โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ปูทางไทยสู่ 5G ด้วยคลื่นความถี่และ “ยูสเคส” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม

Brand Inside

เผยแพร่ 24 มี.ค. 2562 เวลา 06.37 น. • BrandInside admin
5G _42_OK
5G _42_OK

โดย ดร. เอก จินดาพล
ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญพิเศษฝ่ายกลยุทธ์เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค

ขณะที่หลายประเทศไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา หรือทางยุโรป เริ่มเปิดใช้บริการ 5G และมีการเตรียมความพรัอมในการเปิด 5G เร็วๆ นี้ โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ตั้งเป้าจะเปิดตัว 5G เพื่อเตรียมความพร้อมที่เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมโอลิมปิก 5G ถูกมองว่าอาจจะผลักดันทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมอีกครั้ง ความสามารถในการเชื่อมต่อและตอบสนองสัญญาณจะนำไปสู่ความแตกต่างระหว่าง 5G กับ 4G ซึ่งไม่ใช่แค่การเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ เพื่อรองรับแอปพลิเคชันใหม่ หรือตอบสนองแค่ดูหนัง ฟังเพลงที่เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นแค่การเชื่อมต่อกับคนและอุปกรณ์ แต่เป็นการที่ 5G เปิดโลกใหม่ด้วยการทำให้เราเข้าไปใกล้โลกแห่งอนาคตด้วยการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ โดยตรงผนวกกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) และการวิเคระห์บิ๊กดาต้า (Big data analytics) จะทำให้เกิดบริการใหม่ๆ ที่โลกยังไม่เคยสัมผัสกันอีกมากการที่จะให้ 5G เกิดขึ้นโดยยั่งยืนนั้น 5G จะต้องเป็นมากกว่าแค่ท่อส่งอินเทอร์เน็ต (internet pipe) และต้องมีการสนับสนุนความสามารถให้กับอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ ดังนั้นการใช้งานหรือ ยูสเคส (use case)  ต่างๆ ควรจะถูกนำมาทดสอบ และปรับแต่งให้เข้ากับอุตสาหกรรมและธุรกิจในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่นยูสเคสของ eMBB (enhanced Mobile Broadband) และ FBB (Fixed Broadband) เป็นตัวอย่างของการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงจึงต้องการความจุของคลื่นในย่านความถี่สูง เพื่อที่จะกระจายสัญญาณไปยังบ้านและธุรกิจในเขตชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่คลื่นย่านความถี่ต่ำอาจจะเหมาะสมกับยูสเคสอื่นๆ เช่น การผ่าตัดทางไกล (remote surgery) หรือบริการฉุกเฉิน (emergency service) ที่ต้องการความแม่นยำและเสถียรของสัญญาณสูง ส่วนยูสเคส (use case) อื่นๆ เช่น สมาร์ทเฮลท์ (smart health) สมาร์ทซิตี้ (smart city) โลจิสติก ที่มีการผสมผสานของการรับส่งข้อมูลปริมาณมากและจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อสูงอาจใช้ความถี่หลายๆ ย่านมารวมกันให้บริการดังนั้นจะเห็นได้ว่าความต้องการคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการ 5G จะเพิ่มขึ้นมากกว่าการให้บริการ 4G โดยมีความต้องการคลื่นทั้งย่านความถี่ต่ำ (low band) ความถี่กลาง (mid band) และความถี่สูง (high band) เพื่อรองรับข้อกำหนดที่หลากหลายในการต้องการความเร็วรับส่งข้อมูล และรองรับการใช้งานในพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานแตกต่างกัน มาตรฐานสากลสำหรับปริมาณความจุคลื่นความถี่ที่พอเพียงในการให้บริการบนยูสเคส (use case) ข้างต้นระบุไว้ว่าไม่ควรต่ำกว่า 100MHz ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้ให้บริการรายใดในไทยมีคลื่นเท่ากับที่ 5G ต้องการ

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ 5G เกิดขึ้นในไทย 3 ข้อที่จะไม่ให้ตกขบวน 5G คือ

  • การกำกับดูแล (Regulation) กฎระเบียบต่างๆ ต้องเอื้อให้ 5G สามารถเกิดได้อย่างรวดเร็ว เอื้อให้ใช้ทรัพยากรเศรษฐกิจร่วมกัน รวมไปถึงการสนับสนุนให้อนุญาตเข้าไปติดตั้งระบบอุปกรณ์โครงข่ายพื้นฐานในอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อให้ใช้งานโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมได้คุ้มค่า และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ เพื่อที่ 5G จะสามารถขยายได้อย่ารวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap)ต้องกำหนดว่าจะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใด เมื่อไร ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดแผนที่ชัดเจน เพราะการจะให้บริการ 5G ได้นั้นต้องมีคลื่นความถี่ที่เพียงพอ ทั้งย่านความถี่ต่ำ ย่านความถี่กลาง และย่านความถี่สูง ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการในไทยส่วนใหญ่ยังมีคลื่นความถี่ไม่เพียงพอ และยังไม่ชัดเจนสำหรับคลื่นต่างๆ ที่จะนำมาจัดสรร โดยแผนจะต้องกำหนดถึงคลื่นความถี่ จำนวน ช่วงเวลาที่จะนำมาจัดสรร รูปแบบและวิธีกำหนดการจัดสรร เป็นต้น
  • การร่วมมือ (collaboration)ทั้งจากภาครัฐ ผู้ให้บริการและผู้บริโภค ในการสร้างระบบนิเวศน์ที่เข้มแข็งและยั่งยืน และช่วยกระตุ้นนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะ 5G จะเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างระบบนิเวศน์ (Ecosystem) หรือ ทดสอบ use case ต่างๆ ที่จะนำมาพัฒนาสู่ธุรกิจจริง เพราะ 5G เป็นเรื่องการภาคอุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่ม หรือ vertical industry ที่จะต้องมีความต้องการแตกต่างกันไป เช่น ภาคการเกษตรต้องการ Smart drone ภาคการบริการสาธารณสุขต้องการ Remote surgery เพื่อให้บริการทางการแพทย์กับพื้นที่ห่างไกลได้อย่างแม่นยำเป็นต้น ในการที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ 5G อย่างมีศักยภาพ พร้อมสู่การแข่งขันในระยะยาว และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0