โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นายก ย้ำ เหตุกราดยิง 15 ศพ ที่ยะลา ไม่ใช่ก่อการร้าย

อีจัน

อัพเดต 09 พ.ย. 2562 เวลา 04.23 น. • เผยแพร่ 08 พ.ย. 2562 เวลา 10.31 น. • อีจัน
นายก ย้ำ เหตุกราดยิง 15 ศพ ที่ยะลา ไม่ใช่ก่อการร้าย
วันนี้ (8 พ.ย. 62) เวลา 08.30 น. ที่ตึกสันติไมตรี ท&#3635…

วันนี้ (8 พ.ย. 62) เวลา 08.30 น. ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (กห.) ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ครั้งที่ 2/2562 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและผู้นำเหล่าทัพ เข้าร่วมการประชุม โดยไม่เปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง

ขณะที่การประชุมครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคง ได้รับทราบผลการปฏิบัติการงานของ กอ.รมน. ประจำปี 2562 และแผนการดำเนินงานของ กอ.รมน. ประจำปี 2563 โดยนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน.ได้มอบนโยบายและสั่งการเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงาน 2 เรื่องสำคัญ คือ
1.การเสนอแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (กอ.รมน.) ที่มุ่งเน้นให้การปฏิบัติแก้ไขปัญหาบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยไม่ซ้ำซ้อนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น โดยสาระสำคัญ
คือ จะมี กอ.รมน.ภาค และ กอ.รมน.จังหวัด ทำหน้าที่ ในการปฏิบัติบูรณาการ ประสานงาน และเสริมสร้างการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หน่วยงานทหารในพื้นที่และกลุ่มมวลชนในเครือข่าย กอ.รมน. เพื่อเข้าไปเสริมช่องว่างในการจัดการด้านสาธารณภัย ของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.จังหวัด) กับส่วนกลางให้แน่นแฟ้น รวมถึงกรณีจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเป็นการยับยั้งไม่ให้เกิดสาธารณภัย
2.แผนปฏิบัติการเพื่อรองรับการประกาศพื้นที่ ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่ปัจจุบันสถานการณ์การก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา มีแนวโน้มดีขึ้น ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมสร้างความเข้มแข็งในการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน
ขณะที่ กอ.รมน.ภาค 4 (ส่วนหน้า) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อรองรับการประกาศพื้นที่ปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไว้ 3 แนวทางปฏิบัติ คือ ด้านยุทธการ เน้นการมีส่วนร่วมประชาชน ใช้กำลังประชาชนดูแลพื้นที่ ทดแทนกำลังทหารรัฐ และการบังคับใช้กฎหมาย

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังมีการประกาศเคอร์ฟิว การห้ามออกจากเคหสถานในเวลาค่ำคืน ภายหลังเกิดเหตุกลุ่มคนร้ายยิงถล่มชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ว่า เบื้องต้นยังไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลา แต่จะกำหนดเวลาให้สั้นที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน สอบสวนทางคดี และเพื่อเป็นการจำกัดพื้นที่ของคนร้ายในช่วงที่มีการไล่ติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุ โดยยืนยันว่าไม่อยากให้มีผลกระทบต่ออย่างอื่น แต่เป็นเรื่องที่จำเป็น ซึ่งหากเราปิดพื้นที่ไม่ได้ ก็จะมีปัญหา ส่วนนี้ขอให้เข้าใจกันด้วย
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเสริมว่า การสืบสวน สอบสวนวันนี้มีความคืบหน้า แต่ยังเปิดเผยไม่ได้ ต้องใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่จะไปจับใครก็ได้ ต้องเอาหลักฐานในพื้นที่เกิดเหตุมาติดตาม ซึ่งเราก็มีข้อมูลอยู่แล้ว ทั้งอาวุธปืน กระสุนและปอกกระสุน พร้อมมีข้อมูลอยู่แล้วว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มใด และมีกลุ่มใดเกี่ยวข้องบ้างก็จะต้องมาพิจารณาร่วมกัน คงจะได้รับทราบความคืบหน้าภายในเร็ววันนี้ ขอเวลาอีกหน่อย ซึ่งวันนี้ เราลดระดับผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ได้มากพอสมควร ประชาชนก็กลับมาให้ความร่วมมือ แม้แต่การบังคับใช้กฎหมายบางตัว ประชาชนก็เห็นด้วย เพราะเขาดูแล้วว่าเกิดประโยชน์กับเขา ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่คนที่มักจะมีปัญหาในเรื่องนี้ คือคนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ซึ่งจะมองในเรื่องของสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว
ส่วนการใช้กำลังของ ชรบ. ยังมีความจำเป็นต่อไป ถ้าไม่มีจะทำมาทำไม ซึ่งแต่ก่อนนี้ กำลังตำรวจในพื้นที่ และอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) มีกำลังไม่เพียงพอ จึงต้องจัดทหารข้างนอกมาช่วย เมื่อเรียบร้อยแล้วก็เอาทหารกลับ ส่วนตำรวจและทหารในพื้นที่ก็ทำงานปกติไป แต่เมื่อเหตุการณ์ไม่ปกติ ก็จะนำกองกำลังทหารเข้าไปเติม ทุกประเทศก็ทำแบบนี้ และระหว่างนี้เราจะต้องเสริมสร้างกำลังในท้องถิ่นให้มากขึ้น เพราะคนเหล่านี้จะรู้จักพื้นที่และสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี แต่จะต้องเพิ่มความระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น เพราะทางยุทธวิธียังไม่เข้มแข็งพอ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการฝึกทบทวนมาโดยตลอด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0