โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ปตท.ผนึก 9 ยักษ์น้ำมันโลก กำหนด "ดัชนีราคาน้ำมันดิบ"ใหม่

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 07.23 น. • เผยแพร่ 12 พ.ย. 2562 เวลา 10.40 น.
75429514_451338335583739_7936558457258246144_n
ปตท.จับมือพันธมิตร 9 ยักษ์น้ำมันโลก กลางงานนิทรรศการน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ ADIPEC ที่ดูไบ ตั้งบริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มกำหนด “ดัชนีราคาน้ำมันดิบ IFAD” ทางเลือกใหม่ของผู้ค้าน้ำมันดิบเปิดตัวไตรมาส 1/2563 พร้อมตั้งสำนักงานใหม่ที่ ฮูสตัน ปรับแผนซื้อน้ำมันจากสหรัฐเพิ่มขึ้นช่วยลดขาดดุลการค้าสหรัฐลง

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานจากงาน Abu Dhabi International Petroleum Exhibition & Conference (ADIPEC) 2019 งานนิทรรศการและการประชุมด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ระดับโลกในต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ โดย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท.สผ.ได้ส่งผู้บริหารเข้าร่วมงานแสดงสินค้างานนี้

ด้าน นายดิษทัต ปันยารชุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้า ระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ปตท.กำลังจะปรับเปลี่ยนบทบาทการค้าน้ำมันในตลาดโลกใหม่ จากเดิมที่เป็นผู้เล่นก็จะเป็นผุ้ประกาศราคาน้ำมันดิบด้วย

ล่าสุดบริษัท ปตท.ได้ลงนามสัญญาร่วมกับพันธมิตร 9 บริษัทน้ำมันชั้นนำของโลก ประกอบด้วย น้ำมันแห่งชาติ Abu Dhabi National Oil Co’s (ADNOC) , ADNOC , BP, Total , Inpex , Vitol , Shell , Petrochina , Korea’s GS Caltex และ Japan’s JXTG แจ้งจัดตั้งบริษัทใหม่ The New ICE Futures Abu Dhabi (IFAD) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มกำหนด“ดัชนีราคาน้ำมัน” ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันจากเดิมที่ทุกประเทศทั่วโลกจะใช้ดัชนีราคาน้ำมันดิบ Brent โดยค่าดัชนีน้ำมันดิบ IFAD สามารถใช้เป็นมาตรฐานตะวันออกกลางและช่วยในการบริหารความเสี่ยงและทำให้เกิดความโปร่งใสในตลาดมากขึ้น

“กลุ่มบริษัททั้ง 9 ที่ร่วมลงนามจัดเป็นกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ของโลกมีกำลังผลิตประมาณ 3 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 10% ของกำลังการผลิตกลุ่มโอเปค ซึ่งมีประมาณ 30 ล้านบาร์เรล/วัน โดยดัชนี IFAD จะสามารถประกาศราคาได้ในไตรมาสแรกของปี 2563” นายดิษทัตกล่าว

ส่วนแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในปีหน้าคาดการณ์จะทรงอยู่ในระดับ 60 เหรียญ/บาร์เรล และคงไม่ขึ้นไปถึง 70-80 เหรียญ/บาร์เรล ตามที่หลายฝ่ายกังวล แต่ยังต้องติดตามปัจจัยจากความไม่ลงรอยกันของสหรัฐและจีน ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก

@ปรับแผนซื้อน้ำมันดิบสหรัฐช่วยต่อรอง GSP

นอกจากนี้ บริษัท ปตท.ยังมีแผนที่จะปรับสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันโดยจะให้ความสำคัญกับการนำเข้าน้ำมันจากสหรัฐฯมากขึ้น กล่าวคือ จะเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าจาก 5% หรือ 70,000 บาร์เรล/วันเป็น 100,000 บาร์เรล/วัน หรือมูลค่านำเข้าน้ำมันจากสหรัฐจะเพิ่มขึ้นจาก 3 หมื่นล้านบาท เป็น 8 หมื่นล้านบาท ในระหว่างปี 2020-2021 จากที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจาก ตะวันออกกลาง 70% รองลงมาคือ ฟาร์อีส 20% และ แอฟริการวมอเมริกา 5% นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะตั้งออฟฟิศที่ ฮูสตัน สหรัฐ คาดว่า จะเสนอแผนการดำเนินการทั้งหมดเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมบริหารปตท.(บอร์ด)ให้ความเห็นชอบตั้งในไตรมาส 1 ปี 2563

“การเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันจากสหรัฐจะช่วยในเรื่องของการลดการขาดดุลการค้าที่สหรัฐเป็นฝ่ายขาดดุลไทยอยู่ลงได้จำนวนมาก ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาสิทธิพิเศษ GSP ที่สหรัฐประกาสระงับสิทธิไทย เนื่องจากการลดการขาดดุลการถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลสหรัฐให้ความสำคัญมาก” นายดิษทัตกล่าว

@ปตท.สผ ส่งหุ่นยนต์ใต้น้ำโชว์ในงาน ADIPEC

ส่วนงานนิทรรศการและการประชุมน้ำมันและก๊าซธรรมชาต ADIPEC 2019 บริษัท ปตท.สผ.ได้นำนำสินค้านวัตกรรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบขั้นสุดท้ายมาร่วมจัดแสดงในงาน 4 รายการด้วยกันคือ

  • หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย (Inspection-class Autonomous Underwater Vehicle – IAUV) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบอุปกรณ์ใต้ทะเล

2. อุปกรณ์ดูดซับสารประกอบในคอนเดนเสท หรือ ทูสแลม (Safe Self Loading/Unloading Adsorber Modular – 2SLAM) เทคโนโลยีดูดซับเพื่อกำจัดสารปลอมปนในก๊าซธรรมชาติเหลว หรือคอนเดนเสท

3. นวัตกรรมการเก็บตัวอย่างสารในท่อส่งปิโตรเลียม (Sampling PIG) เทคโนโลยีการเก็บตัวอย่างพื้นผิวภายในของท่อส่งปิโตรเลียม เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณของสารตกค้างและประเมินสภาพพื้นผิวภายในของท่อ และ 4)เทคโนโลยีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อติดตามการไหลของน้ำและน้ำมันในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งของน้ำและน้ำมันใต้ดิน

ด้าน ดร. ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท.สผ. กล่าวว่า หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย หรือ IAUV ได้พัฒนาร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติในสิงคโปร์ และ บริษัทเอกชน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตรวจสอบอุปกรณ์ใต้ทะเล ซึ่งขณะนี้ผ่านการทดสอบขั้นสุดท้ายคาดว่า จะสามารถให้บริการได้ในไตรมาส 1/2563

“อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการตรวจสอบและสามารถลดต้นทุนการตรวจสอบลงจากปกติได้ 50% จากเดิมที่ใช้นักดำน้ำลงไปตรวจสอบและใช้ระบบควบคุมระยะไกล ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่บนเรือสนับสนุนทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง แนวโน้มตลาดยังสามารถเติบโตได้ เพราะยังไม่มีคู่แข่งที่พัฒนาอุปกรณ์ลักษณะนี้ และช่วงแรกจะเป็นการให้บริการปตท.สผ.เป็นหลัก”

ทั้งนี้ บริษัท ARV เป็นบริษัทในเครือปตท.ที่แยกออกมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีก่อน โดยเบื้องต้นวางงบประมาณในการลงทุนไว้ 50 ล้านเหรียญในเวลา 3 ปี โดยขณะนี้ใช้ไปแล้วราว 20 ล้านเหรียญสามารถสร้างผลตอบแทนในปีแรกได้ 5.29 ล้านเหรียญจากการจำหน่ายแอพลิเคชั่นและอุปกรณ์ต่างๆที่พัฒนาขึ้นมา เช่น แอพลิเคชั่นที่ร่วมกับไทยคม หรือโดรนด้านการเกษตรต่างๆ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0