โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

บริษัทต้องการ 'คนเก่ง' หรือ 'มีประสบการณ์'?

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 17 พ.ย. 2562 เวลา 06.00 น.

เก่งมาจากไหนก็แพ้ "ประสบการณ์" ดูจะเป็นความจริงสำหรับการรับเข้าทำงานในองค์กรต่างๆ และเป็นเกณฑ์ที่องค์กรส่วนใหญ่พิจารณาเป็นอันดับแรกๆ มากกว่าการตัดสินจาก "ศักยภาพ" ของผู้มาสมัคร แต่แนวทางแบบนี้เป็นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

เพราะประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่เป็นเช่นนั้น กลับกันประเมินจากศักยภาพมากกว่าประสบการณ์ ผลการวิจัยของ"โรเบิร์ตวอลเทอร์ส"ที่ปรึกษาด้านการสรรหาชั้นนำระดับโลก ระบุว่าคนที่ถูกเลือกเข้าจากศักยภาพกว่า 94% ก็ยังคงทำงานอยู่กับองค์กร

"คนเก่งถือเป็นทรัพยากรที่เป็นที่ต้องการอย่างมาก และเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสำหรับบริษัททั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ

สำหรับไทยนั้น ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน การวางกลยุทธ์แข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อดึงดูดกลุ่มคนที่มีความสามารถ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน รวมถึงผลักดันการเติบโตที่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงคนเก่งยังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น"

แล้วทำไมไทยไม่นิยมใช้เกณฑ์"ศักยภาพ" แต่เลือกที่"ประสบการณ์"?

  • องค์กรต้องการพนักงานที่สามารถทำงานได้ทันที
  • แต่ละตำแหน่งงานเน้นความรู้ ประสบการณ์ และทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง
  • องค์กรไม่มีเวลา บุคลากร และความเชี่ยวชาญ ในการฝึกอบรมเชิงลึกให้กับพนักงาน
  • เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าพนักงานมีความเหมาะสมกับทีมหรือไม่
  • ต้องใช้เวลา และเป็นการเพิ่มภาระเพื่อฝึกฝนผู้สมัครงาน
  • เชื่อว่าคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสมจะแสดงให้เห็นในที่สุด

เมื่อมาดูคุณสมบัติที่ผู้ประกอบการบริษัท และองค์กรในไทยต้องการจากผู้สมัครงานว่ามีอะไรบ้าง อันดับแรกกว่า 74.23% ดูจากความเต็มใจหรือความพร้อมที่เรียนรู้ รองลงมาคือ แรงจูงใจ การมีส่วนร่วม ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้เชิงลึก รวมถึงความสนใจใคร่รู้ด้วย ซึ่งผู้ที่เข้ามาทำงานแล้วประมาณ 85% ได้รับการยอมรับจากทีมว่าเป็นสมาชิกที่มีความสำคัญ

แต่การคัดเลือกแบบ "ศักยภาพ" ของไทย ก็มีข้อเสียอย่างหนึ่งคือเรื่องของความล่าช้า ส่วนใหญ่ใช้เวลานานราว 2-6 เดือนเพื่อคัดเลือก และบางส่วนก็ยังพบกับปัญหาที่ตามมาคือ ได้คนไม่ตรงตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ จากปัจจัยหลายส่วน เช่น พนักงานไม่สามารถส่งงานได้ตามที่คาดหวังไว้ ฯลฯ

มาถึงตรงนี้แล้ว มองว่าองค์กรต่างๆ คงจะต้องปรับกลยุทธ์ในการเปิดรับพนักงานใหม่ๆ ให้มากขึ้น ไม่เพียงเลือกจากประสบการณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าใครสามารถทำงานในลักษณะใดได้ แต่เรื่องของศักยภาพก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นด้วย

นอกจากนี้องค์กรควรจะเขียนข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานให้ชัดเจน และมีคำบรยายลักษณะงานที่ตรงตามความเป็น เพื่อให้ได้"คนตรงงาน"และ"งานตรงคน"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0