โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

บทเรียนจาก "แพรวา"

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 22 ก.ค. 2562 เวลา 14.21 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 14.21 น.
1.2-24-728x410

อ่านข่าว “แพรวา” ด้วยความเศร้าใจ

คิดแบบ “ใจเขา-ใจเรา” ไม่นำอารมณ์สะเทือนใจเข้ามาเกี่ยวข้อง

ตอนเกิดเหตุการณ์ใหม่ ๆ เข้าใจได้ว่าเป็น “อุบัติเหตุ” ที่ไม่คาดคิด

ถ้ารถตู้ไม่ตกจากทางด่วนดอนเมือง

โทลล์เวย์ ความสูญเสียก็คงจะน้อยกว่านี้

เรื่องราวก็คงไม่บานปลายใหญ่โต

และคิดในมุมของ “ผู้ใหญ่” ว่า น้องยังเป็นเด็ก เป็นเยาวชน อายุแค่

17 ปี เราควรให้อภัยมากกว่าเล่นงาน

เหมือนผู้ใหญ่ที่ทำผิด

แต่เหตุการณ์ล่วงเลยมาถึงวันนี้

9 ปีผ่านไป ความรู้สึกแบบนั้นจะนำมาใช้ไม่ได้อีกแล้ว

“แพรวา” เป็นผู้ใหญ่แล้ว

คุณพ่อ-คุณแม่ก็มีฐานะ แม้จะบอกว่าไม่มีเงินสดพอที่จะจ่ายค่าเสียหายให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต

แต่ทรัพย์สินทั้งที่ดินและบ้านอีกหลังหนึ่งที่พร้อมจะขาย

มูลค่าก็สูงเกินค่าเสียหายที่จะจ่ายเยอะมาก

แล้วทำไมไม่รีบขายตั้งแต่วันแรก ๆ

ที่สำคัญก็คือที่ผ่านมา ไม่เคยเข้าไปดูแลครอบครัวผู้เสียหายเลย

จะเล่นแง่ทางกฎหมายอย่างเดียว

ทนายความก็ต่อรองตลอด

พยายามให้ “จำเลย” จ่ายเงินน้อยที่สุด

ยิ่งพ่อแม่หรือญาติของผู้เสียหายออกมาให้สัมภาษณ์

เราจะยิ่งสงสารเขามากขึ้น

ทั้งด้านจิตใจและความเป็นอยู่

บางคนยังร้อยพวงมาลัยขายอยู่

บางคนคุณพ่อตรอมใจตาย หลังลูกตายไม่นาน ฯลฯ

ฐานะแต่ละคนไม่ได้ร่ำรวย

ยิ่งเปรียบเทียบกับฐานะของฝั่ง “แพรวา” คนยิ่งรู้สึกโกรธ

กระแสสังคมที่โจมตี “แพรวา” และครอบครัว จึงหนักหนาสาหัสมาก

ถ้าเทียบเคียงกับเรื่องในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าเป็นเรื่องคุณหมอที่เมาสุราขับรถชน รปภ.

หรือ “เสี่ยรถเบนซ์” ที่เมาสุราขับรถชนรองผู้การกองปราบฯ และภรรยา

เสียชีวิต ลูกสาวบาดเจ็บสาหัส

ทั้ง 2 กรณีหนักกว่า “แพรวา”

เพราะเมาเหล้าด้วย

แต่ทั้ง 2 คนแสดงความเสียใจ และยอมรับผิดทุกอย่าง

ท่าทีที่ออกมาชัดเจนว่า เขาสำนึกในความผิดนั้นจริง ๆ

ดูแลผู้เสียหายอย่างดี

กรณีของ “เสี่ยรถเบนซ์” เขายอมรับผิด ทำทุกอย่างที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้

ยอมจ่ายค่าเสียหายถึง 45 ล้านบาท

ทั้งเป็นเงินสดวันนี้ ทั้งรับรองเรื่องการส่งเสียดูแลลูกของ “รองผู้การ” จนจบ

และพร้อมโอนเงินให้อีกจำนวนหนึ่งเมื่อบรรลุนิติภาวะ

ค่าเสียหายที่ยอมจ่ายเป็นเงินจำนวนมาก

มากเกินกว่าที่ใครคาดคิด

เชื่อกันว่าถ้าคดีนี้ขึ้นศาล ค่าเสียหายจะน้อยกว่านี้มาก

แต่เพราะรู้สึกผิดจริง ๆ เขาไม่ปล่อยให้คดีขึ้นศาลยาวนาน 8-9 ปี เหมือนคดี “แพรวา”

ทำทุกอย่างเพื่อชดใช้ความผิดทางใจ

เพราะ “เวลา” นั้นมี “ราคา”

โดยเฉพาะคนที่สูญเสีย

ถ้ากรณีนี้เป็นกรณีศึกษาเรื่อง crisis management

บทเรียนที่ได้ก็คือ การจัดการกับวิกฤตที่ดีที่สุด ต้องอย่าใช้ “เหตุผล”

แต่ให้ใช้ “ใจ”

คิดแบบ “ใจเขา-ใจเรา”

ถ้าเราผิดก็ขอโทษ ทำทุกอย่างให้ผู้เสียหายและสังคมรับรู้ว่า เรารู้สึกผิดจริง ๆ

คนไทยไม่ใช่คนใจร้าย

เขาพร้อมให้อภัยว่าเราแสดงให้เขาสัมผัสได้ถึงความจริงใจ ความเสียใจ

ทำทุกอย่างให้เกินความคาดหวัง

ยิ่งถ้าเรามี แต่เขาไม่มี ยิ่งต้องช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว

กรณีของ “แพรวา” ถ้าขอโทษอย่างจริงใจ ดูแลพูดคุยกับทุกครอบครัวเหมือนกับเราสูญเสียลูกเหมือนกับเขา

ทุกอย่างน่าจะจบลงด้วยดี

แต่เพราะตั้งแง่ คิดแต่จะเอาชนะทางกฎหมาย ดึงเวลาไปเรื่อย ๆ

ทุกอย่างจึงจบลงแบบนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0