่อหามาตรการเยียวยาอย่างเร่งด่วนในกรณีดังกล่าว โดยสรุปที่ประชุม ผู้ตรวจการแผ่นดินจะมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. จะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาการส่งออก ที่จะจัดตั้งขึ้นโดย ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ "ศบค." พิจารณาหามาตรการในการนำหน้ากากอนามัยซึ่งมีลิขสิทธิ์และผลิตตามคำสั่งซื้อของต่างประเทศที่ค้างสต็อกรอการส่งออกอยู่ในโรงงานการผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศ นำออกมาใช้ภายในประเทศเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในปัจจุบัน

2. จะเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาขาดแคลนในการผลิตหน้ากากต่อไปในอนาคต

3. กรณีแอลกอฮอล์ที่นำมาผลิตเจลล้างมือ ปัจจุบัน กรมสรรพสามิตได้มีมาตรการ โดยการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตเหลือ 0 เปอร์เซนต์ต่อลิตร ให้กับผู้ประกอบการที่นำแอลกอฮอล์ไปใช้ผลิตเจลล้างมือ ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการมาขออนุญาตเกี่ยวกับการผลิตแอลกอฮอล์แล้วกว่า 28 ล้านลิตร ทำให้แอลกอฮอล์ที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตเจลล้างมือ เข้าสู่กลไกการผลิตเจลล้างมือมากขึ้น ซึ่งทำให้จะมีแนวโน้มราคาเจลล้างมือลดลง ส่วนการควบคุมราคาเจลล้างมือนั้น กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศให้เจลล้างมือเป็นสินค้าควบคุมแล้ว ซึ่งหากมีการขายเกินราคาก็จะมีความผิดตามกฎหมาย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0