โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

บทเรียน ‘ทรัมป์’ ต้องกลับมาง้ออาเซียน!!

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 09 พ.ย. 2562 เวลา 02.00 น.

 

การประชุม “อาเซียนซัมมิท ครั้งที่ 35” และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ “รูดม่าน” ไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อต้นสัปดาห์ 

แต่ “พญาอินทรี” อย่างสหรัฐฯ กับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กลับเป็น “ควันหลง” ให้ถูกพูดถึงด้านลบในเวทีโลกอีกจนได้ หลัง 7 ผู้นำอาเซียนต่างเมินร่วมวง “อาเซียน-สหรัฐฯ” โดยส่งระดับรัฐมนตรีไปร่วมประชุมแทน

ส่งผลให้ “พญาอินทรี” กลายเป็น “อีแร้ง” เป็นที่รังเกียจของวงประชุมอาเซียนซัมมิท โดยพลัน จากกรณีที่ “ทรัมป์” ส่ง Mr.Robert  O’Brien ที่เป็นแค่ระดับ “ที่ปรึกษา” ส่วนตัว มาร่วมประชุม…

ขณะที่ผู้นำ 10 ประเทศอาเซียน ต่างมากันครบครัน รวมทั้งประเทศคู่เจรจา ประเทศรับเชิญ ต่างก็ให้เกียรติและให้ค่า “อาเซียน” ส่งระดับ “ผู้นำ” ทั้งนั้นมาร่วม 

เมื่อทรัมป์ไม่ให้เกียรติหรือให้ค่าอาเซียนตํ่าก็สมควรที่สหรัฐฯ จะได้รับการตอบโต้ รวมทั้งยังอาจสูญเสีย “อำนาจ” อิทธิพลต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก เป็นการตอบแทนความไม่มีมารยาทของผู้นำสหรัฐฯ คนปัจจุบันด้วย

อาเซียนวันนี้ จึงกลายเป็น“คชสาร” เป็นพระเอกในที่ประชุมโดยปริยาย แต่เรื่องนี้ก็คงค่อยๆ มาว่ากัน หลังจากจีนเข้ามามีอิทธิพล “อำนาจ” ในภูมิภาคนี้ แทนสหรัฐฯ เต็มรูปแบบแล้ว

เพราะเราต้องไม่ลืมว่าสหรัฐฯ เล่นการเมืองโลกด้วยการเก็บไพ่ไว้เล่นกับแต่ละประเทศ มีข้อมูลลับ มีข้อต่อรองลับ รวมทั้งยังมีช่องเจรจาลับ แบบ “รบไปคุยกันไปแบบนักการเมืองไทย” เลยก็ว่าได้ (5555)

ลองคิดต่ออีกนิด จะเข้าใจได้ไม่ยาก ว่าผู้นำระดับโลกเขา
เล่น “เกม” ลึกและซับซ้อนกว่าคนทั่วไป ซึ่งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่กำลังเล่นกันอยู่ก็ไม่ยกเว้น-ครับ 

เรื่องความแสบ ไม่มีใครเกินสหรัฐฯ ประเทศนี้ไม่มีความจริงใจต่อชาติใด นอกจากผลประโยชน์ แถมยังมีแผนการพร้อมรบกับทุกชาติทั้งโลกและปรับแผนทุก 10 ปีด้วย

 

ส่วนสาเหตุที่“ทรัมป์” ให้ค่าการประชุมอาเซียนชัมมิท ครั้งที่ 35 ตํ่านั้น อาจมีสาเหตุมาจากกรณีพรรคฝ่ายค้านสหรัฐฯ เสนอฟ้องร้องและกล่าวหาต่อสภา
เพื่อถอดถอนประธานาธิบดีทรัมป์ และอีก 1 ปีจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีก็เป็นได้

แม้ “ขั้นตอน” การถอดถอนของ 2 สภา ต้องใช้เวลามากกว่านั้น กล่าวคือ สภาล่าง (สภาส.ส.) จะรับเรื่อง และไต่สวนโดยคณะกรรมการศาล มีการนำพยานมาหักล้างกันทั้ง 2 ฝ่าย 

จากนั้นจะมีการโหวต ตัดสินโดยวิธีใช้เสียงส่วนใหญ่ ถ้าผิด…จะส่งให้วุฒิสภา วุฒิสภาจะทำการไต่สวน แล้วลงคะแนนโหวต ต้องได้คะแนน 2 ใน 3 จึงถือว่าผิด และถอดถอนออกจากตำแหน่ง 

 

การเมืองของสหรัฐฯ มี 2 สภา สภาล่าง คือสภาของส.ส. มีหน้าที่ร่างกฎหมาย มีสมาชิก 435 คน สภาบน คือสภาของวุฒิสมาชิก มีหน้าที่ผ่าน/และออกกฎหมาย มีสมาชิก 100 คน รวมกันเป็น 535 คน เรียกว่า สภา congress 

ฝ่ายค้านเสนอเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อดิสเครดิตประธานาธิบดีระหว่างการหาเสียง ไม่ได้หวังว่าจะชนะ เพราะว่า สภาวุฒิสมาชิก ฝ่ายรัฐบาล (ทรัมป์) มีเสียงข้างมาก จะหาเสียง 2 ใน 3  แทบเป็นไปไม่ได้ 

จึงไม่แปลกใจที่ล่าสุด ทรัมป์จะส่งหนังสือเชิญ 7 ผู้นำอาเซียนให้ไปประชุมอาเซียนนัด “พิเศษ” ที่สหรัฐฯ ในต้นปีหน้า 

หน้า 6 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3521 วันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2562

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0